Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/651
Title: The Revival "Song Tabeaux  Vivants"
การรื้อฟื้นเพลงตับตาโบลวิวังต์
Authors: Bunta Kiantongkul
บุญตา  เขียนทองกุล
Ourarom Chantamala
อุรารมย์ จันทมาลา
Mahasarakham University. The Faculty of Fine and Applied Arts
Keywords: เพลงตับ
ตาโบลวิวังต์
โน้ตเพลงตับเรื่องนางซินเดอเรลล่า
Suite
Tableaux Vivants
Cinderella Suite Music Score
Issue Date:  2
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aims to 1) study the history of Tableaux Vivants of the Prince Narisara Nuwattiwong that affect the academic work in music 2) analysis of music structure of Tableaux Vivants and 3) analysis of Tableaux Vivants’s performance form: case study of Cinderella suite from a note in 1939. The concept of retrieving method is use to research in 8 suites of the Tableaux Vivants performance which consist of 1) Ruang PhraPenJao suite, 2) Ruang Rachathirat suite, 3) Ruang Nithra Chakhrit suite, 4) Ruang SamKok suite, 5) Ruang Cinderella suite, 6) Ruang KhomDamDin suite, 7) Ruang PhraLo suite and 8) Ruang Unnaruth suite and preparation focus group on the basic melodies of 7 suites including 34 songs to study structure and analyze in scales, melodic style and language accents. The researcher present research in the descriptive analysis form. The results of the research reveal that Tableaux Vivants suite has developed from Mahoree suite that played by MahoreeKuangSee for lulling the royalty's sleep since the Ayutthaya period. The lyrics were originally an epic, poem, ending in the verse. But there was a way to sort by selection the song to play together for the length. At the beginning be called “PlengTab” (Suite). Later, in the early Rattanakosin period the drama prospered. Someone used the Drama script for playing and singing music without characters called that “LakornKlai” and Suite from drama be called that “PlengTabRuang”. The results of music structure of Tableaux Vivants reveal that Ruang Rachathirat suite has Burmese and Mon accents in Piang Or Bon or C Pentatonic scale (C D E x G A x). “F” and “B” are accidental notes. There was mainly Piang Or Lang or G Pentatonic scale (G A B x D E x) and “C” is an accidental note. Ruang Nithra Chakhrit suite has a Indian accent in Piang Or Lang or G Pentatonic scale (G A B x D E x) and “C” is an accidental note. Ruang SamKok suite has a Chinese accent in Piang Or Bon or C Pentatonic scale (C D E x G A x). “F” and “B” are accidental notes. Ruang KhomDamDin suite has a Khmer accent in Chawa or F Pentatonic scale (F G A x C D x) and “E” is an accidental note. Ruang PhraLo suite has a Lao accent in Piang Or Lang or G Pentatonic scale (G A B x D E x). It doesn’t have an accidental note. Ruang Unnaruth suite is in Piang Or Lang or G Pentatonic scale (G A B x D E x). “F” and“C” are accidental notes. Ruang Cinderella suite is played by Piphatmaikhaeng ensemble in Piang Or Lang or G Pentatonic scale (G A B x D E x). “C” and“F” are accidental notes.Melodic style is a language accent in all suites. But there are some songs that have the melodic style can create the language accent such as PhaMaHae song, KrobChakkawal song and Wessukam song. The analysis of Ruang Cinderella suite’s performance form and ensemble from a note in 1939. The researcher revives and manages Ruang Cinderella suite : case study of Tableaux Vivants performance for support result of this research. It is a full performance at the National theater. The researcher presented this performance in online media. From the performance show found that The form of Tableaux Vivants performance has 3 important elements: 1. Playing - Singing 2.The actors dress in the story, act according to the lyrics and stand like images and 3. Elements of the show. The results of the research reveal that Ruang Cinderella suite: case study of Tableaux Vivants performance is played by Piphatmaikhaeng ensemble. There are scipts according to the lyrics. And the music played in movement only 1 round. The relationship of the lyrics and the act of scipts total of 16 times. There are 2 scenes for the show. In addition, there is a pumpkin carriage. All 8 performers dressed in western style, Musicians-Singers dressed retro costumes in the reign of King Rama V, using light projection to change the point of interest. The song is played by Piphatmaikhaeng ensemble from a note in 1939. Piphatmaikhaeng ensemble has 6 instruments such as PiNai RenadEk KongWongYai KongWongLek RanadTumMai and RanadTumLhek. Analysis of melody according to Characteristics of ensemble found that “RanadTumLhek” is a instrument that creates a distinctive variation in different ways include that wide rhythmic pattern, frequent rhythmic pattern, Melodic contour (Conjunctive, Ascending, Descending), Harmonization that causes Interval and westerner accent. It is a perfect suite in Thai music and Thai dance.
