Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/785
Title: | Developing the Teamwork Capacity Efficiency Enhance Program for Teachers in Schools under the Secondary Educational Service Area Office 32 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 |
Authors: | Chalard Passasai ฉลาด ปัสสาสัย Surachet Noirid สุรเชต น้อยฤทธิ์ Mahasarakham University. The Faculty of Education |
Keywords: | การทำงานเป็นทีม สมรรถนะ โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะ Teamwork Efficiency Enhance Program Efficiency |
Issue Date: | 23 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This research aims to;1) to study about compositions and indicators in teamwork capacity for teachers in Primary Educational Service Area Office 32 2) to study about the present and the ideal condition of teamwork capacity for teachers in Primary Educational Service Area Office 32 3) to develop teamwork capacity efficiency program for teachers in Primary Educational Service Area Office 32 and this research is divided into 3 parts; 1) to study about compositions and indicators in teamwork capacity of teachers and evaluated by 7 experts. 2) To study about the present and the ideal condition of teamwork capacity for teachers in Primary Educational Service Area Office 32 by asking from 360 teacher samples in Primary Educational Service Area Office 32 in 2559 academic year. 3) To develop teamwork capacity efficiency programs development strategies in Primary Educational Service Area Office 32 by using in-depth interview from 7 experts. The equipment for data collections are interview, questionnaire and evaluation. The statistics for data evaluation are mean, percentage and standard deviation. The research results;
1. The compositions and indicators in teamwork capacity for teachers in Primary Educational Service Area Office 32 are divided into 5 parts and 24 indicators. The perspective of the evaluations from the experts are at ‘good’ and ‘the best’ level.
2. The perspective of the present condition of teamwork capacity for teachers in Primary Educational Service Area Office 32 are at ‘the moderate’ level and considered in each term from 3 descending order; teammate encouragement, participation and teammate support and leader or follower role-playing. The perspective of the desirable condition of teamwork capacity for teachers in Primary Educational Service Area Office 32 are at ‘the best’ level and considered in each term from 3 descending order; taking part with others in successful learning development, participation and teammate support and encouragement, leader or follower role-playing and social or situation variety adaptation.
The analysis result of teamwork capacity developing needs for teachers in Primary Educational Service Area Office 32 are ordered from descending order; taking part with others in successful learning development, self-adapting with others or any situations, leader or supporter role performance, participation or support and teammate encouragement.
3. To develop teamwork capacity efficiency programs development strategies in Primary Educational Service Area Office 32. And the in-depth interview evaluations of teamwork capacity development for teachers in Primary Educational Service Area Office 32 are composed of academic training, meeting, seminar and partner.
The perspective of teamwork capacity efficiency program for teachers in Primary Educational Service Area Office 32. The compositions of teamwork capacity efficiency program for teachers are principles, objectives, contents, developing activities, evaluation and the perspective of teamwork capacity efficiency program for teachers in Primary Educational Service Area Office 32 is at “the best” level. การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะการทำงานเป็นทีม ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะการทำงานเป็นทีม ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 3) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีม ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32ซึ่งการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครู แล้วประเมินความเหมาะสมโดย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะการทำงานเป็นทีม ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 โดยสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 360 คน และ 3) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีม ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และประเมินโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครู โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะการทำงานเป็นทีม ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 มีองค์ประกอบ 5 ด้าน และ 24 ตัวชี้วัด และผลการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด 2. สภาพปัจจุบันของสมรรถนะการทำงานเป็นทีม ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้ผล คือ ด้านการเสริมแรงให้กำลังใจเพื่อนร่วมงาน ด้านการให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือและสนับสนุนเพื่อนร่วมงาน ด้านการแสดงบทบาทผู้นำและผู้ตาม และสภาพที่พึงประสงค์สมรรถนะการทำงานเป็นทีม ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้ผลคือ ด้านการเข้าไปมีส่วนร่วมกับผู้อื่นในการพัฒนาการจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายด้านการให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือและสนับสนุนเพื่อนร่วมงานและด้านการเสริมแรงให้กำลังใจเพื่อนร่วมงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน และด้านการแสดงบทบาทผู้นำและผู้ตาม ด้านการปรับตัวเข้ากับกลุ่มคนหรือสถานการณ์ที่หลากหลายมี่ค่าเฉลี่ยเท่ากัน ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีม ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 32 เรียงลำดับจากความต้องการจำเป็นมากไปหาความต้องการจำเป็นน้อย คือ ด้านการเข้าไปมีส่วนร่วมกับผู้อื่นในการพัฒนาการจัดการศึกษาให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย ด้านการปรับตัวเข้ากับกลุ่มคนหรือสถานการณ์ที่หลากหลาย ด้านการแสดงบทบาทผู้นำหรือผู้ตาม ด้านการให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือและสนับสนุนเพื่อนร่วมงาน ด้านการเสริมแรงให้กำลังใจเพื่อนร่วมงาน ตามลำดับ 3. การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีม ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 โดยการสังเคราะห์และสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการสังเคราะห์ ผลการผลการสัมภาษณ์เชิงลึก (In–depth) วิธีการพัฒนาประกอบด้วย การอบรมเชิงปฏิบัติการ การประชุม สัมมนา การศึกษาด้วยตนเองพี่เลี้ยงสอนงาน ผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีม ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 องค์ประกอบของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีม ของครูประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการพัฒนา และการวัดและประเมินผล ได้ผลการประเมินโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีม ของครู ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก |
Description: | Master of Education (M.Ed.) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/785 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58010586008.pdf | 2.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.