Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/797
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorTivapron Kombusadeeen
dc.contributorทิวาภรณ์   ค่อมบุสดีth
dc.contributor.advisorJurairat kurukodten
dc.contributor.advisorจุไรรัตน์ คุรุโคตรth
dc.contributor.otherMahasarakham University. The Faculty of Environment and Resource Studiesen
dc.date.accessioned2021-01-08T10:29:40Z-
dc.date.available2021-01-08T10:29:40Z-
dc.date.issued22/2/2019
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/797-
dc.descriptionDoctor of Philosophy (Ph.D.)en
dc.descriptionปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)th
dc.description.abstractThis research is aimed at to study Chemical hazard prevention use situation knowledge, attitudes and practical skills in using chemicals. Study the herbicides residues in soil in rubber plantations and blood test in the planters body in an responsible area of the Health Promotion Hospital Nonkheng sophisai Distric Bueng Kan Province. To develop the guidelines for the manual prevention of chemical hazards for  rubber planters in an responsible area of the Health Promotion Hospital Nonkheng sophisai Distric Bueng Kan Province.  Will had compare the knowledge, attitude and practice skill of chemical hazard prevention before and after the training. The tools used to collect data are: The questionnaire surveyed the use of chemicals in rubber plantations. Blood sampler Soil sampler and soil analysis tool Knowledge test on chemical protection in rubber plantations. Measurement of rubber plant protection attitude in rubber plantations. Measurement of chemical protection skills in rubber plantations. Rubber and rubber protection manual for rubber planters. Samples used in the rubber plantation were randomly selected for 250 subjects. Blood samples were collected for 250 subjects selected from the group used to store the situation using chemicals hazard. Samples were used for training on chemical hazards. Selected purposive sampling were 48 rubber planters. Data collected were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and statistic used in the hypothesis testing. Paired t-test The result showed that : Chemicals hazard use situation in rubber plantations showed that planters use the following chemicals. Glyphosate herbicides, urea fertilizer, insecticides furadan Plant Growth Regulator Citronella fungicide The leopard leavings were 78.8%, 42.4%, 30.8%, 26.8%, 24% and 21.6%, respectively. Knowledge chamical hazard use of planters moderate x̄ = 9.86 There is an attitude of uncertainty x̄ = 9.86 and some practical skills sometime x̄ = 3.46. Residual herbicides was found that the time of planting did not affect the amount of residue, as it depends on the rate of use of the farmers and the slope of the rubber plantation area. From blood test indicat was risk level of 38.4 percent of the total population. The manual prevention of chemical hazards for rubber planters have efficiency at 80.38 / 80.89 Effectiveness index (E.I.) at 0.674 Planters training by the manual on chemical hazard prevention have more knowledge, attitude and practice skills after training than before and the test is statistic was a significant difference at .05 level. In conclusion, the development of manual on chemical hazards Prevention in para plantation for planters in an responsible area of the Health Promotion Hospital Nonkheng sophisai Distric Bueng Kan. is effective for planters after using the manual, planters have knowledge, attitude and with increased chemical hazards safety skills. It should encourage the involvement of the stakeholders in the prevention of chemical hazards. .en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาสถานการณ์การใช้สารเคมี ความรู้ ทัศนคติ และทักษะการปฏิบัติในการใช้สารเคมี รวมทั้งทำการศึกษาสารเคมีกำจัดวัชพืชที่ตกค้างในดินในสวนยางพารา และในร่างกายของเกษตรกรที่ทำสวนยางพาราในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนเค็ง อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาคู่มือการป้องกันอันตรายจากสารเคมีสำหรับเกษตรกรที่ทำสวนยางพารา ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนเค็ง   โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์การใช้สารเคมีในสวนยางพารา ระยะที่ 2 ศึกษาหาสารกำจัดวัชพืชตกค้างในดินสวนยางพารา และหาสารเคมีตกค้างในร่างกายเกษตรกร ระยะที่ 3 ศึกษาการพัฒนาคู่มืออบรมและฝึกอบรม โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ ระยะที่ 1 แบบสอบถามสำรวจสถานการณ์การใช้สารเคมีในสวนยางพารา ระยะที่ 2 เครื่องมือเก็บตัวอย่างเลือด เครื่องมือเก็บตัวอย่างดิน และเครื่องมือวิเคราะห์ตัวอย่างดิน ระยะที่ 3 แบบทดสอบความรู้  แบบวัดทัศนคติ แบบวัดทักษะการปฏิบัติการป้องกันอันตรายจากสารเคมีในสวนยางพารา และคู่มือการป้องกันอันตรายจากสารเคมีในสวนยางพารา โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เก็บข้อมูลระยะที่ 1 คือเกษตรกรสวนยางพาราโดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่ายตามคุณสมบัติกำหนด จำนวน 250 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในร่างกาย จำนวน 250 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เก็บข้อมูลระยะที่ 3 คือ อาสาสมัครสาธารณสุขที่ประกอบอาชีพสวนยางพาราคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าแบบเจาะจงตามคุณสมบัติกำหนด จำนวน 48 คน วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานได้แก่ Paired t-test จากผลการวิจัยพบว่า ระยะที่ 1 สถานการณ์การใช้สารเคมีของเกษตร มีการใช้สารเคมีดังนี้ สารกำจัดวัชพืชไกลโฟเสท ปุ๋ยยูเรีย สารกำจัดแมลงฟูราดาน สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชโปรเทค สารกำจัดเชื้อราปูนแดง น้ำกรดซัลฟิวริกตราเสือดาว โดยคิดเป็น ร้อยละ 78.8 ,42.4 ,30.8 , 26.8 , 24.0 และ 21.6 ตามลำดับ ความรู้ในเรื่องการใช้สารเคมีของเกษตรกรสวนยางพาราอยู่ในระดับปานกลาง x̄ = 9.86  มีทัศนคติอยู่ในระดับไม่แน่ใจ x̄ = 9.86 และมีทักษะการปฏิบัติบางครั้ง x̄ = 3.46 3. ระยะที่ 2 การตรวจสารเคมีกำจัดวัชพืชที่ตกค้างในดินสวนยางพารา พบสารกำจัดวัชพืชโดยเรียงจากมากไปหาน้อยดังนี้ แปลงปลูกยางพาราอายุ 3 ปี, 1 ปี, 10 ปีแปลงที่ 3, แปลงที่ 1และแปลงที่ 2 จากผลการตกค้างของสารเคมีจะเห็นว่าระยะเวลาที่ปลูกไม่มีผลต่อจำนวนสารตกค้างทั้งนี้เนื่องจากขึ้นอยู่กับอัตราการใช้ของเกษตรกรและพื้นที่ความลาดชันของพื้นที่ที่ปลูกยางพารา ผลการตรวจเลือดของเกษตรกรที่ทำสวนยางพาราพบว่าระดับสารเคมีตกค้างในร่างกายเกษตรกรอยู่ในระดับเสี่ยงร้อยละ 38.4 ระยะที่ 3 คู่มือการป้องกันอันตรายจากสารเคมีสำหรับเกษตรกรในสวนยางพาราที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.38/80.89 มีดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.674 แสดงว่าหลังอบรมด้วยคู่มือเกษตรกรมีความก้าวหน้าในการเรียนร้อยละ 67.40 เกษตรกรอบรมด้วยคู่มือการป้องกันอันตรายจากสารเคมีในสวนยางพารา มีความรู้ ทัศนคติ และมีทักษะการปฏิบัติในการป้องกันอันตรายจากสารเคมีในสวนยางพาราหลังการอบรมมากกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสรุป การพัฒนาคู่มือการป้องกันอันตรายจากสารเคมีสำหรับเกษตรกรในสวนยางพาราในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนเค็ง อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ ที่พัฒนาขึ้นในครั้งนี้มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับเกษตรกร เนื่องจากหลังใช้คู่มือเกษตรกรมีความรู้ มีทัศนคติ และมีทักษะการปฏิบัติการป้องกันอันตรายจากสารเคมีเพิ่มมากขึ้น จึงควรส่งเสริมให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องนำคู่มือการป้องกันอันตรายจากสารเคมีไปใช้ในกระบวนการอบรมการป้องกันอันตรายจากสารเคมีต่อไปth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectคู่มือการป้องกันอันตรายจากสารเคมีth
dc.subjectความรู้ในการป้องกันอันตรายจากสารเคมีth
dc.subjectทัศนคติต่อการป้องกันอันตรายจากสารเคมีth
dc.subjectทักษะการปฏิบัติในการป้องกันอันตรายจากสารเคมีth
dc.subjectManual on Chemical Hazard Preventionen
dc.subjectKnowledge on Chemical Hazard Preventionen
dc.subjectAttitude on Chemical Hazard Preventionen
dc.subjectPractice skill on Chemical Hazard Preventionen
dc.subject.classificationEnvironmental Scienceen
dc.titleDevelopment of Manual on Chemical Hazards Prevention in Para Rubber Plantation for Planters in an Responsible Area of the Health Promotion Hospital, Non Kheng Sophisai District, Bueng Kan Provinceen
dc.titleการพัฒนาคู่มือการป้องกันอันตรายจากสารเคมีในสวนยางพาราสำหรับเกษตรกร ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนเค็ง อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:The Faculty of Environment and Resource Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58011760001.pdf8.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.