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของเพลงตับตาโบลวิวังต์ ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ที่ส่งผลต่องานวิชาการด้านดนตรีสืบมา 2) ศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างเพลงตับตาโบลวิวังต์ (Tableaux Vivants) และ 3) ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการแสดงตาโบลวิวังต์ กรณีศึกษาเพลงตับเรื่องซินเดอเรลล่าจากโน้ตเพลงที่จดบันทึกเมื่อปีพุทธศักราช 2482  โดยใช้ระเบียบวิจัยแนวคิดการรื้อฟื้นในการศึกษาค้นคว้าการจัดการแสดงตาโบลวิวังต์ จำนวน 8 ตับ ได้แก่ 1. ตับพระเป็นเจ้า (ไม่ศึกษาเพราะไม่มีการบรรจุเพลง) 2. เพลงตับเรื่องราชาธิราช 3. เพลงตับเรื่องนิทราชาคริต 4. เพลงตับเรื่องสามก๊ก 5. เพลงตับเรื่องซินเดอเรลล่า 6. เพลงตับเรื่องขอมดำดิน 7. เพลงตับเรื่องพระลอ และ 8. เพลงตับเรื่องอุณรุท และการจัดทำ Focus group ทำนองหลักของเพลงตับทั้ง 7 ตับ รวม 34 เพลง เพื่อศึกษาโครงสร้างและวิเคราะห์กลุ่มเสียง สำนวน และสำเนียงภาษา นำเสนอการวิจัยในรูปแบบการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า เพลงตับตาโบลวิวังต์ มีพัฒนาการมาจากเพลงตับมโหรีที่บรรเลงด้วยวงมโหรีเครื่องสี่ สำหรับกล่อมพระบรรทมของเจ้านายมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เนื้อร้องแต่เดิมเป็นกาพย์ หรือโคลงจบความในบท มีวิธีการเรียงร้อยด้วยการนำเพลงมาบรรเลงติดต่อกันเพื่อให้เกิดความยาว เรียกชื่อขึ้นต้นว่า เพลงตับ ต่อมาในสมัยต้นรัตนโกสินทร์การแสดงละครเฟื่องฟู ได้มีผู้นำบทละครมาบรรเลง – รับร้องโดยไม่มีตัวแสดง ซึ่งเรียกว่า “ละครกลาย” จึงเรียกว่าเพลงตับที่มาจากละครว่า “เพลงตับเรื่อง” ผลการศึกษาโครงสร้างเพลงตับตาโบลวิวังต์ พบว่า เพลงตับเรื่องราชาธิราช มีสำเนียงพม่า และมอญ อยู่ในกลุ่มเสียงเพียงออบน (ด ร ม x ซ ล x) มี “เสียงฟา” และ “เสียงที” เป็นเสียงจร และกลุ่มเสียงเพียงออล่าง (ซ ล ท x ร ม x) เป็นหลัก และมี “เสียงโด” เป็นเสียงจร เพลงตับเรื่องนิทราชาคริต มีสำเนียงเสียงแขก อยู่ในกลุ่มเสียงเพียงออล่าง (ซ ล ท x ร ม x) เป็นหลัก และมี “เสียงโด” เป็นเสียงจร เพลงตับเรื่องสามก๊ก มีสำเนียงจีน อยู่ในกลุ่มเสียงเพียงออบน (ด ร ม x ซ ล x) เป็นหลัก มี “เสียงฟา” และ “เสียงที” เป็นเสียงจร เพลงตับเรื่องขอมดำดิน มีสำเนียงเขมร อยู่ในกลุ่มเสียงชวา (ฟ ซ ล x ด ร x) เป็นหลัก และมี “เสียงมี” เป็นเสียงจร เพลงตับเรื่องพระลอ มีสำเนียงลาว อยู่ในกลุ่มเสียงเพียงออล่าง (ซ ล ท x ร ม x) เป็นหลัก ไม่มีเสียงจร เพลงตับเรื่องอุณรุท อยู่ในกลุ่มเสียงเพียงออล่าง (ซ ล ท x ร ม x) เป็นหลัก มี “เสียงฟา” และ “เสียงโด” เป็นเสียงจร เพลงตับเรื่องซินเดอเรลล่า บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้แข็ง อยู่ในกลุ่มเสียงใน (ซ ล ท x ร ม x) เป็นหลัก มี “เสียงโด” และ “เสียงฟา” เป็นเสียงจร ส่วนสำนวนทำนองหลักมีสำเนียงภาษามีทุกตับ แต่มีบางเพลงที่สำนวนทำนองหลักไม่ได้มีสำเนียงภาษา แต่สามารถนำทำนองหลักนั้นไปแปลทางบรรเลงให้มีสำเนียงภาษา ได้แก่ เพลงพม่าเห่ เพลงตะนาว เพลงมอญร้องไห้ เพลงแขกต่อยหม้อ เพลงครอบจักรวาล และเพลงเวสสุกรรม ในการศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการจัดการแสดงและการบรรเลงรวมวงเพลงตับเรื่องนางซินเดอเรลล่า จากโน้ตเพลงที่จดบันทึกเมื่อ พ.ศ. 2482 เพื่อให้กรณีศีกษาตาโบลวิวังต์ “เพลงตับเรื่องนางซินเดอเรลล่า” เสริมผลการศึกษาดังกล่าว ผู้วิจัยได้จัดรื้อฟื้นการแสดงตาโบลวิวังต์เพลงตับเรื่องนางซินเดอเรลล่า ซึ่งเป็นการแสดงเต็มรูปแบบ ในโรงละครแห่งชาติ และเพื่อนำเสนอทางสื่อออนไลน์ต่อไป จากการจัดการแสดงพบว่า รูปแบบในการแสดงตาโบลวิวังต์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 อย่าง ได้แก่ 1. การบรรเลง–ขับร้อง 2. ผู้แสดงแต่งกายตามเนื้อเรื่องและทำท่าตามบทขับร้อง พร้อมทั้งยืนดุจภาพนิ่ง 3. องค์ประกอบของการแสดง ผลการศึกษาพบว่า การแสดงตาโบลวิวังต์เพลงตับเรื่องนางซินเดอเรลล่า บรรเลงด้วยวง ปี่พาทย์ไม้แข็ง มีการตีบทตามคำร้อง และดนตรีบรรเลงรับในแต่ละท่อนเพียง 1 เที่ยว ความสัมพันธ์ของบทขับร้องกับการใช้ท่าตีบทรวม 16 ครั้ง มีฉากประกอบการแสดง จำนวน 2 ฉาก นอกจากนี้มีรถฟักทอง ผู้แสดงทั้งหมด 8 คน แต่งกายตามแบบตะวันตก ผู้บรรเลง – ขับร้อง แต่งกายย้อนยุคในสมัยรัชกาลที่ 5 ใช้การฉายไฟ เพื่อเปลี่ยนจุดการสนใจ การบรรเลงรวมวงด้วยวงปี่พาทย์ไม้แข็ง ตามโน้ตเพลงที่จดบันทึกเมื่อปี พ.ศ. 2482 มีจำนวน 6 เครื่องมือ ได้แก่ ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ระนาดทุ้มไม้ และระนาดทุ้มเหล็ก การวิเคราะห์ทำนองเพลงตามลักษณะการบรรเลงรวมวง พบว่า “ระนาดทุ้มเหล็ก” เป็นเครื่องดนตรีที่สร้างความโดดเด่นด้วยการแปลทำนองในลักษณะต่างๆ ได้แก่ กระสวนทำนองห่าง กระสวนทำนองถี่ การเดินทำนองแบบเรียงเสียง การดำเนินทำนองแบบประสานทำนอง ทั้งนี้ทำให้เกิดเสียงประสานเป็น “คู่เสียง” มีสำเนียงฝรั่งขึ้น นับว่าเป็นเพลงตับที่มีความสมบูรณ์ทั้งในด้านดนตรีและนาฏศิลป์
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/651
Appears in Collections:The Faculty of Fine and Applied Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56010660005.pdf23.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.