Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/639
Title: The Program for Teacher Competency for Learning Management by STEM Education Approach Under Office of the Basic Education Commission
โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Authors: Kotchaphat Sanguankhruea
กชภัทร์  สงวนเครือ
Suwat Junsuwan
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครู
การจัดการเรียนรู้
แนวทางสะเต็มศึกษา
Program for Teacher Competency
Learning Management
STEM Education
Issue Date:  8
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were to study learning management by STEM education approach of teacher under Office of the Basic Education Commission, to study current situation, desirable situation and development method for teacher competency for learning management by STEM education approach under Office of the Basic Education Commission, to develop the Program for teacher competency for learning management by STEM education approach under Office of the Basic Education Commission, and to study and use the Program for teacher competency for learning management by STEM education approach under Office of the Basic Education Commission. Research and Development was conducted including: Phase 1; factors and indicators of teacher competency for learning management by STEM education approach under Office of the Basic Education Commission, were validated by 7 experts, Phase 2; study current situation, desirable situation and development method for teacher competency for learning management by STEM education approach under Office of the Basic Education Commission, were studied from target group including 468 teachers, Phase 3; the development of Program for teacher competency for learning management by STEM education approach under Office of the Basic Education Commission of 7 experts, and Phase 4; to study and use the Program for teacher competency for learning management by STEM education approach under Office of the Basic Education Commission 30 people Hua Qiao Ubonratchathani  school 2. The research instruments were: Questionnaire, Evaluation Form, and the Test. Statistic for data analysis included the Percentage, Mean, and Standard Deviation. The findings were as follows: 1. Factors for teacher competency for learning management by STEM education approach under Office of the Basic Education Commission, 5 factors, 10 indicators by experts, in overall, was in “The Highest” level, and the findings of study in indicators for teacher competency for learning management by STEM education approach under Office of the Basic Education Commission validated by experts, in overall, was in “The Highest” level.    2. Current situation for teacher competency for learning management by STEM education approach under Office of the Basic Education Commission, in overall, was in “Moderate” level. Furthermore, the Desirable situation for teacher competency for learning management by STEM education approach under Office of the Basic Education Commission, in overall, was in “The Highest” level. Techniques for enhancing the Learning Management Competency, Content Analysis was administered. The frequencies were ranged in order from high to low as follows: the Workshop Training, the Self-directed learning, the Coaching, the Mentoring, and the Supervision of teaching. 3. The developed Program for teacher competency for learning management by STEM education approach under Office of the Basic Education Commission, consisted of Program Factors including: 1) the Rationale and approach of Program, 2) the Objectives of Program, 3) the Design and Technique of Development, 4) the use and development of Media and Innovation for Learning Management, and 5) the Measurement and Evaluation, 5 Module were 1) teachers' knowledge orientations to teaching STEM education 2) teachers' knowledge about STEM education curricula 3) teachers' knowledge of students' STEM education understanding 4) knowledge of instructional strategies for teaching STEM education and 5) teachers' knowledge about assessment, for180 Hours. The Development Techniques were: 1) the Workshop Training, 2) the Self-directed learning, 3) the Coaching, 4) the Mentoring, and 5) the Supervision of teaching. The Development was implemented by 4 Steps including: Step 1; the Pre Development, Step 2) the Development, Step 3; the Knowledge Integration, and Step 4; the Post Development. The Evaluation by Advisors findings Usefulness, Possibility, and Suitability the Highest level. 4. The findings in usage of Program for teacher competency for learning management by STEM education approach under Office of the Basic Education Commission were : 1) the findings of knowledge testing in teacher competency for learning management by STEM education approach under Office of the Basic Education Commission, the Mean Score of Pre Development was = 17.17 points or 57.22%, and Mean Score of Post Development was = 25.47 points or 84.89%, 2) the evaluative findings of teacher competency for learning management by STEM education approach under Office of the Basic Education Commission, the overall, was in “Moderate” level. The Post Development, in overall, was in “The Highest” level, and 3) the evaluative findings of Participants’ Satisfaction teacher competency for learning management by STEM education approach under Office of the Basic Education Commission, in overall, every aspect was in “The Highest” level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และวิธีการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 4) ศึกษาผลการนำโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปใช้ การดำเนินการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และวิธีการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน จากกลุ่มเป้าหมายที่เป็น ครูผู้สอน จำนวน 468 คน ระยะที่ 3 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยืนยันโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และระยะที่ 4 การศึกษาผลการนำโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปใช้กับครูโรงเรียนฮั้วเฉียวอุบลราชธานี 2 จำนวน 30 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมิน และแบบทดสอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 10 ตัวบ่งชี้ ยืนยันโดยผู้ทรงคุณวุฒิ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการศึกษาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา ยืนยันโดยผู้ทรงคุณวุฒิ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. สภาพปัจจุบันของสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับวิธีการเสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรียงตามลำดับความถี่จากมากไปหาน้อย ได้แก่ การประชุมปฏิบัติการ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การสอนงาน กระบวนการพี่เลี้ยง และการนิเทศ 3. โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบโปรแกรม ได้แก่ 1) หลักการและแนวคิดของโปรแกรม 2) วัตถุประสงค์ของโปรแกรม 3) รูปแบบและวิธีการพัฒนา 4) เนื้อหาและสาระสำคัญของโปรแกรม 5) การประเมินผลโปรแกรม ซึ่งประกอบด้วย 5 Module คือ 1) ความรู้ของครูเกี่ยวกับเป้าหมายการสอนสะเต็มศึกษา 2) ความรู้ของครูเกี่ยวกับหลักสูตรสะเต็มศึกษา 3) ความรู้ของครูเกี่ยวกับความเข้าใจในผู้เรียน 4) ความรู้ของครูเกี่ยวกับกลวิธีการสอนสะเต็มศึกษา และ 5) ความรู้ของครูเกี่ยวกับการประเมินการเรียนรู้ ใช้ระยะเวลา 180 ชั่วโมง วิธีการพัฒนาได้แก่ 1) การประชุมปฏิบัติการ 2) การเรียนรู้ด้วยตนเอง 3) การสอนงาน 4) กระบวนการพี่เลี้ยง และ 5) การนิเทศ การดำเนินการพัฒนามี 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 การประเมินก่อนการพัฒนา ขั้นที่ 2 การพัฒนา ขั้นที่ 3 การบูรณาการความรู้ และขั้นที่ 4 การประเมินหลังการพัฒนา ผลการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ และความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลการนำโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปใช้ พบว่า 1) ผลการทดสอบความรู้เกี่ยวกับสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคะแนนก่อนพัฒนาได้คะแนนเฉลี่ย 17.17 คิดเป็นร้อยละ 57.22 และมีคะแนนหลังการพัฒนาได้คะแนนเฉลี่ย 25.47 คิดเป็นร้อยละ 84.89 2) ผลการประเมินสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก่อนการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง หลังการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/639
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010560001.pdf3.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.