Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/678
Title: Approaches in Developing the Potentiality of Temples to Buddhist Art Tour Destinations and Pilgrimage Route: A Case Study of Temples in the Area of Mahasarakham Province
แนวทางในการพัฒนาศักยภาพวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศิลป์ และเส้นทางแสวงบุญ : กรณีศึกษา วัดในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม
Authors: Prakrit Saengthiamchan
ประกฤษฏิ์ แสงเทียมจันทร์ (ธมฺมวํโส)
Prayote Songklin
ประโยชน์ ส่งกลิ่น
Mahasarakham University. The College of Politics and Governance
Keywords: วัด
การท่องเที่ยวเชิงพุทธศิลป์
เส้นทางแสวงบุญ
Temple
Buddhist Art Destinations
Pilgrimage Route
Issue Date:  14
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed to 1) search for temples in Mahasarakham province which had potential to be developed as  Buddhist art tour destinations and pilgrimage routes; 2) study guidelines for developing temples in  Mahasarakham province to be Buddhist art tour destinations and pilgrimage routes; and 3) present a map of Buddhist art tour destinations and pilgrimage routes in  Mahasarakham province. The research instruments were two interviewing forms. Interviewees were categorized into 3 groups, namely 1) 13 Ecclesiastical District officers form 13 districts of Mahasarakam provice; 2) 3 touring related government officials in Mahasarakam provice; and 3) 2 touring related people living in Mahasarakham provice. Data obtained from interviewing were categorized, analyzed, synthesized and presented descriptively. The results of the study were as follows: 1. The temples in Mahasarakham province which had the highest potential to be developed as  Buddhist art tour destinations could be arranged in descending order as follows: Buddha Wanaram Temple, Buddha Mangala Temple, and Ban Kaen Thao Dhamma Practice Center. The other nine temples with potential to be developed as  Buddhist art tour destinations and pilgrimage routes included KLang Kosum Temple,  Rerai Forest Temple, Buddha Pradit Temple, Dhamma Uttayan Forest Temple, Ku Suntraram Temple, Nong Lao Temple, Chai Mangala Temple, Nong Hu Ling Temple, and Klang Kudrang Temple. 2. The guidelines for developing temples in  Mahasarakham province to be Buddhist art tour destinations and pilgrimage routes were as follows: for the Temple area aspect, temples should have a prominent and interesting areas so that they could be symbolic places of Buddhism; for temple personnel aspect, the temple personnel should be educated, self-sacrificing, and responsible; for temple activity management aspect, there should always be new interesting activities; for temple public relation,  there should be constant responses to the tourist needs with the least expense, for temple touring management participation aspect, temples should provide opportunities for all people to see activities and services provided by the temples which brought about the transparency, acceptance, and faith.  3. The map of Buddhist art tour destinations and pilgrimage routes in  Mahasarakham province depicted 12 temples that had the potential to be developed as Buddhist art tour destinations and pilgrimage routes. These temples were Buddha Pradit Temple, KLang Kosum Temple, Klang Kudrang Temple, Dhamma Uttayan Forest Temple, Nong Lao Temple, Chai Mangala Temple, Ban Kaen Thao Dhamma Practice Center, Buddha Wanaram Temple, Buddha Mangala Temple, Ku Suntraram Temple, Rerai Forest Temple, and Nong Hu Ling Temple.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อค้นหาวัด ในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคามที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศิลป์ และเส้นทางแสวงบุญได้ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพวัดในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคามให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศิลป์และเส้นทางแสวงบุญ และ 3) เพื่อนำเสนอแผนที่เส้นทางแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศิลป์ และเส้นทางแสวงบุญของวัด ในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จำนวน 2 ชุด ผู้ให้สัมภาษณ์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) เจ้าคณะอำเภอ จำนวน 13 รูป จาก 13 อำเภอ ในเขตพื้นที่จังหวัดมาหาสารคาม 2) เจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ที่ปฏิบัติงานอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 3 คน และ 3) บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 2 คน ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้วิจัยนำมาจัดหมวดหมู่ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำเสนอในเชิงบรรยาย ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. ในการศึกษาเกี่ยวกับวัด ในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศิลป์ และเส้นทางแสวงบุญได้ ผลการศึกษาพบว่าวัดในจังหวัดมหาสารคาม ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวมากที่สุด ได้แก่ วัดพุทธวนาราม รองลงมาได้แก่ วัดพุทธมงคล และ ศูนย์ปฏิบัติธรรมบ้านแก่นท้าว ตามลำดับ นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบอีกว่า มีวัดในจังหวัดมหาสารคาม อีก 9 แห่ง ที่มีศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงพุทธศิลป์ และเส้นทางแสวงบุญ ได้แก่ วัดกลางโกสุม วัดป่าเรไร วัดพุทธประดิษฐ์ วัดป่าธรรมอุทยาน วัดกู่สุนทราราม วัดหนองเลา วัดชัยมงคล วัดหนองหูลิง และวัดกลางกุดรัง 2. ในการศึกษาเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาศักยภาพวัดในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคามให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศิลป์ และเส้นทางแสวงบุญ ผลการศึกษาพบว่า แนวทางในการพัฒนาศักยภาพวัดที่สำคัญ ด้านสถานที่ของวัด ได้แก่ สถานที่จะต้องมีความโดดเด่นและเป็นตัวแทนของพระพุทธศาสนาได้ ด้านบุคลากรของวัด ได้แก่ บุคลากรจะต้องฝึกอบรมพัฒนาความรู้ ความเสียสละ และมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย ด้านการจัดกิจกรรมภายในวัด ได้แก่ การจัดกิจกรรมจะต้องมีการเปลี่ยนโปรแกรมการจัดกิจกรรมใหม่อยู่เสมอเพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย ด้านการประชาสัมพันธ์ของวัด ได้แก่ การประชาสัมพันธ์จะต้องสามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวได้อย่างรวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุด และด้านการสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวในวัด ได้แก่ วัดควรเปิดโอกาสให้ทุก ๆ คนได้เข้ามาเห็นการบริการจัดการภายในวัด ซึ่งจะทำให้เกิดความโปร่งใสในการทำงาน และทำให้วัดนั้นเป็นที่ยอมรับและเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธา 3. ในการศึกษาเกี่ยวกับแผนที่เส้นทางแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศิลป์ และเส้นทางแสวงบุญของวัด ในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดมหาสารคามสามารถสร้างแผนที่เส้นทางแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศิลป์ และเส้นทางแสวงบุญ ซึ่งประกอบด้วยวัดจำนวน 12 วัด ได้แก่ วัดพุทธประดิษฐ์ วัดกลางโกสุม วัดกลางกุดรัง วัดป่าธรรมอุทยาน วัดหนองเลา วัดชัยมงคล ศูนย์ปฏิบัติธรรมบ้านแก่นท้าว วัดพุทธวนาราม วัดพุทธมงคล วัดกู่สุนทราราม วัดป่าเรไร และวัดหนองหูลิง
Description: Master of Public Administration (M.P.A.)
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/678
Appears in Collections:The College of Politics and Governance

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59011381008.pdf2.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.