Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/682
Title: The Effects of Health Education Programs on Promoting Oral Health Care to Prevent Dental Caries of Primary School Students in the District of Nong Phue  Amphoe Chaturaphukpiman, Roi-et  Province
ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากเพื่อป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในเขตตำบลหนองผือ  อำเภอจตุรพักตรพิมาน  จังหวัดร้อยเอ็ด
Authors: Chalerm Hongsud
เฉลิม หงษ์สุด
Buavaroon Srichaikul
บัววรุณ ศรีชัยกุล
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: โปรแกรมสุขศึกษา
การป้องกันโรคฟันผุ
นักเรียนประถมศึกษา
ความสามารถตนเอง
แรงสนับสนุนทางสังคม
Health education program
Prevention of dental caries
Self-ability Theory
Social support Theory
Primary school students
Issue Date:  9
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Oral health problems are found in all age groups, especially among school-age children in upper primary school who are able to experience real tooth decay. The main reason is having poor behavior in oral health care.  This study was quasi-experimental research. The objective is to study the effect of a health education program on oral health promotion to prevent dental caries of upper primary education school in Nong Phue Subdistrict, Chaturaphak Phiman District, Roi et province.  The research sample consisted of 70 students, divided into 2 groups, 35 students of experimental group and 35 students of comparison group.  The experimental group received a health education promoting program that applied self-efficacy and social support theory, example self-learning from the media, organizing group activities on demonstration and practice of brushing and flossing correctly, including to social support from class teachers, parents and researcher.  The research tools were health education program for dental caries prevention by applying self-efficacy theory with social support theory and questionnaire. Total 8 weeks.  Data analysis using percentage, mean, standard deviation, Paired t-test and Independent t-test set the statistical significance level 0.05. The research results that after implementing the developed programs. The experimental group changed knowledge, self-efficacy and conduct in the prevention of dental caries at a high level than the comparative group with statistically significant (p<0.05) and the plaque quantity results of the experimental group. There was a significant decrease in the number of plaque than before the experiment (p<0.05). In conclusion, the key success of using health education programs to prevent dental caries was the use of specific techniques with continued activities, empowering elementary school children to understand problems was empirical self-learning and constant to need for serious and attentive behavior modification awards and news continuous participation by teachers, students and parents, which should bring the program to applied in other primary schools.
ปัญหาด้านสุขภาพช่องปากพบได้ในทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กวัยเรียนช่วงชั้นประถมศึกษาตอนปลายสามารถที่จะพบปัญหาฟันผุแท้ผุได้ ซึ่งมีสาเหตุหลักคือการมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ดีเท่าที่ควรการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเพื่อป้องกันโรคฟันผุของชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ตำบลหนองผือ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยจํานวนนักเรียนทั้งหมด  70  คน  แบ่งกลุ่ม 2 กลุ่ม กลุ่มทดลองจํานวน  35 คน  และกลุ่มเปรียบเทียบจํานวน  35  คน กลุ่มทดลอง ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขศึกษาที่ประยุกตท์ฤษฎีความสามารถตนเองและทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อ การจัดกิจกรรมกลุ่ม การสาธิตและฝึกปฏิบัติการแปรงฟันร่วมกับใช้ไหมขัดฟันที่ถูกวิธี ร่วมด้วยแรงสนับสนุนทางสังคมจากครูประจำชั้น ผู้ปกครอง และผู้วิจัย. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันโรคฟันผุโดยการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคมและแบบสอบถาม จํานวนทั้งสิ้น  8  สัปดาห์. การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน  Paired  t-test  และ  Independent  t-test กําหนดระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังภายหลังดำเนินตามโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น กลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการปฏิบัติตัว ในการป้องกันโรคฟันผุอยู่ในระดับสูงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p<0.05) และผลปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ของกลุ่มทดลอง มีจำนวนผู้มีแผ่นคราบจุลินทรีย์ลดลงมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p<0.05) โดยสรุปความสำเร็จการใช้โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อป้องกันโรคฟันผุ คือ การใช้เทคนิควิธีการเฉพาะที่มีการกระทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง การสร้างพลังให้เด็กนักเรียนประถมศึกษาได้มีการเข้าใจปัญหา มีการเรียนรู้แบบประจักษ์ด้วยตัวเองและมีความต้องการที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างจริงจังและใส่ใจตลอดเวลา การให้รางวัลและข้อมลูข่าวสาร การมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องทั้งครู นักเรียน และผู้ปกครอง ซึ่งควรนําโปรแกรมดังกล่าวไป ประยุกต์ใช้ในโรงเรียนประถมศึกษาอื่นต่อไป
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/682
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60011480002.pdf4.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.