Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/637
Title: | The Development Guideline of a Network of Cooperation for Schools the Secondary Educational Service Area Office 24 แนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24 กาฬสินธุ์ |
Authors: | Krich Theerangsu กริช ธีรางศุ Amnaj Chanawongse อำนาจ ชนะวงศ์ Mahasarakham University. The Faculty of Education |
Keywords: | แนวทางการพัฒนา เครือข่ายความร่วมมือ The Development Guideline Network of Cooperation |
Issue Date: | 28 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The objectives of the research were; to study the elements and indicators of a network of cooperation For Schools the Secondary Educational Service Area Office 24, to study the present condition and desirable condition of a network of cooperation, and to develop guideline of a network of cooperation. The samples were 398 teachers under the office in the academic year 2560. The research tools were an evaluative form to assess the elements and indicators of a network of cooperation, a set of questionnaire to assess present condition and desirable condition of a network of cooperation and an assessment form to evaluate the development guideline of a network of cooperation guideline. The statistics employed in this study were mean and standard deviation.
The result of the study was as follows:
1. The elements of a network of cooperation consist of 4 components and 34 indicators; 1) common vision consisted of 5 indicators, 2) participation consisted of 11 indicators, 3) interaction consisted of 10 indicators, and 4) network management Consisted of 8 indicators. All of them were suitable at the most level and possible at the most level.
2. The present condition and desirable condition of a development guideline of a network of cooperation revealed that the present condition of all components and each one was at the medium level. And the desirable condition of all components were at the most level.
3. The development guideline of a network of cooperation For Schools the Secondary Educational Service Area Office 24, by 4 experts and 36 indicators ; 1) common vision consisted 2) participation consisted 3) interaction consisted, and 4) network management Consisted. showed that it was suitable as a whole at the most level and was possible as a whole at the more level. การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของเครือข่ายความร่วมมือ ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของเครือข่ายความร่วมมือ และแนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือสำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24 กาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างคือ บริหารสถานศึกษาและครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 ประจำปีการศึกษา 2560 จำนวน 398 คน ได้มาโดยการเลือกแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินองค์ประกอบและตัวชี้วัดของเครือข่ายความร่วมมือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ของเครือข่ายความร่วมมือ และแบบประเมินและแนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดเครือข่ายความร่วมมือมี 4 องค์ประกอบ 34 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมมี 5 ตัวชี้วัด 2) ด้านการมีส่วนร่วม มี 11 ตัวชี้วัด 3) ด้านการปฏิสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยน มี 10 ตัวชี้วัด และ 4) ด้านการบริหารจัดการเครือข่าย มี 8 ตัวชี้วัด ซึ่งทุกองค์ประกอบและตัวชี้วัดมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 2. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของแนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24 กาฬสินธุ์ พบว่า สภาพปัจจุบันโดยรวมทุกองค์ประกอบและแต่ละองค์ประกอบอยู่ในระดับปานกลางโดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านการบริหารจัดการเครือข่าย ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม ด้านการปฏิสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยน และด้านการมีส่วนร่วม สำหรับสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม ด้านการมีส่วนร่วม และด้านการปฏิสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยนอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการบริหารจัดการเครือข่ายอยู่ในระดับมากและระดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการปฏิสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยน ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม ด้านการบริหารจัดการเครือข่าย 3. ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24 กาฬสินธุ์ พบว่า จากการศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฎี แบบสอบถามและจากการศึกษาโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เพื่อใช้ออกแบบแนวทางในการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24 กาฬสินธุ์ โดยผ่านการตรวจสอบ และเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมี 4 องค์ประกอบ 36 ตัวชี้วัด ซึ่งพบว่า แนวทางในการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24 กาฬสินธุ์ ความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก และความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก |
Description: | Master of Education (M.Ed.) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/637 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58010586049.pdf | 2.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.