Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/641
Title: Development of Student Counseling System in the Obligation of Student Affair Among Public University
การพัฒนาระบบการให้คำปรึกษานิสิตสำหรับงานกิจการนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ
Authors: Anongpanuch Panatungthirawit
อนงค์ภาณุช  ปะนะทังถิรวิทย์
Tharinthorn Namwan
ธรินธร นามวรรณ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาระบบการให้คำปรึกษา
งานกิจการนักศึกษา
มหาวิทยาลัยของรัฐ
Development of Student Counseling System
Student Affair
Public University
Issue Date:  22
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Regarding the obligation of the Student Affair among public university, there are 4 aims of this study: 1) to explore components of its student counseling system, 2) to examine the conditions of its present, satisfaction, and need, 3) to try out its student counseling system, and 4) to assess its optimum, prospect, and utility of the system. Subsequently, there are 4 phases of the study: phase 1, finding out the system component; phase 2, examining the conditions in the present, satisfaction, and need; phase 3, trying out the system; and phase 4, assessing the optimum, prospect, and utility by specialists. The statistical devices of the study are percentage, mean, standard deviation, and priority needs index. The findings, toward the obligation of the Student Affair among public university, revealed as follows. 1. In reference to components of student counseling system, there were 3 schemes: 18 elements of the input factor, 15 elements of the process, 2 elements of the outcome, and 2 elements of feedback. 2. In line with the conditions of the present satisfaction of the student counseling system, the overall results showed in high degree. The need averagely showed from high to low degree: counseling in person and socializing, education, and career. 3. For try-out the student counseling system, there were 3 schemes. Scheme 1 comprised 4 components of educational counseling: (1) 6 elements of the input factor, (2) 5 elements of the process, (3) 2 elements of the outcome, and (4) 2 elements of feedback. Scheme 2 comprised 4 components of career counseling: (1) 6 elements of the input factor, (2) 5 elements of the process, (3) 2 elements of the outcome, and (4) 2 elements of feedback. Scheme 3 comprised 4 components of personal and social counseling: (1) 6 elements of the input factor, (2) 5 elements of the process, (3) 2 elements of the outcome, and (4) 2 elements of feedback. 4. In view of assessment of the optimum, prospect, and utility in the student counseling system, there were 2 findings: 1) the satisfaction assessment averagely showed through contents, process, outcome, and feedback in the highest degree and 2) the counseling system assessment showed higher scores after applying the try-out system.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของระบบการให้คำปรึกษานิสิตสำหรับงานกิจการนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของระบบการให้คำปรึกษานิสิตสำหรับงานกิจการนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ 3) เพื่อทดลองการใช้ระบบการให้คำปรึกษานิสิตสำหรับงานกิจการนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ และ 4) เพื่อประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของระบบการให้คำปรึกษานิสิตสำหรับงานกิจการนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ ประกอบด้วย 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของระบบ ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น ระยะที่ 3 ทดลองการใช้ระบบ และระยะที่ 4 เพื่อประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. องค์ประกอบของระบบการให้คำปรึกษานิสิตสำหรับงานกิจการนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ ประกอบด้วย 3 ระบบ ได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้า 18 องค์ประกอบ ด้านกระบวนการ 15 องค์ประกอบ ด้านผลผลิต 2 องค์ประกอบ และด้านข้อมูลป้อนกลับ 2 องค์ประกอบ 2. สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของระบบการให้คำปรึกษานิสิตสำหรับงานกิจการนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ พบว่าโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนระดับความต้องการจำเป็นเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ การให้คำปรึกษาทางส่วนตัวและสังคม การให้คำปรึกษาทางการศึกษา และการให้คำปรึกษาทางอาชีพ 3. การทดลองการใช้ระบบการให้คำปรึกษานิสิตสำหรับงานกิจการนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ มี 3 ระบบคือ 1) การให้คำปรึกษาทางการศึกษา มี 4 องค์ประกอบคือ (1) ปัจจัยนำเข้ามี 6 องค์ประกอบ (2) กระบวนการมี 5 องค์ประกอบ (3) ผลผลิตมี 2 องค์ประกอบ (4) ข้อมูลป้อนกลับมี 2 องค์ประกอบ 2) การให้คำปรึกษาทางอาชีพ มี 4 องค์ประกอบคือ (1) ปัจจัยนำเข้ามี 6 องค์ประกอบ (2) กระบวนการมี 5 องค์ประกอบ (3) ผลผลิตมี 2 องค์ประกอบ (4) ข้อมูลป้อนกลับมี 2 องค์ประกอบ 3) การให้คำปรึกษาทางส่วนตัวและสังคม มี 4 องค์ประกอบ คือ (1) ปัจจัยนำเข้ามี 6 องค์ประกอบ (2) กระบวนการมี 5 องค์ประกอบ (3) ผลผลิตมี 2องค์ประกอบ (4) ข้อมูลป้อนกลับมี 2 องค์ประกอบ 4. ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ระบบการให้คำปรึกษานิสิตสำหรับงานกิจการนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐไปใช้ ปรากฏ ดังนี้ 1) ผลการประเมินความพึงพอใจด้านเนื้อหา ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านข้อมูลป้อนกลับ โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการประเมินระบบด้านการให้คำปรึกษา มีคะแนนทดสอบหลังการใช้ระบบสูงกว่าก่อนการใช้ระบบ
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/641
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010560017.pdf6.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.