Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/780
Title: The Development in Scientific Problem-solving Ability by  Problem Based Learning with Akita action model of Mattayomsueksa 4 student
การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวคิด Akita action model ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4
Authors: Chalanda Saenubon
ชลันดา แสนอุบล
Sumalee Chookhampaeng
สุมาลี ชูกำแพง
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
แนวคิด Akita action model
Scientific problem solving ability
Problem based learning
Akita action model
Issue Date:  15
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The proposes of this study were 1) to study the problems and learning behaviors of student in grade 10th  ,and 2) to develop the Scientific Problem-solving Ability of student in grade 10th in order to pass the criteria of 70 percent of full score The purposive sampling consisted of 36 grade 10th student who were studying in the second semester, academic year 2018, at Sarakhampittayakhom school in Mahasarakham province. The research instruments were 1) 9 lesson plan of problem based Learning with Akita action model 2) student’s learning behavior observation forms 3) student’s learning experience recording forms 4)logbook of professional learning community ,and 5) scientific problem-solving ability test The research methodology is action research which consists of 3 Cycles. The first cycle using the lesson plans 1-3, the second one using the lesson plans 4-6, and the third one using the lesson plans 7-9. All instruments were employed at the end of each cycle respectively.  The data was analyzed by using mean, percentage, and standard deviation.The findings of this study were as follows: 1) Based on the study problems and learning behaviors of student in grade 10 by using a science problem-solving ability test and a biology teacher interview form. The result revealed that 36 students or 80 of all students had lower scores on scientific problem solving ability than the criterion of 70 percent and the mean score was 18.57 or 81.81 percent. 2. The Scientific Problem-solving Ability of grade 10th student after learning with problem based learning with Akita action model showed that the students’ scientific problem solving ability mean scores in the first, the second, and the third cycles were 63.50, 70.76, and 79.32 percent respectively. It obviously be seen that the students’ mean score passed the criteria in the second and third cycles.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 2) เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/12 โรงเรียนสารคามพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ที่มีปัญหาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวคิด Akita action model จำนวน 9 แผน 2) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน 3) แบบบันทึกอนุทินของนักเรียน 4) แบบบันทึกกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และ 5) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ รูปแบบการวิจัย คือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งประกอบด้วย 3 วงจรปฏิบัติการ ได้แก่ วงจรปฏิบัติการที่ 1 ใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1-3 วงจรปฏิบัติการที่ 2 ใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4-6 วงจรปฏิบัติการที่ 3 ใช้แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ 7-9 มีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นเชิงปริมาณ โดยใช้แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ในแต่ละวงจรปฏิบัติการ และข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน แบบบันทึกอนุทินของนักเรียน และแบบบันทึกกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการพรรณาวิเคราะห์ ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่า 1. จากการศึกษาสภาพปัญหาและพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 44 คน โดยใช้แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และแบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนรายวิชาชีววิทยา พบว่า นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ทั้งหมด 36 คน คิดเป็น 81.81 เปอร์เซ็นต์ของนักเรียนทั้งหมดเนื่องการจัดการเรียนการสอนชีววิทยาส่วนใหญ่เน้นการบรรยายเนื้อหา ยังไม่มีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ และฝึกคิดแก้ปัญหา เช่น การฝึกสังเกต ตั้งสมมติฐาน และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลว่าเป็นจริงหรือเท็จ 2. ผลจากการพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 พบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวคิด Akita action model มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ดังนี้  ในวงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละ 63.50 ในวงจรปฏิบัติการที่ 2 นักเรียนมีคะแนน เฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 70.76 และในวงจรปฏิบัติการที่ 3 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 79.32 ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ในวงจรปฏิบัติที่ 2 และ 3
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/780
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010556019.pdf2.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.