Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/604
Title:  Phytochemical  Screening  and  Biological  Activity  of  Paederia  linearis  Hook. f. Extracts
พฤกษเคมีเบื้องต้นและฤทธิ์ทางชีวภาพของตดหมูตดหมา (Paederia  linearis  Hook. f.)
Authors: Phorntip Padtakenang
พรทิพย์ ปัดตาเคนัง
Wilawan Promprom
วิลาวัณย์ พร้อมพรม
Mahasarakham University. The Faculty of Science
Keywords: ตดหมูตดหมา
สารพฤกษเคมี
ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส
Paederia linearis Hook. f.
Phytochemical
α-glucosidase activity
Issue Date:  18
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The present study was performed to investigate the phytochemical screening and biological activities of Paederia linearis extracts from root, stem and leaf. Phytochemical studiesof the five organic sovents : hexane,acetone,chloroform,methanol and ethanol. The result showed that secondary metabolite could be  found from the extracts from all solvent. Flavonoid and terpenoid were found in extracts from all solvent.The ethanolic leaf extracts had the  highest total phenolic content (174.42±15.43 mgGAE.g-¹,p<0.05) and flavonoids content (41.32±1.94 mgQE.g-1,p<0.05) when compared with the extracts from stem  and root. Antioxidant activity in leaf extracts were highest in testing methods, i.e. DPPH free radical scavenging method (40.73 ± 6.68%,p<0.05) and FRAP assay ( 68.22 ± 12.1%,p<0.05), when compared with stem and root extracts. The ethanolic leaf extracts of P. linearis showed that it had a good α-glucosidase inhibitors when compared to the authentic drug acabose. This preliminary study results were a basic information for future examination to provide the suitable supplementary food and to use in pharmacological.
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาสารพฤกษเคมี และฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากราก  ลำต้น และใบของตดหมูตดหมา  จากการศึกษาพฤกษเคมีด้วยตัวทำละลาย 5 ชนิด คือ เฮกเซน  อะซิโตน คลอโรฟอร์ม  เมทานอล และเอทานอล  พบว่า  ตัวทำละลายที่สามารถพบสารพฤกษเคมี  คือ  เอทานอล  เมทานอล  คลอโรฟอร์ม  อะซิโตน และเฮกเซน  ตามลำดับ  ทุกตัวทำละลายจะตรวจพบพฤกษเคมี คือ ฟลาโวนอยด์  และเทอร์พีนอยด์  สารสกัดจากใบที่สกัดด้วยเอทานอลมีปริมาณฟีนอลิกรวม (174.42±15.43 mgGAE.g-¹, p<0.05)  และปริมาณฟลาโวนอยด์รวม (41.32±1.94 mgQE.g-1 , p<0.05)  สูงที่สุดเมื่อเทียบกับสารสกัดจากลำต้นและราก   สารสกัดจากใบตดหมูตดหมามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด  เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH (40.73 ± 6.68% , p<0.05)  และวิธี  FRAP assay  ( 68.22 ± 12.1%, p<0.05)  เมื่อเทียบกับลำต้นและราก  สารสกัดจากใบที่สกัดด้วยเอทานอลของตดหมูตดหมาสามารถยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับอะคาร์โบส (Acabose) ซึ่งเป็นสารมาตรฐาน  จากการทดสอบเบื้องต้นนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่บ่งชี้ว่าต้นตดหมูตดหมามีความเหมาะสมในการเป็นอาหารเสริมสุขภาพและด้านเภสัชวิทยาต่อไป
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/604
Appears in Collections:The Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010282003.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.