Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/686
Title: Development of Food Standard Surveillance Process in Store
การพัฒนากระบวนการเฝ้าระวังการจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐานในร้านชำ
Authors: Paritchaya Yodsatern
ปริชญา ยอดสะเทิ้น
Sumattana Glangkarn
สุมัทนา กลางคาร
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: การพัฒนากระบวนการ
การเฝ้าระวังการจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐาน
ร้านชำ
Development process
Food standard surveillance
Store
Issue Date:  26
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This action research aimed to study the development of food standard surveillance process in store. The samples consisted of two groups. The first group was 78 people of a stakeholder of food standard and second group was 139 consumers. Data was collected by focus group, observation, and interviews and was analyzed by descriptive statistics; percentage, mean, and standard derivation. The results of the study found that 45 restaurants were inspected in the premises and products. There were 27 stores (60.0%) not selling standard food. The items which under the standard were no expired date (80.0%), no food serial number (FDA) (46.7%) and no name and no address of manufacturers (44.4%). After the development, there were 13 substandard stores (28.9%). The common issues were no expired date (44.4%), no food serial number. And no address of manufacturers (17.78 %). It was found that the public had more knowledge than before the development statistically significant (p <0.01), the operations were higher than before the development (p <0.01). The distribution of substandard food in the shop was reduced (35.0%). As a result of this, the development of the process for monitoring the standard food distribution in the shop consisted of 5 elements the visiting and the evaluating team, knowledge improvement, public relations media, supporting participation from all sectors. and evaluation of food shops according to standards by the Consumer Protection Group.
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการพัฒนากระบวนการเฝ้าระวังการจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐานในร้านชำในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองนา ตำบลโนนขวาง อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มเป้าหมายมี 2 กลุ่ม คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการเฝ้าระวังการจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐาน 78 คน และประชาชนทั่วไป 139 คน เก็บข้อมูลโดย ใช้แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม การสังเกต และการสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า ร้านชำที่เข้ารับการประเมินการตรวจสถานที่และผลิตภัณฑ์ในร้านชำทั้งหมด 45 ร้าน พบการวางจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐานในร้านชำ 27 ร้าน (ร้อยละ 60.0) อาหารผิดมาตรฐานในร้านชำประเด็นที่พบมากสุด คือไม่มี วัน เดือน ปี ที่หมดอายุ (ร้อยละ 80.0) รองลงมาไม่มีเลขสารบบอาหาร (อย.) (ร้อยละ 46.7) และไม่มี ชื่อ ที่อยู่ ผู้ผลิต (ร้อยละ 44.4) หลังการพัฒนากระบวนการเฝ้าระวัง ผลการประเมิน พบว่า ร้านชำพบการวางจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐานในร้านชำ 13 ร้าน (ร้อยละ 28.9) อาหารผิดมาตรฐานในร้านชำประเด็นที่พบมากสุด คือ ไม่มี วัน เดือน ปี ที่หมดอายุ (ร้อยละ 44.4) รองลงมา ไม่มีเลขสารบบอาหารกับไม่มี ชื่อ ที่อยู่ ผู้ผลิต (ร้อยละ 17.78) และจากการพัฒนากระบวนการ พบว่า ประชาชนมีความรู้เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) มีการดำเนินงานเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) พบการวางจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐานในร้านชำ ลดลง (ร้อยละ 35.0) จากผลดังกล่าวเกิดแนวทางการพัฒนากระบวนการเฝ้าระวังการจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐานในร้านชำซึ่งประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ ทีมตรวจเยี่ยมและประเมินร้านชำ การเพิ่มความรู้เรื่องอาหารที่ได้มาตรฐาน การแจกสื่อประชาสัมพันธ์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค การสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน และการประเมินร้านชำจำหน่ายอาหารตามมาตรฐานโดยกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/686
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60011480016.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.