Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/683
Title: Participation in Solid Waste Management in the Community of the Administrative Organization, Tambon Nong Kham, At Samat District, Roi-Et Province
รูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอยในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด
Authors: Kannicha Sudcharee
กัญจน์ณิชา สุดชารี
Niruwan Turnbull
นิรุวรรณ เทิร์นโบล์
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: การจัดการมูลฝอย
องค์การบริหารส่วนตำบล
ขยะมูลฝอยชุมชน
Solid waste management
sub-district administration organization
community waste
Issue Date:  8
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this action research was to explore the situations and the problems of solid waste management in the community with applying the solid waste management model with the community participation in Nong Kham Sub-district Administration, Adsamat district, Roi Et provice. The research was divided into three phrases: 1) investigated the problems and the situations of the solid waste management of the community, 2) applied the action research for an area development model, and 3) evaluation the model development and critiques on factors of the successful. The participants  were stratified random sampling, which consisted of 233 household representatives including health leaders and authority of local organizations for 15 people. Data were analysed using frequency, percentage, average, standard deviation, Pearson’s correlation, and paired t-test. The research revealed that before the development of programme the level of waste management was moderate scores (56.2%) such as the reusing and recycling. The waste management processes consists of: 1) surveying the situation of management problems, 2) creating and developing the PAOR process. After programme implementation indicated that the participant income and attitudes towards of solid waste management were positively correlation with the behaviour of solid waste management (r=0.131 p-value =.023, r= 0.55 p-value <.01 respectively). It was also found that the household representatives had an average scores of knowledge, attitude, and behaviour greater participation than before development (p-value <.001). It is also show that the solid components separation from the original sources has decreased (55.71%) per day for a person. The participants were satisfied with the solid waste management programme with a high level (95.7%), however, the local authorities for roles formulating of public policy for solid waste management process was not different (p-value = 0.87). In conclusion, the key successes of the participatory solid waste management model was continuing and  enhancing the key local community for their knowledge, attitude toward of waste management activities. Therefore, there was a significantly confirm that we  should be arranging their roles and responsibilities with local authority in the community, furthermore it was very important  to engage their benefits along with value added activities in the community as well.  
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการมูลฝอยอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด การวิจัยแบ่งออกเป็น 1) การศึกษาสภาพปัญหา/บริบทและปัจจัยการจัดการมูลฝอยในชุมชน  2) กระบวนการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่ด้วยเทคนิคการวิจัยเชิงปฏิบัติการ และ 3) การประเมินผลลัพธ์และปัจจัยแห่งความสำเร็จ กลุ่มเป้าหมายเป็นตัวแทนครัวเรือน จำนวน 233 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบชั้นภูมิ แกนนำสุขภาพและบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจ  แบบสนทนากลุ่ม  แบบสังเกต แบบบันทึกและแบบประเมินความพึงพอใจ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และเปรียบเทียบการดำเนินการก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบด้วยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย paired t-test ผลการวิจัยพบว่า ก่อนดำเนินการในพื้นที่ พบว่ามีการจัดการเพื่อลดปริมาณมูลฝอยอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 56.2) อาทิ การนำมูลฝอยและวัสดุที่เคยใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ และการนำวัสดุที่ใช้แล้วมาดัดแปลงใช้ใหม่ จึงดำเนินการเพื่อจัดการมูลฝอยในพื้นที่ ซึ่งประกอบด้วย 1) การสำรวจและศึกษาสภาพปัญหา 2) ขั้นดำเนินการ และ 3) การประเมินผลและการเรียนรู้หลังปฏิบัติการ  พบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาครั้งนี้ ปัจจัยด้านรายได้และเจตคติต่อการจัดการมูลฝอยในชุมชนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยในชุมชน (r=0.131 p-value =.023, r= 0.55 p-value <.01 ตามลำดับ) หลังดำเนินการพัฒนา พบว่า ตัวแทนครัวเรือนมีค่าคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ เจตคติ พฤติกรรม และการมีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนดำเนินการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ (p-value <.001) แต่เมื่อวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการกำหนดนโยบายสาธารณะเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยในชุมชน ก่อนและหลังดำเนินการพัฒนาพบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.87)  และองค์ประกอบมูลฝอยที่คัดแยกจากต้นทาง พบว่า น้ำหนักมูลฝอยโดยรวมต่อคนต่อวันมีปริมาณลดลง (ร้อยละ 55.71) และประชาชนมีความพึงพอใจต่อการจัดการมูลฝอยในชุมชนโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 95.7) สรุปผลการศึกษาครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าแนวทางการสร้างมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอยในชุมชนควรส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ เจตคติ พฤติกรรมการจัดการมูลฝอยที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ควรชี้ให้เห็นว่าเป็นบทบาทหน้าที่ของทุกฝ่ายในชุมชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และการสร้างแรงจูงใจให้เห็นคุณค่าและผลประโยชน์ที่จะได้รับเพื่อสร้างความพึงพอใจต่อการจัดการมูลฝอยที่เป็นเชิงบวกและเป็นกิจกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/683
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60011480008.pdf8.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.