Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/601
Title: | Religious tourism management style by the participation of the Community of East รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนา โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนภาคอีสาน |
Authors: | Mongkol Whangnok (Tanisro) มงคล หวังนอก (ฐานิสฺสโร) Sisikka Wannajun ซิสิกกา วรรณจันทร์ Mahasarakham University. Faculty of Cultural Science |
Keywords: | การท่องเที่ยวเชิงศาสนา การมีส่วนร่วมของชุมชน Religious Tourism Community Participation |
Issue Date: | 24 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | Research religious tourism management style by the participation of the community of East use qualitative research methodology. The purpose is 1) Study the history of religious tourism management, 2) Study the current situation and problems of religious tourism management of East and 3) Develop the model of religious tourism management by the participation of the community of East. The instruments used in the research were: Interviews, interviews, and group discussions from a group of 18 people/person 41 practitioners/person and 20 people in total 79 people from July 2016 to December 2016 in the three provinces. Wat Puang (Phararamluang) Wat payup (Phararamluang) Wat BanRai Nakhon Ratchasima Province. Wat Khao Kradeng Wat Hoa Pharaungkay Wat Hong Buri Ram Province. Wat salaloy (Phararamluang) Wat Buraparam (Phararamluang) Wat NungBua Surin Province. The data is validated by the way, the triangular data. The results of the research were analyzed by descriptive analysis.
The research found that
History of Buddhist Tourism Management The participation of the nine northeastern communities found that. Travel in the past tourists does not know the attractions in each temple in that province. What are the attractions Due to publicity there is little communication with each other. Now is the era of globalization. Borderless Communication Age People communicate quickly and easily through the media. Ministry of Tourism and Sports has a policy to promote and support. Travel Guide 108 ways to save money in Thailand to visit the Dharma including a guide to the place of practice across the country. Pilgrimage Project 9 Temples But nowadays, a clearer picture of religious tourism begins. Especially the New Year's Eve activities in 2016 have prayed across the years doing good across the years.
Current situation and problems of religious tourism management the participation of 9 communities in the northeast planning implementation the evaluation found that 1) Personnel lack planning lack of common planning with the community. Implementation staff shortage of professional guides and assignments do not match knowledge. Evaluation personnel lack of continuous evaluation in all activities. 2) Lack of budget planning with community and government agencies. Implementation Budgetary shortage and limited budget evaluation the budget should be evaluated and notified to the community. 3) Materials lack of planning, preparation of materials to be ready for tourism. Implementation materials Shortage of personnel to supervise the building and attractions evaluation materials lack of material evaluation. And 4) lack of planning methodology and the community is involved implementation the lack of integrated work in all sectors evaluation lack of evaluation of activities and information technology.
Religious tourism management style by the participation of the community in the Northeast, it was found that the format 1 Personnel should have a plan to prepare the guiding personnel should be planned together with the community. Implementation should be prepared to develop a professional guide. It should be tasked to match the knowledge and ability. Evaluation should be continuously evaluated in all activities. Format 2 the budget should be budgeted with the community and government agencies. Implementations make the most of your budget. Assessments should be evaluated and reported to the community. Format 3 Materials planning to prepare materials to be ready for tourism. Implementation should appoint personnel to oversee the building. Evaluation should include evaluation of materials and equipment tourist attractions to be ready to use. And Format 4 The method should be planned in a variety of ways and the community is involved. Implementation there should be integrated work in all sectors; Evaluation should evaluate the activities continuous and information technology
In conclude, the cultural tourism management model within the temple by the participation of the Lower East Community. It is developed according to three principles: planning action and evaluation each of these aspects requires four management factors: personnel, budget, materials and procedures. It is the driving force for tourism management. Religious culture within the temple is a success. The temple is home to the school and the community / government. Together, think jointly, plan together, and make decisions together. And share the benefits as an integrated network development partner. As a result, the temple and community strengthened. การวิจัยเรื่อง รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนา โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนภาคอีสาน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาการจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนาภาคอีสาน 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการการจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนาภาคอีสาน และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนา โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนภาคอีสาน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม จากกลุ่มผู้รู้ 18 รูป/คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ 41 รูป/คน และผู้ให้ข้อมูลทั่วไป 20 คน รวม 79 คน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 ในเขตพื้นที่ 3 จังหวัด ดังนี้ จังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ วัดบึง(พระอารามหลวง) วัดพายัพ (พระอารามหลวง) และวัดบ้านไร่ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ วัดพระพุทธบาทเขากระโดง วัดเขาพระอังคาร และวัดหงษ์ จังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ วัดศาลาลอย(พระอารามหลวง) วัดบูรพาราม(พระอารามหลวง) และวัดหนองบัว โดยนำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบความถูกต้องด้วยวิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ประวัติความเป็นมาของการจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนภาคอีสาน ทั้ง 9 แห่ง พบว่า การท่องเที่ยวในอดีตนักท่องเที่ยวทั่วไปยังไม่ทราบสถานที่ท่องเที่ยวในแต่ละวัดในจังหวัดนั้นๆ ว่ามีแหล่งท่องเที่ยวอะไรบ้าง เนื่องจากการประชาสัมพันธ์ มีน้อยการติดต่อสื่อสารกันด้วยความยากลำบาก ปัจจุบันนี้เป็นยุคโลกาภิวัตน์ ยุคการสื่อสารไร้พรมแดน ประชาชนติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายและรวดเร็ว โดยผ่านสื่อต่างๆ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุน จัดทำคู่มือเส้นทางการท่องเที่ยว 108 เส้นทางออมบุญเที่ยวทั่วไทย ให้ถึงธรรม เที่ยวไทยถิ่นธรรมะ รวมถึงมีการจัดทำคู่มือแนะนำสถานที่ปฏิบัติธรรมทั่วประเทศ โครงการแสวงบุญ 9 วัด แต่ปัจจุบันเริ่มเห็นภาพชัดเจนขึ้นของการท่องเที่ยวเชิงศาสนา โดยเฉพาะกิจกรรมส่งท้ายปีเก่า พ.ศ. 2559 มีการสวดมนต์ข้ามปี ทำดีข้ามพ.ศ. เป็นต้น สภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนา โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนภาคอีสาน ทั้ง 9 แห่ง การวางแผน การลงมือปฏิบัติ การประเมินผล พบว่า 1) ด้านบุคลากร ขาดการวางแผนเตรียมบุคลากรด้านมัคคุเทศก์ ขาดการวางแผนร่วมกันกับชุมชน การลงมือปฏิบัติ ขาดแคลนมัคคุเทศก์มืออาชีพ และการมอบหมายงานไม่ตรงกับความรู้ความสามารถ การประเมินผล ขาดการประเมินผลอย่างต่อเนื่องในทุกกิจกรรม 2) ด้านงบประมาณ ขาดการวางแผนงบประมาณร่วมกับชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ การลงมือปฏิบัติ ขาดแคลนงบประมาณและมีจำนวนจำกัด การประเมินผล ขาดการประเมินผลในระยะสั้นและระยะยาวเกี่ยวกับงบประมาณค่าใช้จ่าย 3) ด้านวัสดุอุปกรณ์ ขาดการวางแผนการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้มีความพร้อมต่อการท่องเที่ยว การลงมือปฏิบัติ ขาดแคลนบุคลากรดูแลอาคารสถานที่ต่างๆ และแหล่งท่องเที่ยว การประเมินผล ขาดการประเมินผลวัสดุอุปกรณ์ แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ และ 4) ด้านวิธีการ ขาดการวางแผนวิธีการทำงานที่หลากหลาย และชุมชนมีส่วนร่วม การลงมือปฏิบัติ ขาดการทำงานแบบบูรณาการทุกภาคส่วน การประเมินผล ขาดการประเมินผลกิจกรรมต่างๆ และเทคโนโลยีสารสนเทศ รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนา โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนภาคอีสาน พบว่า รูปแบบที่ 1 ด้านบุคลากร ควรมีการวางแผนเตรียมบุคลากรด้านมัคคุเทศก์ ควรมีการวางแผนร่วมกันกับชุมชน การลงมือปฏิบัติ ควรมีการเตรียมพัฒนามัคคุเทศก์ให้เป็นมืออาชีพ และควรมอบหมายงานให้ตรงกับความรู้ความสามารถ การประเมินผล ควรมีการประเมินผลอย่างต่อเนื่องในทุกกิจกรรม รูปแบบที่ 2 ด้านงบประมาณ ควรมีการวางแผนงบประมาณร่วมกับชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ การลงมือปฏิบัติ ควรใช้จ่ายงบประมาณอย่างคุ้มค่าที่สุด การประเมินผล ควรมีการประเมินผลและแจ้งให้ชุมชนรับทราบร่วมกัน รูปแบบที่ 3 ด้านวัสดุอุปกรณ์ ควรมีการวางแผนการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้มีความพร้อมต่อการท่องเที่ยว การลงมือปฏิบัติ ควรแต่งตั้งบุคลากรดูแลอาคารสถานที่ต่างๆ และแหล่งท่องเที่ยวอย่างสม่ำเสมอ การประเมินผล ควรมีการประเมินผลวัสดุอุปกรณ์ แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ให้มีความพร้อมในการใช้งาน และ รูปแบบที่ 4 ด้านวิธีการ ควรมีการวางแผนวิธีการทำงานที่หลากหลาย และชุมชนมีส่วนร่วม การลงมือปฏิบัติ ควรมีการทำงานแบบบูรณาการทุกภาคส่วน การประเมินผล ควรมีการประเมินผลกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยสรุป รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนภาคอีสาน เป็นการพัฒนาตามหลักการทำงาน 3 ประการ คือ การวางแผน การลงมือปฏิบัติ และการประเมินผล โดยแต่ละด้านต้องอาศัยปัจจัยในการจัดการ 4 ด้าน ได้แก่ บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการ เป็นตัวขับเคลื่อนเพื่อให้การจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนาประสบความสำเร็จ ที่สำคัญต้องอาศัย (บวร ช) วัด บ้าน โรงเรียน และชุมชน/ภาครัฐ ร่วมกันคิด ร่วมวางแผน ร่วมกันทำ ร่วมกันตัดสินใจ และร่วมรับประโยชน์ เป็นภาคีเครือข่ายพัฒนาแบบบูรณาการร่วมกัน ส่งผลให้วัดและชุมชนเข้มแข็งต่อไป |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/601 |
Appears in Collections: | Faculty of Cultural Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58012160005.pdf | 11.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.