Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/652
Title: The Overlapping Dimension of Faith in Bhuddism
พื้นที่มิติทับซ้อนของความศรัทธาทางพระพุทธศาสนา
Authors: Pongpitsanu Te-wa
พงษ์พิษณุ  เทวา
Kanokwan  Nithirattapat
กนกวรรณ์ นิธิรัฐพัฒน์
Mahasarakham University. The Faculty of Fine and Applied Arts
Keywords: พื้นที่มิติทับซ้อน
ความศรัทธาทางพระพุทธศาสนา
The Overlapping Dimension
Faith in Bhuddism
Issue Date:  2
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This thesis on the creation of visual art works titled “The Overlapping Dimensions of Faith in Buddhism” was aimed at investigating the faith in Buddhism that holds the mind of the Thai people. Faith in Buddhism has been embedded into the mind through belief and faith in the form of idols, rituals, and traditions that have been passed on until now. In addition, this thesis was intended to create expressed through the symbolic shapes of Buddha images and flowers designed as symbols from the studied content. In this study, we used materials and methods of silk screens, transparent and opaque screening colors, and acrylic paints, which pass through the silk screens representing the overlapping dimensions of faith. Field data were collected from elements in traditional rituals, including Buddha images, flowers, and various patterns photographed as raw information for creation. In addition, other data were gathered from documents explaining the dimensions of belief as foundation of the Buddhist places of worship from the past to the present generating the joy, faith, and inspiration. After that, data analysis was conducted to find clarity of the subject. Symbolic shapes were then created by using visual elements of the points and lines, including vibration of colors that affects the eyes as well as weighing and alternation of color pairs, such as hot, cool, and opposite colors, resulting in a surface from the thickness of these overlapping colors. In this thesis, eleven visual art works were uniquely created in the form of using silk screens based on visual principles to meet the concept. In conclusion, we created the overlapping dimensions describing the belief and faith in Buddhism expressed through the shapes of idols by using the silk screens and the principle of color overlapping to generate color dimensions, weights, and tones. Vibration of colors shows a feeling of faith power that is consistent with the creator’s idea or intent. These creations led to new and unique discoveries.
วิทยานิพนธ์การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์เรื่อง พื้นที่มิติทับซ้อนของความศรัทธาทางพระพุทธศาสนา มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความศรัทธาในเรื่องของพระพุทธศาสนา อันเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนคนไทย ความศรัทธาในเรื่องของพระพุทธศาสนานั้น หยั่งรากลึกลงในจิตใจ ผ่านความเชื่อ ความศรัทธา ในรูปแบบของรูปเคารพ พิธีกรรม งานบุญประเพณี ที่สืบทอดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และเพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์ แสดงออกผ่านรูปทรงสัญลักษณ์ของพระ ดอกไม้ และรูปร่างที่ออกแบบเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์จากเนื้อหาที่ศึกษา โดยใช้วัสดุ และกลวิธีกระบวนการพิมพ์ช่องฉลุ เทคนิคภาพพิมพ์ตระแกรงไหม เลือกใช้สีสกรีนที่มีคุณสมบัติโปร่งแสงหรือทึบแสง รวมทั้งการใช้สีอะครีลิคมาใช้ร่วมกับสีสกรีน เนื้อสีที่ผ่านตะแกรงไหมแสดงถึงมิติทับซ้อน ของพลังศรัทธา มีวิธีการดำเนินการสร้างสรรค์โดยการรวบรวมข้อมูลภาคสนามจากสภาพแวดล้อมจากงานบุญประเพณี ได้แก่ พระพุทธรูป ดอกไม้ ลวดลายต่าง ๆ ถูกบันทึกด้วยการถ่ายภาพเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการสร้างสรรค์ ข้อมูลจากเอกสารเกี่ยวกับการอธิบายมิติทางความเชื่อที่เป็นรากฐานที่มาของศาสนสถานทางพุธศาสนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สร้างความปิติ ความศรัทธา เกิดเป็นความบันดาลใจ นำสู่การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความชัดเจนของแนวเรื่อง สร้างรูปทรงสัญลักษณ์ สร้างสรรค์โดยใช้ทัศนธาตุของ จุด เส้น และเลือกใช้ สีเลื่อมพราย ปฎิกิริยาการสั่นสะเทือนของสีที่มีผลต่อสายตา การแสดงน้ำหนักอ่อนแก่ของคู่สี เช่น สีร้อน สีเย็น สีคู่ตรงข้าม สลับสีที่มีค่าสีใกล้เคียงกัน เกิดพื้นผิวจากความหนาของสีที่ทับซ้อนกัน ด้วยวัสดุกลวิธีทางศิลปะภาพพิมพ์เทคนิคตระแกรงไหม และอาศัยหลักการทางทัศนศิลป์ เพื่อตอบสนองแนวความคิด เป็นผลงานที่มีลักษณะเฉพาะตน จำนวน 11 ชิ้น ผลการสร้างสรรค์ พบว่า การสร้างมิติทับซ้อนที่มีเรื่องราวความเชื่อความศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนา การแสดงออกผ่านรูปทรง รูปเคารพบูชา โดยใช้เทคนิคตระแกรงไหม อาศัยหลักการทับซ้อนของสี สร้างให้เกิดมิติของสี น้ำหนักของสี ความอ่อนแก่ ความเลื่อมพรายของสีแสดงถึง ความรู้สึกถึงพลังของความศรัทธาตรงตามแนวความคิดหรือเจตนาของผู้สร้างสรรค์ ผลจากการสร้างสรรค์ดังกล่าวก่อให้เกิดข้อค้นพบใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะตน
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ศป.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/652
Appears in Collections:The Faculty of Fine and Applied Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010650003.pdf6.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.