Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/603
Title: | Medicinal Plant Survey in Ban Plumphatthana Community Forest, Buriram Province for a Medicinal Plant Conservation Camp Development การสำรวจพืชสมุนไพรในป่าชุมชนบ้านปลื้มพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อพัฒนาค่ายอนุรักษ์พืชสมุนไพร |
Authors: | Thiti Piankote ธิติ เพียรโคตร Wannachai Chatan วรรณชัย ชาแท่น Mahasarakham University. The Faculty of Science |
Keywords: | พืชสมุนไพร พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน ค่ายอนุรักษ์ Medicinal plants Ethnobotany Conservation Camp |
Issue Date: | 26 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The purposes of this research were to explore medicinal plants in Ban Plumphatthana Community Forest, Pa Kam District, Buriram Province and develop a medicinal plant conservation camp for children in the community. The survey was conducted from April, 2015 to December, 2016; once a month with a total of 12 times. Eighteen demonstration plots, each is 20 x 50 meters, were created. Information on the plant names and their uses was obtained through the interviews of local herbalists. A medicinal plant conservation camp was then carried out with 50 students of Ban Plumpatthana School for 2 days.
Based on data collected, 50 medicinal plant species in 30 families were found, and trees were the most found. The richest medicinal plant families found were Leguminosae, Rubiaceae, and Zingiberaceae, respectively. The most common uses of medicinal plants were for the treatment of fever, measles, pain symptoms, mouth ulcer, muscles, and gastrointestinal system. Stems and roots were the most frequently used parts. The most commonly used methods were decoctions, crushing, and eaten directly respectively.
Based on the analysis of Species Diversity Index of medicinal plants, the study revealed that Shannon-Wieners Index of Diversity (H’) was at 3.08, Species Density (D) was at 21.72, and Evenness Index (J) was at 0.79.
The results from developing a medicinal plant conservation camp showed that 50 students who participated in this camp gained more knowledge about medicinal plants and more positive attitudes toward medicinal plants, which is significant at 0.05 level. The students’ average satisfaction toward a organizing a camp was at a very high level. การสำรวจพืชสมุนไพรในป่าชุมชนบ้านปลื้มพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อพัฒนาค่ายอนุรักษ์พืชสมุนไพร มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพืชสมุนไพรในป่าชุมชนบ้านปลื้มพัฒนา อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ และนำความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรในป่าชุมชนที่ศึกษามาพัฒนาค่ายอนุรักษ์พืชสมุนไพรให้กับเด็กในชุมชน โดยทำการสำรวจพืชสมุนไพรระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ. 2558 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 เดือนละ 1 ครั้ง รวม 12 ครั้ง ดำเนินการสำรวจโดยการวางแปลงตัวอย่างขนาด 20 x 50 เมตร จำนวน 18 แปลง เก็บข้อมูลชื่อท้องถิ่นและการใช้ประโยชน์จากการสัมภาษณ์หมอยาสมุนไพรพื้นบ้าน และดำเนินการจัดค่ายอนุรักษ์พืชสมุนไพรให้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านปลื้มพัฒนา จำนวน 50 คน ระยะเวลา 2 วัน ผลการศึกษาพบพืชสมุนไพรทั้งหมด 50 ชนิด 30 วงศ์ เป็นไม้ต้นมากที่สุด วงศ์ที่พบมากที่สุดคือ Leguminosae Rubiaceae และ Zingiberaceae ตามลำดับ การนำมาใช้ประโยชน์มากที่สุดคือการรักษากลุ่มอาการไข้ หัด แก้ปวด แก้ร้อนใน กลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อ และทางเดินอาหาร ส่วนของพืชที่นำมาใช้มากสุดคือ ลำต้น และราก วิธีการใช้ที่นิยมมากสุดคือการต้ม การบด และการรับประทานสดตามลำดับ เมื่อนำมาวิเคราะห์ค่าดัชนีความหลากชนิดของพืชสมุนไพร (Species Diversity Index) พบค่าดัชนีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ (H’) มีค่าเท่ากับ 3.08 ค่าความหลากชนิด (D) มีค่าเท่ากับ 21.72 และค่าความสม่ำเสมอของชนิด (J) มีค่าเท่ากับ 0.79 ผลการพัฒนาค่ายอนุรักษ์พืชสมุนไพรพบว่านักเรียนจำนวน 50 คน หลังจากผ่านการเข้าค่ายอนุรักษ์พืชสมุนไพรมีความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพร และมีเจตคติด้านการอนุรักษ์พืชสมุนไพรสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการประเมินความถึงพอใจในการจัดค่ายพบว่า มีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก |
Description: | Master of Science (M.Sc.) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/603 |
Appears in Collections: | The Faculty of Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
56010280501.pdf | 10.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.