Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/645
Title: | The Development Guidelines of Creative Conflict Management in Schools Under Nakhon Ratchasima Primary Education Service Area Office 1 การพัฒนาแนวทางการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 |
Authors: | Jirapat Chomvilai จิรภัทร์ โฉมวิไล Sivakorn Krissanasuvan สิวะกรณ์ กฤษณสุวรรณ Mahasarakham University. The Faculty of Education |
Keywords: | แนวทางการจัดการ การจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ Management Guidelines Creative Conflict Management |
Issue Date: | 10 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The purpose of this research were 1) to study the factors and competency indicators of creative conflict management in Education under Nakhon Ratchasima Primary Education Service Area Office 1, 2) to study the current state and desirable conditions of creative conflict management in Schools under Nakhon Ratchasima Primary Education Service Area Office 1, and 3) to develop the guidelines of creative conflict management in Schools under Nakhon Ratchasima Primary Education Service Area Office 1. There were 3 phases of implementation in Sequential Exploratory Mixed Method Research Design including: 1) Studying the factors and competency indicators of creative conflict management; the 5 professionals were the group of informants. The research instrument is the evaluation form. The statistics used for analyzing data were mean, and standard deviation. 2) Studying the current state and desirable conditions of creative conflict management; the samples consisted of 108 advisory directors. The research instrument is the questionnaire. The statistics used for analyzing data were mean, and standard deviation. 3) The guideline of creative conflict management; the 7 guideline assessors were the group of informants. The research instrument is evaluation form. The statistics used for analyzing data were mean, standard deviation and Modified Priority Need Index.
The result of the study were as follows:
1. There were 4 elements and 26 indicators of Creative Conflict Management in Schools under Nakhon Ratchasima Primary Education Service Area Office 1. The first element was teamwork (7 indicators). The second element was acceptance of listening to information (6 indicators). The third element was negotiation to solving problems (7 indicators). The fourth element was the use of virtue in administration. (6 indicators). The suitability and probability were at high level.
2. The result of the current and desirable conditions about Creative Conflict Management in Schools under Nakhon Ratchasima Primary Education Service Area Office 1. Were reported that the current state of Creative Conflict Management in Schools under Nakhon Ratchasima Primary Education Service Area Office 1 were at highest level with the x ̅ of 3.76. Desirable conditions of Creative Conflict Management in Schools under Nakhon Ratchasima Primary Education Service Area Office 1 were at highest level with the x ̅ of 4.61.
3. The result of development guideline of Creative Conflict Management in Schools under Nakhon Ratchasima Primary Education Service Area Office 1 were 5 categories. The first category was the principle and importance. The second category was the purpose. The third category was The Structure Guidelines of Creative Conflict Management in Schools. The fourth category was The Guideline of Creative Conflict Management in Schools. The fifth category was conditions of success. The guidelines were divided into 5 factors. 1) was teamwork. 2) was acceptance of listening to information. 3) was negotiation to solving problems. 4) was the use of virtue in administration. 5) was result success. The results of possibility, suitability of developing guidelines were at high level. ในการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 3) เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยดำเนินการแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 108 คน ระยะที่ 3 การพัฒนาแนวทางการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมินความสอดคล้อง ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ แบบสอบ ถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNI ผลการวิจัยพบว่า 1. การสังเคราะห์องค์ประกอบและตัวชี้วัดของการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ในสถานศึกษา ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ และ 26 ตัวชี้วัด คือ 1) การทำงานเป็นทีม มี 7 ตัวชี้วัด 2) ด้านการยอมรับฟังข้อมูล มี 6 ตัวชี้วัด 3) ด้านการเจรจาต่อรองแก้ไขปัญหา มี 7 ตัวชี้วัด 4) ด้านการใช้หลักคุณธรรมในการบริหาร มี 6 ตัวชี้วัด ซึ่งทุกองค์ประกอบและตัวชี้วัดมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดและมีความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด 2. ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ของการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ในสถานศึกษา พบว่า สภาพปัจจุบันของการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.76) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.61) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 3. ผลการพัฒนาแนวทางการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและความสำคัญ 2) จุดมุ่งหมาย 3) โครงสร้างแนวทางการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ในสถานศึกษา 4) แนวทางการจัดการความขัดแย้ง 5) แนวทางสู่ความสำเร็จ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการยอมรับฟังข้อมูล ด้านการเจรจาต่อรองแก้ไขปัญหา ด้านการใช้หลักคุณธรรมในการบริหาร พบว่า ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนา มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด มีความเป็นไปได้ระดับมาก |
Description: | Master of Education (M.Ed.) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/645 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59010586036.pdf | 1.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.