Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/695
Title: The Preservation and Transmission of the Ancestral Ritual Traditions of the Thai-Chinese in Three Provinces in Northeast Thailand
การอนุรักษ์และการสืบทอดประเพณีพิธีกรรมเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษของชาวจีนสามจังหวัดภาคอีสาน
Authors: Chunju Huang
Chunju Huang
Somkhit  Suk-erb
สมคิด สุขเอิบ
Mahasarakham University. Faculty of Cultural Science
Keywords: การอนุรักษ์
การสืบทอด
ประเพณีพิธีกรรม
ไหว้ผีบรรพบุรุษ
Conservation
Inheritance
Ritualism
Ancestor Worship
Issue Date:  16
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this study on the preservation and transmission of the ancestral ritual offering traditions of the Thai-Chinese in the three provinces in Northeast Thailand are the following : 1) to study the belief systems and ancestral ritual offerings of the Thai-Chinese in Maha Sarakham, Roi Et and Kalasin provinces, and 2) to propose guidelines for the preservation and transmission of the ancestral rituals offering traditions of the Thai - Chinese in these three provinces. This research used the qualitative approach and was conducted in the above mentioned research area.           At the present, these important Chinese ceremonies of the Thai – Chinese, namely, the Chinese New Year, the Qingming festival and Chinese Ghost festival have not been celebrated as in the past and are currently undergoing changes.  The Thai-Chinese communities in these three provinces still place importance to these rituals but there have been significant changes and decline in the ritual procedures, its length and its scope due to the pressure from the economic situation today and the demands of their professional career.  The rituals are viewed as traditional by most of the Thai-Chinese. However, there has been some efforts to preserve these rituals for the new generation of Thai-Chinese in the three provinces in Northeast Thailand.              The results of this study show that the belief systems and ritual offerings to ancestors are still important and are practiced continuously -- the Chinese New Year, the Qing Ming rituals and the Chinese Ghost ritual festival. In particular, the family members of Thais of Chinese descent have strong beliefs and celebrate regularly these three rituals, especially the Chinese News Year. It is a day when all members of the family gather to perform the rituals together. This study highlights the seven elements in the performance of these rituals which are: 1) the person performing the rituals, 2) tools and equipment, 3) funds, 4) environment, 5) time for performing rituals, 6) method or procedure of rituals, and 7) prohibitions, rules, and regulations.           This study proposes the following guidelines for the preservation and transmission of the ancestral ritual offering traditions --- 1) practicing the correct rituals completely, 2) creating faith and showing gratitude for ancestors of the Thai-Chinese, 3) consult experts with the knowledge of the rituals and traditions, and introduce these to the Thai-Chinese, 4) engage organizations that can provide knowledge to the Thai-Chinese communities, and 5) publicizing and disseminating these rituals to the general public.
งานวิจัยเรื่อง การอนุรักษ์และการสืบทอดประเพณีพิธีกรรมเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษของชาวจีนสามจังหวัดภาคอีสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) เพื่อศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมไหว้ผีบรรพบุรุษของคนไทยเชื้อสายจีนในจังหวัด มหาสารคาม ร้อยเอ็ดและกาฬสินธุ์  2) เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์และการสืบทอดประเพณีพิธีกรรมไหว้ผีบรรพบุรุษของคนไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ดและกาฬสินธุ์ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้พื้นที่วิจัยจังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ดและกาฬสินธุ์  เป็นสถานที่เก็บข้อมูล คนไทยที่มีเชื้อสายจีน ทั้ง 3 จังหวัด ปัจจุบัน มีการลดขั้นตอนสำหรับการสืบทอดประเพณีพิธีกรรม ได้แก่  วันตรุษจีน วันเซ็งเม้ง วันสารทจีน เนื่องจากลูกหลานชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นจำนวนมากในจังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดกาฬสินธุ์ คนไทยเชื้อสายจีนในปัจจุบัน ยังคงมีความสนใจขนบธรรมเนียมจีนแบบเดิม แต่ได้ลดขั้นตอนและส่วนประกอบสำหรับการประกอบพิธีกรรมนั้นลดน้อยลงตามสภาวทางเศรษฐกิจ และการประกอบอาชีพที่มีความเร่งรีบต่อเวลา ดังนั้นจึงส่งผลให้คนไทยเชื้อจีนในปัจจุบันมองว่าวัฒนธรรมจีนเป็นเรื่องโบราณและไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนัก ทั้งนี้ก็เพื่อการคงอยู่ของประเพณีวัฒนธรรมสำหรับการประกอบพิธีกรรมของคนไทยเชื้อสายจีน ที่อยู่อาศัยทั้ง 3 จังหวัด ยังคงมีการอนุรักษ์วัฒนธรรมพิธีกรรมไว้คงเดิมเพื่อสร้างเสริมและปลูกฝังให้ลูกหลานได้อนุรักษ์ไว้สืบทอดต่อไป  ผลการวิจัย พบว่า ความเชื่อและพิธีกรรมที่เป็นการเซ่นไหว้รำลึกถึงบรรพบุรุษที่ยังคงให้ความสำคัญและถือปฏิบัติกันสืบต่อมา คือ 1) ความเชื่อและพิธีกรรมตรุษจีน 2) ความเชื่อและพิธีกรรมเช็งเม้ง3) ความเชื่อและพิธีกรรมสารทจีน ซึ่งสมาชิกในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีนมีความเชื่อและให้ความสำคัญกับทั้งสามพิธีกรรมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะวันตรุษจีนเป็นวันที่สมาชิกทุกคนในครอบครัวต้องมาประกอบพิธีกรรมพร้อมหน้าพร้อมตากัน  โดยมีโครงสร้าง 7 ชนิด การกระทำนั้นต้องประกอบไปด้วย 1) คน ผู้ทำผู้ร่วม 2) เครื่องมือและอุปกรณ์  3) ทุนทรัพย์ 4) สิ่งแวดล้อมและสถานที่ 5) เวลาประกอบพิธี 6)  วิธีการและขั้นตอนพิธีกรรม 7) ข้อห้าม กฎระเบียบ  จากผลที่ทำการสรุปได้สร้างแนวทางการอนุรักษ์และการสืบทอดประเพณีพิธีกรรมเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษของชาวจีนสามจังหวัดภาคอีสาน ได้แก่ 1) โดยการสืบทอดพิธีกรรมที่ถูกต้องครบถ้วนเหมือนครอบครัวชาวจีนดั้งเดิม  2) โดยการสร้างความเชื่อและปลูกฝังความกตัญญูต่อบรรพบุรุษให้กับชาวจีนยุคใหม่  3) โดยการให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ในเรื่องของประเพณีพิธีกรรมของคนจีนเข้ามามีส่วนร่วม แนะนำในกลุ่มของชาวจีนด้วยกันเองในสามจังหวัดพื้นที่วิจัย 4) โดยองค์กรที่เกี่ยวข้องให้ความรู้กับชาวจีนยุคปัจจุบันมีการสนับสนุนกิจกรรมประเพณีพิธีกรรม 5) โดยการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ พร้อมแนวทางการจัดกิจกรรมที่ถูกต้อง  
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/695
Appears in Collections:Faculty of Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57012150003.pdf4.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.