Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/646
Title: | Teacher Development Program for Creative Learning Design in Students for Schools under the Secondary Education Service Area Office 21 โปรแกรมพัฒนาครูด้านการออกแบบการเรียนรู้การคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน สำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21 |
Authors: | Patteera Pleumjit ภัทร์ธีรา ปลื้มจิตต์ Napatsawan Thanaphonganan ณภัสวรรณ ธนาพงษ์อนันท์ Mahasarakham University. The Faculty of Education |
Keywords: | การพัฒนาครู การออกแบบการเรียนรู้ การคิดสร้างสรรค์ The development of Teacher Learning Design Creative |
Issue Date: | 6 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The research aimed 1) to study current condition and desirable condition of Creative Learning Design of Students in School Under The Office of The Secondary Education Service Area 21, 2) to develop of Teacher development program for Creative Learning Design of Students in School Under The Office of The Secondary Education Service Area 21. Research and development was conducted including 2 phases ; phase 1 : current condition and desirable condition of Creative Learning Design of Students in School Under The Office of The Secondary Education Service Area 21. The sample consisted of 331 teachers. Data was analysis using modified priority needs index. phase 2: The development of Teacher development program for Creative Learning Design of Students in School Under The Office of The Secondary Education Service Area 21. To study the Development Program for Creative Learning Design Of Students in Schools (Best Practice) consisted of 2 schools. Drafted guidelines to Teacher development program for Creative Learning Design of Students and investigated quality guidelines assessing appropriateness and feasibility by 7 qualified people. The research tools were questionnaire, interview and evaluation form. Data was analysis consisted of the mean, standard deviation and Modified Priority Needs Index (PNI modified).
The research finding were as follows:
1. The current condition and desirable condition of Creative Learning Design of Students in School Under The Office of The Secondary Education Service Area 21 was in high level and the desirable condition, in overall, was in the highest level.
2. The developed program, the teacher development program for Creative Learning Design of Students in School Under The Office of The Secondary Education Service Area 21, consisted of program elements including:1) the rationale and approach of program, 2) goal of program, 3) content scope:3.1) study problems / needs of learner 3.2) the learning objective determination 3.3) teaching method / activities and 3.4) evaluation 4) methods development including: training, coaching supervision and education, 5) media, and 6) evaluation. Evaluation of teacher development program for Creative Learning Design of Students in School Under The Office of The Secondary Education Service Area 21 Overall, it was high level appropriate And the feasibility was at a high level การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์การพัฒนาครูด้านการออกแบบการเรียนรู้การคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 2) โปรแกรมพัฒนาครูด้านการออกแบบการเรียนรู้การคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์การออกแบบการเรียนรู้การคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูจำนวน 331 คน จากนั้นนำผลที่ได้ มาวิเคราะห์หาค่าดัชนีความต้องการจำเป็นและจัดลำดับความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 โปรแกรมพัฒนาครูด้านการออกแบบการเรียนรู้การคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 โดยศึกษาวิธีการพัฒนาครูด้านการออกแบบการเรียนรู้การคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน ในสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติเป็นเลิศ (Best Practice) จำนวน 2 โรงเรียน ร่างโปรแกรมการพัฒนาครูด้านการออกแบบการเรียนรู้การคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน โดยประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการพัฒนาครูด้านการออกแบบการเรียนรู้การคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ การประเมินผล วิธีสอน การกำหนดจุดประสงค์ และ การศึกษาปัญหา ตามลำดับ สภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูด้านการออกแบบการเรียนรู้การคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ วิธีสอน การประเมินผล การกำหนดจุดประสงค์ และการศึกษาปัญหา ตามลำดับ 2. โปรแกรมพัฒนาครูด้านการออกแบบการเรียนรู้การคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ประกอบด้วย 1) หลักการและเหตุผล 2) การกำหนดจุดประสงค์ 3) ขอบข่ายเนื้อหา 4) วิธีดำเนินการ 5) สื่อ และ 6) การประเมินผล ขอบข่ายเนื้อหาประกอบด้วย 4 โมดูล ได้แก่ โมดูล1 การศึกษาปัญหา โมดูล 2 การกำหนดจุดประสงค์ โมดูล 3 วิธีสอน โมดูล 4 การประเมินผล จากการประเมินโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก |
Description: | Master of Education (M.Ed.) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/646 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59010586049.pdf | 6.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.