Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/618
Title: The development of learning activities using STAD cooperative learning model focusing on problem solving skill and mathematical connections skill on linear equation with one variable for Mathayomsuksa 1
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้แบบ STAD ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Authors: Preeya Pejayoung
ปรียา เปจะยัง
Nongluk Viriyapong
นงลักษณ์ วิริยะพงษ์
Mahasarakham University. The Faculty of Science
Keywords: การจัดกิจกรรมการเรียนรู้STAD, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์, ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์, ความสามารถในการเชื่อมโยง
STAD cooperative learning model
learning achievement mathematic
Mathematics problem solving skill
mathematical connection skill
Issue Date:  28
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:   This research aimed (1) to develop lesson plan using STAD cooperative learning model focusing on mathematics problem solving skill and mathematical connection skill and lesson plan using the traditional teaching methods on a linear equation in one variable of mathayomsuksa 1 students to have the efficiency criteria of 75/75  (2) to fine the effectiveness index value of lesson plan using STAD cooperative learning model focusing on mathematics problem solving skill and mathematical connection skill and lesson plan using the traditional teaching methods on a linear equation in one variable of mathayomsuksa 1 students (3) to compare the learning achievement of mathayomsuksa 1 student between the group using STAD cooperative learning model focusing on mathematics problem solving skill and mathematical connection skill and the group using the traditional teaching methods (4) to compare ability on problem solving and ability on mathematical connection of mathayomsuksa 1 student between the group using STAD cooperative learning model focusing on mathematics problem solving skill and mathematical connection skill and the group using the traditional teaching methods  The sample groups used in this research were 80 students of mathayomsuksa 1, Lamplaimat School, Lamplaimat district have 2 class by cluster random sampling. Include the class using STAD cooperative learning model focusing on Mathematics problem solving skill and mathematics connection skill and the class using the traditional teaching methods and then measure by using the test at the end of each set. The test use a 30-item achievement test and use the problem solving ability test and mathematical connection. The data were analyzed with the use of  /  find out the efficiency of the learning plan according to the standard and comparisons of post-learning achievement between STAD cooperative learning groups  and regular learning using independent t-test  and to compare ability on problem solving and ability on mathematical connection by using Hotelling’s T2  The results of the study were as follows :  1. Lesson plan using STAD cooperative learning model focusing on mathematics problem solving skill and mathematical connection skill on a linear equation in one variable to have the efficiency 82.70/81.87 and lesson plan using the traditional teaching methods on a linear Equation in One Variable to have the efficiency 80.60/76.60, which was higher than the required criteria.  2. Lesson plan using STAD cooperative Learning model focusing on mathematics problem solving skill and mathematics connection skill on a linear equation in one variable have the effectiveness index value of learning was 0.6284 or 62.84 percent and lesson plan using the traditional teaching methods on a linear equation in one variable have the effectiveness index value of learning was 0.5237 or 52.37 percent  3. Mathayomsuksa 1 student the group using STAD cooperative learning model focusing on mathematics problem solving skill and mathematical connection skill have learning achievement higher than the group using the traditional teaching methods. They were statistically different, significant at .05 level.  4. Mathayomsuksa 1 student the group using STAD cooperative learning model focusing on mathematics problem solving skill and mathematical connection skill have ability on problem solving and ability on mathematics connection higher than The group using the traditional teaching methods They were statistically different, significant at .05 level.
  การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย ดังนี้  (1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้แบบ STAD ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้แบบ STAD ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างกลุ่ม ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้แบบ STAD ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ กับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ (4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหา และความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้แบบ STAD ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ กับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ   กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนลำปลายมาศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 80 คน มีทั้งสิ้น 2 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) แบ่งเป็น 2 ห้องเรียน ได้แก่ ห้องเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้แบบ STAD ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ และห้องเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ แล้วทำการวัดผลโดยใช้แบบทดสอบท้ายเล่มของแต่ละชุด การสอบโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบจำนวน 30 ข้อ และใช้แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา และการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ / หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ ตามเกณฑ์มาตรฐาน และการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หลังเรียนระหว่างกลุ่มที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้แบบ STAD กับแบบปกติ โดยใช้ t-test และการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหา และความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ Hotelling’s T2 ผลการวิจัยพบว่า   1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้แบบ STAD ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.70/81.87 และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.60/76.60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้   2. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้แบบ STAD ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว มีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6284 หรือคิดเป็นร้อยละ 62.84 และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว มีดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.5237 หรือคิดเป็นร้อยละ 52.37   3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้แบบ STAD ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้แบบ STAD ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ มีความสามารถในการแก้ปัญหา และความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ สูงกว่านักเรียนได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/618
Appears in Collections:The Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010283009.pdf3.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.