Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/798
Title: The Development of Anti-dengue Prevention Model Ussing the Environmental Education for the People in Kham Kaew Sup-District, Sophisai District, Bueng Kan Province
การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยใช้หลักการสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับประชาชนตำบลคำแก้ว อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ
Authors: Nungburud Kombusadee
หนึ่งบุรุษ  ค่อมบุสดี
Namtip Cumrae
น้ำทิพย์ คำแร่
Mahasarakham University. The Faculty of Environment and Resource Studies
Keywords: การพัฒนารูปแบบ
การป้องกัน
โรคไข้เลือดออก
สิ่งแวดล้อมศึกษา
Pattern Development
Prevention
Dengue
Environmental Education
Issue Date:  12
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research is aimed to study the basic information and prevention model of dengue hemorrhagic fever. The development of anti-dengue prevention model ussing environmental education principles and to test and compare knowledge, attitudes and participation in dengue prevention by using environmental education principles. The study was divided into 3 stages as follows: Phase 1: Basic information and prevention of dengue fever. The sample consisted of 341 people living in Kham Kaew Sup-District. Statistics used in the analysis are frequency, percentage, mean and standard deviation. The study of dengue prevention measures found that people had a dengue-free course of action, with the knowledge of dengue, that most people had an average knowledge of dengue hemorrhagic fever. Very high levels, dengue prevalence is in disagreement and participation in prevention of dengue fever. Overall, in the medium term, the two developed a model to prevent dengue fever. Review the relevant research and draft the Dengue Hemorrhagic Disease Prevention Form, sent to 5 experts for evaluation by Dengue Hemorrhagic Pattern Assay. The statistics used in the analysis were frequency, percentage, mean. The form of the data is to provide training to educate the disease prevention agent (Agent) who is responsible for disseminating information in the community and present. ) To educate How to prevent the disease. Attitude Modification participation With people (people) to deal with the environment Phase 3 The development of the dengue-resistant model was used to test the data. The data were collected from 32 dengue hemorrhagic fever patients The sample was distributed to 111 trainees. The tools used were brochures, illustrations, explanations (Power point), knowledge questionnaires. Attitude measurement and participatory measures. Statistics used in the analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and paired t-test. How to prevent dengue fever? Prior to training, trainees had a number of preventive measures at the operational level. And after training, at the level of practice often. Knowledge of disease prevention before training is very high. After the training, knowledge is at the highest level. Attitude toward pre-infection prevention was in disagreement. And after the training is at the level agreed. The level of participation in pre-training prevention was moderate. And after the training at a high level. There was a significant difference at the .05 level between the training and the role of information dissemination. Applying to the public, the dengue prevalence was first reported at some level of practice. And after the information is published on a regular basis. Knowledge about dengue hemorrhagic fever was first published. The latter has been published at the highest level. Attitude toward disease prevention was disseminated at the disagreement level. And after the information was published at the agreed level. The level of participation in pre-disease prevention was disseminated at a moderate level. And after the information was published at a high level. show that The data obtained were significantly higher after the data were disseminated than before the data were published at the .05 level. The prevention of dengue hemorrhagic fever can make people in Kham Kaew have knowledge, attitude and participation in preventing dengue.
การศึกษาวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและรูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออก เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยใช้หลักการสิ่งแวดล้อมศึกษาและเพื่อทดลองใช้และเปรียบเทียบความรู้ เจตคติ และการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยใช้หลักการสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยแบ่งการศึกษาวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและรูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออก กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลคำแก้ว จำนวน 341 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาวิธีการป้องกันโรคไข้เลือดออก พบว่า ประชาชนมีวิธีการปฏิบัติการป้องกันโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับที่ปฏิบัติเป็นบางครั้ง, ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้เฉลี่ยโดยรวมเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับมาก, เจตคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับไม่เห็นด้วยและการมีส่วนร่วมในป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง  ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและร่างรูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกส่งให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เพื่อประเมินด้วยแบบประเมินรูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า ได้รูปแบบซึ่งประกอบด้วย การนำข้อมูล  (Data) ที่ได้ไปจัดกิจกรรมการอบรม (Training) ให้ความรู้เพื่อเกิดการป้องกันโรค ให้กับ ตัวแทน (Agent) ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทในการเผยแพร่ข้อมูลในชุมชน แล้วนำเสนอ (Present) ให้เกิดความรู้ วิธีการป้องกันโรค การปรับเปลี่ยนเจตคติ การมีส่วนร่วม กับประชาชน(People)  เพื่อจัดการกับสิ่งแวดล้อม (Environment) ระยะที่ 3 การนำรูปแบบที่พัฒนาเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก ไปทดลองใช้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีบทบาทในการเผยแพร่ข้อมูลในชุมชนที่มีแนวโน้มผู้ป่วยไข้เลือดออกสูงขึ้นในรอบ 5 ปี จำนวน 32 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้ได้รับการเผยแพร่ข้อมูลจากผู้ที่ผ่านการอบรม จำนวน 111 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แผ่นพับ คู่มือ ภาพประกอบคำอธิบาย (Power point) แบบสอบถามความรู้ แบบวัดเจตคติและแบบวัดการมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และ Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า วิธีการป้องกันโรคไข้เลือดออก ก่อนการอบรมผู้เข้ารับการอบรมมีวิธีป้องกันโรคอยู่ในระดับการปฏิบัตินานๆครั้ง และหลังการอบรมอยู่ในระดับการปฏิบัติบ่อยครั้ง ด้านความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคก่อนการอบรมมีความรู้อยู่ในระดับมาก และหลังการอบรมมีความรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ระดับเจตคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคก่อนการอบรมอยู่ในระดับไม่เห็นด้วย และหลังการอบรมอยู่ในระดับเห็นด้วย ระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคก่อนการอบรมอยู่ในระดับปานกลาง และหลังการอบรมอยู่ในระดับมาก ผู้เข้ารับการอบรมมีค่าเฉลี่ยหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้มีบทบาทในการเผยแพร่ข้อมูล นำไปใช้กับประชาชน พบว่า วิธีการป้องกันโรคไข้เลือดออกก่อนได้รับการเผยแพร่ข้อมูลอยู่ในระดับการปฏิบัติบางครั้ง และหลังการได้รับการเผยแพร่ข้อมูลอยู่ในระดับปฏิบัติบ่อยครั้ง ด้านความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกก่อนได้รับการเผยแพร่ข้อมูลอยู่ในระดับมาก หลังได้รับการเผยแพร่ข้อมูลอยู่ในระดับมากที่สุด ระดับเจตคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคก่อนได้รับการเผยแพร่ข้อมูลอยู่ในระดับไม่เห็นด้วย และหลังได้รับการเผยแพร่ข้อมูลอยู่ในระดับเห็นด้วย ระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคก่อนได้รับการเผยแพร่ข้อมูลอยู่ในระดับปานกลาง และหลังได้รับการเผยแพร่ข้อมูลอยู่ในระดับมาก แสดงให้เห็นว่า ผู้ได้รับการเผยแพร่ข้อมูลมีค่าเฉลี่ยหลังได้รับการเผยแพร่ข้อมูลสูงกว่าก่อนได้รับการเผยแพร่ข้อมูลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่า รูปแบบการป้องกันดรคไข้เลือดออกสามารถทำให้ประชาชนตำบลคำแก้ว มีความรู้ เจตคติ และมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกได้
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/798
Appears in Collections:The Faculty of Environment and Resource Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58011760007.pdf7.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.