Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/600
Title: | Study on the identity and belief in traditional mural painting for developing creative products ศึกษาอัตลักษณ์และความเชื่อในจิตรกรรมฝาผนังแบบพื้นบ้าน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ |
Authors: | Tritep Sahakun ไตรเทพ สหะขันธ์ Suchat Sukna สุชาติ สุขนา Mahasarakham University. Faculty of Cultural Science |
Keywords: | อัตลักษณ์ ความเชื่อ จิตรกรรมฝาผนัง Mural painting identity belief |
Issue Date: | 26 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | Research study on the identity and belief in traditional mural painting for developing creative products The objectives are: 1. To study the identity and beliefs about folk mural painting. 2. To develop creative products based on beliefs in folk mural painting, the researcher used qualitative research methods. By choosing the area to do research is Wat Yang Temple, Thawararam District, Borabue District and Pa Le Lai Temple, Na Dun District, Maha Sarakham Province With murals that stand out in the story of the Isaan culture and traditions
The results showed that the study of identity and beliefs about folk mural painting With the aesthetic value that was created with the fineness of the technician in the village In terms of values, stories, drawings, tell stories, history and important events that occurred during the creation of the meaning and purpose that is hidden within the painting. The importance of the murals of Wat Yang Thuangwararam found that 1) important in the cause of creation 2) the importance of faith 3) the importance of recording the story in the past and 4) the importance of Seduce the mind In addition, the story of the identity of the two Sims is believed to be a belief about Choo's beliefs that have changed from the original.
For this reason, the researcher used it as a creative product through the physical structure and thought structure. By bringing the outstanding identity of Chuchak to be a guideline for developing products that emphasize modernity, beauty, creating added value for the product in a value and conforming to the needs of the market. Create a driving force for instilling the consciousness of people in the area to see the value of Isan culture For the continuation of the Northeast culture As well as being a prototype research in product design and development งานวิจัยเรื่อง ศึกษาอัตลักษณ์และความเชื่อในจิตรกรรมฝาผนังแบบพื้นบ้าน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์และความเชื่อเกี่ยวกับจิตรกรรมฝาผนังแบบพื้นบ้าน 2) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากอัตลักษณ์ความเชื่อในจิตรกรรมฝาผนังแบบพื้นบ้านผู้วิจัยได้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเลือกพื้นที่ในการทำวิจัยคือ วัดวัดยางทวงวราราม อำเภอบรบือ และวัดป่าเลไลย์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังโดดเด่นในเรื่องของเรื่องราว ประเพณี วัฒนธรรมของชาวอีสาน ผลการวิจัยพบว่าอัตลักษณ์และความเชื่อเกี่ยวกับจิตรกรรมฝาผนังแบบพื้นบ้าน มีคุณค่าทางความงามที่ถูกสร้างขึ้นด้วยความประณีตของช่างภายในหมู่บ้าน ด้านคุณค่าทางเรื่องราวภาพวาดบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาและเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีการสร้างสิมที่มีความหมายและจุดประสงค์ที่แฝงอยู่ภายในภาพจิตรกรรม ด้านความสำคัญของภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดยางทวงวรารามและวัดป่าเลไลย์พบว่า 1) มีความสำคัญในมูลเหตุของการสร้าง 2) ความสำคัญในเรื่องศรัทธา 3) ความสำคัญในการบันทึกเรื่องราวในอดีตและ 4) ความสำคัญในการกล่อมเกลาจิตใจ นอกจากนั้นยังพบเรื่องราวที่เป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของสิมทั้งสองหลังคือคติความเชื่อเกี่ยวกับของชูชกที่มีความเชื่อเปลี่ยนไปจากเดิม คือเมื่อครั้งอดีตมีความเชื่อว่าชูชกเป็นตัวร้าย เจ้าเล่ห์ตัวซวย แต่ในปัจจุบันความเชื่อนั้นถูกเปลี่ยนไปมองชูชกว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งโชคลาภและความร่ำรวยและอุดมสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้วิจัยนำอัตลักษณ์และความเชื่อของชูชกมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ผ่านโครงสร้างทางกายภาพและโครงสร้างทางความคิด โดยนำอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของชูชกมาเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เน้นความทันสมัย สวยงาม สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์อย่างทรงคุณค่าและสอดคล้องกับความเชื่อของผู้คนและความต้องการของตลาด ทั้งยังเป็นการปลูกฝังจิตสํานึกให้ผู้คนได้เห็นคุณค่าทางวัฒนธรรมอีสานมรดกท้องถิ่น เพื่อการสืบสานวัฒนธรรมอีสานให้ยั่งยืน ตลอดจนเป็นงานวิจัยต้นแบบในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์อีกด้วย |
Description: | Master of Arts (M.A.) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/600 |
Appears in Collections: | Faculty of Cultural Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57012180004.pdf | 6.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.