Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/680
Title: The Problems of Human Resources Management Regarding the Change of  Local   Administrators:  The Study of Local Government Organizations in  Kalasin Province
สภาพปัญหาการบริหารงานบุคคลในกรณีเปลี่ยนแปลงคณะผู้บริหาร : ศึกษากรณีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกาฬสินธุ์
Authors: Ratchanee Wisateprasit
รัชนี วิเศษประสิทธิ์
Wanida Phromlah
วนิดา พรมหล้า
Mahasarakham University. The College of Politics and Governance
Keywords: การบริหารงานบุคคลท้องถิ่น
ผู้บริหารท้องถิ่น
จังหวัดกาฬสินธุ์
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
human resource management of local government
Local administrators
Kalasin Province
Local Government Organization
Issue Date:  29
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Local human resource management is directly affected by the policy change of local administrators. The author has studied human resource management problems regarding the change of local administrators in Kalasin Province. An objective of the study is to investigate problems and factors which related to the change of local administrators, the case study of local government organizations in Kalasin Province by. The research employed questionnaires to collect data from 151 human resource officers or assignees as well as conducting in – depth interview with 30 key informants. The statistics used for data analysis are mean, S.D., t-test, and F-test. The reseach has shown that change of local administrators highly leads to problems of human resources management in all aspects comprising of manpower planning, placement and recruitment, operational control, and human resources development. These problems have impacts on morale and performance of personnel, human resource management efficiency, and other impacts. The suggested solutions consist of enforcing a penalty seriously, setting criteria for local administrators to assign works based on position, and reviewing regulations to reduce the interference power in the human resource management process of local administrators. From the analysis of factors which related to change of local administrators, this study revealed that 1) personal factors of human resource officers or assignees are not related to human resource management problems in the case of change of local administrators, while 2) organization factors which consist of number of local administrators, schism in the organization, and leadership of local administrators are related to human resources management problems regarding the change of local administrators.              In conclusion, the change of local administrators leads to human resources management problems in local administrators. Therefore, the research suggests that the separation of local administrative authority from human resources management authority of local administrators would help reduce the monopoly of human resource administration of local administrators and also would help create power beam system in local human resource management. This eventually considerably help solve the problems of local human resource management.
การบริหารงานบุคคลท้องถิ่น ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่นระหว่างดำรงตำแหน่ง ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานบุคคลในกรณีเปลี่ยนแปลงคณะผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาการบริหารงานบุคคลในกรณีเปลี่ยนแปลงผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกาฬสินธุ์  โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักทรัพยากรบุคคลหรือผู้ได้รับมอบหมาย จำนวน 151 คน และสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาการบริหารงานบุคคลในกรณีเปลี่ยนแปลงคณะผู้บริหารโดยรวมและเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารท้องถิ่นนำไปสู่ประเด็นปัญหาด้านการบริหารงานบุคคลทั้งด้านการวางแผนอัตรากำลัง การบรรจุแต่งตั้ง การกำกับการปฏิบัติงาน และการพัฒนาบุคลากร ซึ่งมีผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจของบุคลากร ประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลและผลกระทบด้านอื่น ๆ โดยข้อเสนอแนะต่อการแก้ไขปัญหา ได้แก่ ควรนำบทลงโทษมาบังคับใช้อย่างจริงจัง กำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้บริหารท้องถิ่นมอบหมายงานภายใต้มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ทบทวนระเบียบหลักเกณฑ์เพื่อลดทอนอำนาจในแทรกแซงกระบวนการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารท้องถิ่น จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในกรณีเปลี่ยนแปลงคณะผู้บริหาร พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของนักทรัพยากรบุคคลหรือผู้ได้รับมอบหมายไม่มีความสัมพันธ์กับสภาพปัญหาการบริหารงานบุคคลในกรณีเปลี่ยนแปลงคณะผู้บริหาร ในขณะที่ปัจจัยองค์กร ได้แก่ จำนวนคณะผู้บริหารที่เคยร่วมงาน การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายในองค์กรและรูปแบบการนำของผู้บริหารมีความสัมพันธ์กับสภาพปัญหาการบริหารงานบุคคลในกรณีเปลี่ยนแปลงคณะผู้บริหาร โดยสรุป การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารท้องถิ่นนำไปสู่สภาพปัญหาการบริหารงานบุคคลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้นข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา ควรมีการแยกอำนาจการบังคับบัญชาข้าราชการหรือพนักงานท้องถิ่น ออกจากอำนาจหน้าที่การบริหารกิจการท้องถิ่นของผู้บริหารท้องถิ่น เพื่อลดการผูกขาดอำนาจในการบริหารงานบุคคลไว้ที่ผู้บริหารท้องถิ่น และสร้างระบบคานอำนาจในการบริหารงานบุคคลท้องถิ่นให้มีความสมดุลและแก้ปัญหาการบริหารงานบุคคลท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง
Description: Master of Political Science (M.Pol.Sc.)
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/680
Appears in Collections:The College of Politics and Governance

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60011380009.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.