Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/679
Title: Paradigms of Public Administration in Northeastern Thailand  Among Dynamics of Problems and Challenges in the Region
กระบวนทัศน์การบริหารจัดการภาคสาธารณะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ท่ามกลางพลวัตของปัญหาและประเด็นท้าทายในภูมิภาค
Authors: Suphakarn Sophaporn
ศุภกานต์ โสภาพร
Alongkorn Akkasaeng
อลงกรณ์ อรรคแสง
Mahasarakham University. The College of Politics and Governance
Keywords: กระบวนทัศน์
การบริหารจัดการภาคสาธารณะ
รัฐประศาสนศาสตร์
Paradigms
Public Administration
Issue Date:  3
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This study was aimed at investigating the paradigms pertaining to public sector management amidst the dynamic of problems and challenging issues in the Northeast Thailand. A descriptive survey with a mixed method approach and an in-depth interview were used to carry out this study. The findings indicate that knowledge status consists of four categories which include public policy category, theory and organizational behavior category, human resource management category and finance and budget category. Five paradigms include the positivist public administration paradigm, the post-positivist public administration paradigm, the constructivism/hermeneutics public administration paradigm, the neo-positivist public administration paradigm and the post-(neo-) positivism public administration paradigm. In a larger picture, the constructivism/hermeneutics paradigm is used as the major principle in education whereas sectionally theory and organizational behavior category, human resource management category and finance and budget category are also found to use such paradigms as the major principles. However, public policy category is found to use the post-positivist paradigm as the major principle. Moreover, all the paradigms are found to play an important role between B.C. 2547-2560 with continual changes as a result of being used, gradually being used and adaptation paradigm.
การวิจัยนี้มีวัตถุสงค์เพื่อศึกษากระบวนทัศน์การบริหารจัดการภาคสาธารณะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือท่ามกลางพลวัตของปัญหาและประเด็นท้าทายในภูมิภาค โดยอาศัยการสำรวจเชิงพรรณนาความ ด้วยวิธีวิจัยเชิงผสมผสาน และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การวิจัย พบว่า สถานภาพองค์ความรู้ จำแนกเป็น 4 หมวด ได้แก่ หมวดนโยบายสาธารณะ หมวดทฤษฎีและพฤติกรรมองค์การ หมวดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และหมวดการคลังและงบประมาณ ภายใต้ 5 กระบวนทัศน์ ได้แก่ กระบวนทัศน์การบริหารจัดการภาคสาธารณะแบบปฏิฐานนิยม กระบวนทัศน์การบริหารจัดการภาคสาธารณะแบบหลังปฏิฐานนิยม กระบวนทัศน์การบริหารจัดการภาคสาธารณะแบบสร้างหรือตีความความหมาย กระบวนทัศน์การบริหารจัดการภาคสาธารณะแบบปฏิฐานนิยมแนวใหม่ และกระบวนทัศน์การบริหารจัดการภาคสาธารณะแบบหลังปฏิฐานนิยมแนวใหม่ ทั้งนี้ ในภาพรวม กระบวนทัศน์สร้างหรือตีความความหมายถูกใช้เป็นหลักในการศึกษา ขณะเดียวกัน ในภาพย่อย หมวดทฤษฎีและพฤติกรรมองค์การ หมวดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และหมวดการคลังและงบประมาณก็ใช้กระบวนทัศน์ดังกล่าวเป็นหลักด้วยเช่นกัน ทว่าหมวดนโยบายสาธารณะกลับใช้กระบวนทัศน์หลังปฏิฐานนิยมเป็นหลัก อนึ่ง กระบวนทัศน์ทั้งหมดเกิดขึ้นภายใต้ห้วงของกระบวนทัศน์เดียว คือ พ.ศ. 2547-2560 โดยมีการเปลี่ยนแปลงตลอดห้วงดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการเกิดขึ้นใหม่อันเป็นผลจากการถูกหยิบมาใช้ การค่อยๆ ถูกใช้อย่างน้อยลงของกระบวนทัศน์ดั้งเดิม และการปรับตัวของกระบวนทัศน์
Description: Master of Public Administration (M.P.A.)
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/679
Appears in Collections:The College of Politics and Governance

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59011381009.pdf15.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.