Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/794
Title: A Development of System Mechanism and Quality Assurance criteria for Medical Laboratory in Primary Care Units
การพัฒนาระบบกลไกและเกณฑ์การประกันคุณภาพและมาตรฐานห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ
Authors: Wipada Chanmonthon
วิภาดา  จันทร์มณฑล
Songkramchai Leethongdee
สงครามชัย ลีทองดี
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: ระบบกลไก
เกณฑ์
การประกันคุณภาพ
ห้องปฏิบัติการ
หน่วยบริการปฐมภูมิ
System mechanism
Criteria
Quality Assurance
Laboratory
Primary Care Units
Issue Date:  7
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were  to development of system mechanism and quality assurance criteria for medical laboratory in primary care units (PCUs) in Roi Et province A mixed methods convergent design was employed, including a quantitative survey (N = 300) alongside qualitative in-depth interviews (N = 7), to elicit experiences and perceptions of problematic quality assurance of laboratory analysis in PCUs. Quality assurance committee of contracted unit of primary care (CUP) participated focus group discussion (N=13), experts from quality assurance committee were the auditors for this quality assurance system (N=20) and used to experiment with 7 pilot in PCUs. The system was then evaluated by 30 people involved to improve the system as a final step. Data analyzed employing both descriptive statistics and inferential statistics, such as Frequency, Average, Standard Deviation, Paired t – test, further investigated with confirmatory factor analysis and content analysis. The results revealed that the process for quality standards included: The quality assurance system is IQQS Model for PCUs was consisted of 4 main activities: 1) The Internal Quality Assurance in PCUs 2) Quality Assurance 3) Quality Assessment and 4) System Evaluation. The key mechanisms for driving quality assurance are Quality Assurance Committee and the Quality Inspection and Evaluation Committee of the PCUs. And the hypothesis form is consistent with empirical data Based on CMIN / df = 1.040, p-value = 0.373 GFI = 1.000 AGFI = 0.987 RMR = 0.002 RMSEA = 0.009 NFI = 0.999 IFI = 1.000 and CFI = 1.000. The Medical Laboratory Quality Standard and Key Performance Indicators (KPIs) for PCUs (Laboratory assurance in PCUs: LA – PCUs) for were divided into main component and subcomponent. Management component, The Medical Laboratory Quality Standard and Key Performance Indicators (KPIs) for PCUs for were divided into main component and subcomponent. Management component included 1) Organization 3 KPIs 2) Documents/Records 3 KPIs 3) Purchasing/Inventory 3 KPIs 4) Advisory services and Resolution of complaints 3 KPIs 5) Control of non-conformities 3 KPIs 6) Continual improvement 4 KPIs 7) Internal assessment 3 KPIs. Academic component included 8) Personnel 3 KPIs 9) Environment 3 KPIs 10) Materials and method 4 KPIs 11) Pre-analytical 5 KPIs 12) Analytical 3 KPIs 13) Quality Control 4 KPIs 14) Post-analytical 4 KPIs 15) Report4 KPIs 16) Safety 3 KPIs .A total of 55 KPIs. The staff’s the knowledge, skills, and practices of the sample group were improved after the statistical significance (p-value <0.05) In summary, discovering the appropriate quality assurance mechanisms and standards for use for practical purposes and is consistent with the development of laboratory quality in primary care units can be standardized and beneficial to the development of appropriate quality.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบกลไกและเกณฑ์การประกันคุณภาพและมาตรฐานห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ดำเนินการวิจัยผสมผสานแบบคู่ขนาน กลุ่มตัวอย่างบุคลากรทางด้านสาธารณสุข โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 300 คน สัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน สรุปสังเคราะห์เป็นร่างครั้งที่ 1 นำมาดำเนินการปรับปรุงโดยสนทนากลุ่มเฉพาะเจาะจง จำนวน 13 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็นระบบกลไกและเกณฑ์การประเมิน ฉบับร่างครั้งที่ 2 นำมาปรับปรุงนำเสนอผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการประกันคุณภาพ จำนวน 20 ท่าน ตรวจสอบความสัมพันธ์ของปัจจัยโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบยืนยัน จำนวน 550 คน นำไปทดลองใช้กับหน่วยบริการปฐมภูมินำร่อง 7 แห่ง จากนั้นดำเนินการประเมินระบบโดยผู้เกี่ยวข้อง 30 คนนำมาปรับปรุงระบบเป็นขั้นตอนสุดท้าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน เช่นความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ paired t – test การวิเคราะห์ปัจจัยยืนยัน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ระบบกลไกการประกันคุณภาพและมาตรฐานห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 กิจกรรมหลักได้ แก่ 1) การประกันคุณภาพภายใน 2) การประเมินคุณภาพ 3) การนิเทศงานประกันคุณภาพและ 4) การประเมินระบบประกันคุณภาพ ในการขับเคลื่อนการประกันคุณภาพคือคณะกรรมการประกันคุณภาพและคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ของหน่วยบริการปฐมภูมิ และรูปแบบเชิงสมมติฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่า CMIN/df เท่ากับ 1.040 ค่า p-value เท่ากับ 0.373 GFI เท่ากับ 1.000 AGFI เท่ากับ 0.987 RMR เท่ากับ 0.002 RMSEA เท่ากับ 0.009 NFI เท่ากับ 0.999 IFI เท่ากับ 1.000 และ CFI เท่ากับ 1.000 สำหรับเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพที่พัฒนาขึ้นมี 2 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านบริหาร 7 องค์ประกอบ คือ (1) องค์กรและการบริหาร จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ (2) การควบคุมเอกสาร จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ (3) วิธีการตรวจสอบห้องปฏิบัติการที่ส่งตรวจต่อ จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ (4) บริการที่ปรึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ (5) การควบคุมสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนด จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ (6) การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ และ (7) การตรวจติดตามคุณภาพภายใน จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ และ 2) ด้านวิชาการ 9 องค์ประกอบ คือ (1) บุคลากร จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ (2) สถานที่และสภาพแวดล้อม จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ (3) เครื่องมือและวัสดุวิทยาศาสตร์ จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ (4) กระบวนการก่อนการทดสอบ จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ (5) กระบวนการทดสอบ จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ (6) กระบวนการประกันคุณภาพ จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ (7) กระบวนการหลังการทดสอบ จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ (8) การรายงานผลการทดสอบ จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ และ (9) ความปลอดภัยทางห้องปฏิบัติการ จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ รวมทั้งสิ้นเป็น 55 ตัวบ่งชี้ ผลการประเมินระบบประกันคุณภาพที่พัฒนาขึ้น พบว่ามีผลทำให้ ความรู้ ทักษะ และการปฏิบัติของบุคลากรกลุ่มตัวอย่างเปลี่ยนแปลงดีขึ้นภายหลังการดำเนินงานอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) โดยสรุปได้ค้นพบระบบกลไกและเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้ เพื่อการปฏิบัติได้จริงและมีความสอดคล้องกับการพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการในหน่วยบริการปฐมภูมิ ได้อย่างมีมาตรฐานและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพที่เหมาะสม
Description: Doctor of Public Health (Dr.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/794
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59011460003.pdf3.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.