Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/690
Title: Model of pesticide reducing for sugarcane agriculture to reduce the impact on the health and environmental, Phetchabun province
รูปแบบการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม จังหวัดเพชรบูรณ์
Authors: Panitan Grasung
ปณิธาน  กระสังข์
Jurairat kurukodt
จุไรรัตน์ คุรุโคตร
Mahasarakham University. The Faculty of Environment and Resource Studies
Keywords: เกษตรกร
สิ่งแวดล้อม
สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
Famer
Environmental
Pesticide
Issue Date:  25
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Research and Development aims to Pesticide use patterns of sugarcane growers in order to reduce health and environmental impacts. The application of the Delphi Technique, The sample consisted of 341 students in Phase 1 study systematic random Sampling. Phase 2 the sample group developed the model, consisting of 17 people acquired at random easily. Phase 3 the sample group used in the experiment was 36 people randomly chosen by using Probability Sampling, Multi-Stage Random Sampling. The research instruments were interview form, knowledge test, questionnaires, analytical tools, choline esters in farmer blood. And soil sampling tools. The statistics used in data analysis are Frequencies, Percent, Mean, Standard Deviation and Paired Samples t - test. F-test (Two - way MANOVA)             The research found that before developing the pesticide usage model of sugarcane farmers to reduce their impact on health and the environment Most of the sugarcane farmers have unsafe levels of choline in the blood, amount 147 persons, representing 40.30 Percent. The amount of pesticide contaminated in the soil of sugarcane plots of the farmers was the most found Organophosphate Group 72.15 Mg/kg. There is a moderate level of knowledge about pesticides (mean= 6.63, S.D = 0.20). The attitude about the use of pesticides was at a high level (mean=4.05, S.D=0.78) and behavior to prevent oneself from using pesticides of farmers At the most correct level (mean=4.34, S.D = 0.63). The results of the development of pesticide use patterns of sugarcane growers in order to reduce the impact on health and the environment, apply the Delphi Technique to consist of 1) Group Process / Group Activity / Group Dynamic 2) Cooperative Learning 3) Constructivist. Assessing model quality at a high level (Mean = 4.14, S.D=0.35). After using the pesticide use model of sugarcane farmers to reduce their impact on health and the environment. Most sugarcane farmers have risk levels of Choline esters in the blood at the risk level of 18 people, representing 50% which is reduced and no chemical pesticide was found in the sugarcane plot of the farmers. Sugarcane growers have an average score of knowledge, attitude and behavior in protecting themselves from the use of pesticides higher than before the trial of the use of pesticide use patterns of sugarcane farmers in order to reduce the effects. For health and the environment Differences were statistically significant at the .01 level. And the age factor Differences in income, knowledge, attitude and practice in protecting oneself from pesticide use were not different.           Suggestion The model of pesticide use of sugarcane growers in order to reduce their impact on health and the environment by using a participatory workshop process of sugarcane growers. Sugarcane farmers have knowledge, good attitudes and can change behavior. Should be extended to cover all areas And being implemented as a continuous policy to reduce the use of pesticides resulting in decreased levels of choline esters in the blood Chemical contamination in the soil can be reduced to be sustainable.
การวิจัยและพัฒนานี้ (Research and Development) มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการรวบรวมความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ (Delphi Technique) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาระยะที่ 1 จำนวน 341 คน สุ่มอย่างเป็นระบบ (Systematic random Sampling) ระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่างพัฒนารูปแบบ จำนวน 17 คน ได้มาโดยสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ระยะที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองรูปแบบ จำนวน 36 คน ได้มาโดยใช้หลักทฤษฎีความน่าจะเป็น (Probability Sampling) สุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบความรู้ แบบสอบถาม เครื่องมือตรวจวิเคราะห์ระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดเกษตรกร และเครื่องมือเก็บตัวอย่างดิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequencies) ร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติ Paired Samples t – test, สถิติ F-test (Two - way MANOVA)           ผลการวิจัย พบว่า ก่อนพัฒนารูปแบบการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยส่วนใหญ่มีระดับโคลีนเอสเตอเรสในเลือดอยู่ในระดับไม่ปลอดภัย จำนวน 147 คน คิดเป็นร้อยละ 40.30 ปริมาณสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ปนเปื้อนในดินแปลงอ้อยของเกษตรกรพบมากที่สุดคือ Organophosphate Group 72.15 Mg/kg มีความรู้เกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับน้อย (mean=6.63, S.D = 0.20) เจตคติเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับมาก (mean=4.05, S.D=0.78) และพฤติกรรมการปฏิบัติเพื่อป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ในระดับปฏิบัติถูกต้องมากที่สุด (mean=4.34, S.D. = 0.63) รูปแบบการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมประยุกต์ใช้เทคนิคการรวบรวมความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ (Delphi Technique) ประกอบด้วย 1) กระบวนการกลุ่ม 2) การใช้การสรรสร้างความรู้  3) ใช้การร่วมแรงร่วมใจ ประเมินคุณภาพรูปแบบอยู่ในระดับมาก (mean= 4.14, S.D=0.35) หลังทดลองใช้รูปแบบการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยส่วนใหญ่มีระดับเอ็นไซด์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดอยู่ในระดับเสี่ยง จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 50 ซึ่งลดลง และไม่พบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชปนเปื้อนในแปลงดินปลูกอ้อยของเกษตรกร หลังทดลองใช้รูปแบบการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการปฏิบัติในการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสูงกว่าก่อนการทดลองใช้รูปแบบการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และปัจจัยด้านอายุ รายได้ที่แตกต่างกันมีความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการปฏิบัติในการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชไม่แตกต่างกัน            ข้อเสนอแนะ รูปแบบการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมโดยใช้กระบวนการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยมีความรู้ เจตคติที่ดี เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ ควรนำไปขยายต่อให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และนำไปเป็นนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจะลดการใช้สารสารเคมีกำจัดศัตรูพืชส่งผลให้ระดับเอ็นไซด์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดลดลง สารเคมีปนเปื้อนในดินลดลงเกิดความยั่งยืนได้  
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/690
Appears in Collections:The Faculty of Environment and Resource Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59011760009.pdf2.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.