Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/657
Title: Forn Hang Nok  Yoong : Cultural Identity and Performing Art Invention in The End of Buddhist Lent Day through the Worship of Phra That Phanom
ฟ้อนหางนกยูง : อัตลักษณ์วัฒนธรรมและการประดิษฐ์สร้างศิลปะการแสดงในประเพณีออกพรรษาบูชาพระธาตุพนม
Authors: Supakorn Chalongpak
ศุภกร ฉลองภาค
Ourarom Chantamala
อุรารมย์ จันทมาลา
Mahasarakham University. The Faculty of Fine and Applied Arts
Keywords: ฟ้อนหางนกยูง
อัตลักษณ์วัฒนธรรม
การประดิษฐ์สร้าง
ประเพณีออกพรรษา
Forn Hang Nok Yoong
Cultural Identity
Invention
Buddhist Lent Day through
Issue Date:  10
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This study explored Forn Hang Nok Yoong, which is a dramatic dance for the Buddhist worship the god of Phra That Phanom in Nakhon Phanom province. The purpose of this study was to determine the cultural Identity, history and performing art invention of the Forn Hang Nok Yoong for a major Buddhist tradition at The End of Buddhist Lent Day, which is held at Phra That Phanom temple in That Phanom District, Nakhon Phanom province. Data collection instruments included: papers, observation and interview questionnaire forms completed by witnesses, performers and locals. The results of the study were presented by descriptive statistics. The findings revealed that Forn Hang Nok Yoong is a performing art with unique characteristics, including those of Isan Lan Xang combined with distinguished Thai royal plays. The dance styles, costumes and music have been incorporated with local wisdom from the past to the present day. The performing art invention initiative originated from humans imitating animal and swordplay dances, which made Forn Hang Nok Yoong more fascinating and remarkable than other forms of dance.   As has been said, performances originating from traditional beliefs are often auspicious. Similar to Forn Hang Nok Yoong, people believe that it will get rid of evil and bring goodness to their lives.
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาฟ้อนหางนกยูงซึ่งเป็นนาฏกรรมในพิธีกรรมฟ้อนบูชาพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม เพื่อแสดงถึงความเคารพบูชาของพุทธศาสนิกชนที่มีความศรัทธาเลื่อมใสต่อองค์พระธาตุพนม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาอัตลักษณ์วัฒนธรรมความเป็นมาและการประดิษฐ์สร้างศิลปะการแสดงชุดฟ้อนหางนกยูงในประเพณีออกพรรษา ณ วัดพระธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม โวยการศึกษาเอกสาร และเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม โดยการสำรวจ สังเกต และสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกต และ แบบสัมภาษณ์ จากกลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติ บุคคลทั่วไป แล้วนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ฟ้อนหางนกยูง เป็นการฟ้อนที่มีอัตลักษณ์ร่วมระหว่างความเป็นอีสานล้านช้าง และความเป็นราชสำนักแบบละครหลวงของไทยที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นของตัวเอง ในเรื่องท่าฟ้อน เครื่องแต่งกาย และดนตรีที่ใช้ในการบรรเลง มีวัฒนธรรมความเชื่อที่ปลูกฝังมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ฟ้อนหางนกยูงมีแนวคิดในการประดิษฐ์สร้างชุดการแสดงจากการเลียนแบบกิริยาอาการของสัตว์ประกอบกับท่ารำอาวุธในการป้องกันตัว กระบวนท่าฟ้อนหางนกยูงจึงมีความงามและโดดเด่นกว่าชุดการแสดงอื่น ๆ โดยสรุป การแสดงที่มาจากประเพณีและความเชื่อเป็นการแสดงที่ก่อให้เกิดสิริมงคลเช่นเดียวกับการฟ้อนหางนกยูงที่แฝงคติความเชื่อปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกจากตัวและนำแต่สิ่งดี ๆ เข้ามาในชีวิต
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/657
Appears in Collections:The Faculty of Fine and Applied Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010651002.pdf11.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.