Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/642
Title: The Development of a Blended Training Model Based on Self-Directed Learning Principles to Enhance Digital Literacy Competencies for Teachers in the Office of Basic Education Commission
การพัฒนาโมเดลการฝึกอบรมแบบผสมผสานตามหลักการนำตนเองเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการรู้ดิจิทัล สำหรับครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Authors: Sonthaya Lakthorng
สนธยา หลักทอง
Pachoen Kidrakarn
เผชิญ กิจระการ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: โมเดลการฝึกอบรมแบบผสมผสาน
การเรียนรู้แบบนำตนเอง
การรู้ดิจิทัล
Integrated Training Model
Self-Directed Learning
Digital Literacy
Issue Date:  17
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The aims of this research were 1) to study components of model, currents and needs assessment in digital literacy 2) to develop the blended training model with self-directed learning principles 3) to study the results of the trails model. The procedure was divided into 3 phases; the first phase; Studying components of the model, currents and needs assessment on digital Literacy, the second phase; Development the blended training model, the third phase; trials model and present the results used. The samples used were 408 teachers by multistage random sampling. The equipment used were the questionnaire to identify currents and needs in digital literacy, 5 specialists of training and digital literacy were interviewed, 9 experts of training were confirmed and approved model in connoisseurship technique, and 40 volunteers teachers for the trials training model. Types of equipment used in the study were the online questionnaire, the In-depth Interview form, and a model and model’s manual. The statistics used were percentage, mean, standard deviation, Wilcoxon matched pairs signed-ranks test and t-test (Dependent) for quantity data and content analysis for quality data. The research results were as follows, 1. Components of digital literacy competencies for teachers are consisted of knowledge, skills, and attributes include; understand, use, create, assess, safe, and share. The currents level of digital literacy is at medium level. The needs level of digital literacy is at the highest level. The first level of need assessment is create. 2. The blended training model based on self-directed learning principles to enhance digital literacy for teachers under the office of basic education commission (PACSO Model) consisting of Principles, Aims, Components of blended training, Steps of blended training and Outputs. The steps of blended training consisted of 3 phases include train in the training room, train online and train in the training room with 7 steps of self-directed learning which are 1) orientation 2) adjusting knowledge basics 3) planning and setting learning goals 4) seeking and gathering knowledge by oneself 5) applying knowledge 6) presenting learning outcomes and 7) evaluation. 3. The results of the trial using the blended training model showed that teachers had knowledge scores after training significantly higher than before training at the .05 level. The results of skills evaluation were at an excellence level. The results of the attribute score after training was higher than before training with statistical significance at the level of .05.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของโมเดล สภาพปัจจุบันและความต้องการเกี่ยวกับการรู้ดิจิทัล 2) พัฒนาโมเดล และ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้โมเดล แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของโมเดล สภาพปัจจุบันและความต้องการเกี่ยวกับการรู้ดิจิทัล ระยะที่ 2 การพัฒนาโมเดล และระยะที่ 3 การศึกษาผลการทดลองใช้โมเดล ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 408 โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Sampling) 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกอบรมและการรู้ดิจิทัล จำนวน 5 ท่าน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 3) ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบคุณภาพของร่างโมเดลและเอกสารประกอบ จำนวน 5 ท่าน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 4) ผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) เพื่อประเมินความเหมาะสมของโมเดลและเอกสารประกอบ จำนวน 9 ท่าน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และ 5) ครูสำหรับการทดลองใช้โมเดล จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Random Sampling) จากครูที่มีความสนใจสมัครเข้ารับการฝึกอบรม เครื่องมือที่ใช้การวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและความต้องการเกี่ยวกับการรู้ดิจิทัล 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 3) โมเดลและเอกสารประกอบโมเดล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (PNImodified) สถิติสำหรับการทดสอบ ได้แก่ Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks และ t-test (Dependent) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของสมรรถนะการรู้ดิจิทัลของครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่เกี่ยวกับการรู้ดิจิทัล ได้แก่ เข้าใจ ใช้งาน สร้าง ประเมิน ปลอดภัย และแบ่งปัน ซึ่งสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับการรู้ดิจิทัลของครูอยู่ในระดับปานกลาง ความต้องการเกี่ยวกับการรู้ดิจิทัลอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการเรียงลำดับความต้องการจำเป็นในด้านสร้างมีคะแนนอยู่ในลำดับที่ 1 2. โมเดลการฝึกอบรมแบบผสมผสานตามหลักการนำตนเองเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการรู้ดิจิทัลสำหรับครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (PACSO Model) ประกอบด้วย หลักการ (Principles) จุดมุ่งหมาย (Aims) องค์ประกอบของการฝึกอบรมแบบผสมสาน (Components of Blended Training) ขั้นตอนการฝึกอบรมแบบผสมผสาน (Steps of Blended Training) และผลการฝึกอบรมแบบผสมสาน (Outputs) สำหรับขั้นการฝึกอบรมแบบผสมผสานตามหลักการนำตนเอง แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การฝึกอบรมในห้องฝึกอบรมครั้งที่ 1 ระยะที่ 2 การฝึกอบรมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และระยะที่ 3 การฝึกอบรมในห้องฝึกอบรมครั้งที่ 2 โดยใช้ขั้นตอนการเรียนรู้แบบนำตนเอง 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การปฐมนิเทศ 2) การปรับพื้นฐานความรู้ 3) การวางแผนและการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ 4) การแสวงหาและรวบรวมความรู้ด้วยตนเอง 5) การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 6) การนำเสนอผลการเรียนรู้ และ 7) การประเมินผล 3. ผลการทดลองใช้โมเดลการฝึกอบรมแบบผสมผสาน พบว่า ครูที่เข้ารับการฝึกอบรมมีคะแนนด้านความรู้หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการประเมินด้านทักษะอยู่ในระดับดีมาก และมีคะแนนการประเมินด้านคุณลักษณะหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/642
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010561005.pdf11.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.