Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/839
Title: Development Programs to Smart Teacher in Primary School under the Department of Local Administration
การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูสมรรถนะสูง ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Authors: Soraya Thongtamma
สรญา ทองธรรมมา
Pacharawit Chansirisira
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาโปรแกรม
ครูสมรรถนะสูง
Program Development
Smart Teacher
Issue Date:  6
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed to study components and indicators of teacher competency in elementary schools. To develop teacher empowerment programs in primary schools and to study results of using teacher enhancement programs in primary schools. Under the research and development of the local government organization is divided into 3 phases, Phase I Study, Composition and Indicators of Teacher Enhancement in Primary Schools Under the local government organization Data were collected from a sample of 375 people from a population of 13,020. The data were obtained to examine the composition and indicators of teacher competency development. Using a confirmation analysis method (Confirmatory Factor Analysis: CFA) , Phase 2 Development of Teacher Empowerment Program in Primary Schools Under the supervision of a local government organization by interviewing seven unstructured experts about drafting the program and assessing the feasibility of the program as a confirmation of suitability. Benefits and Benefits of Teacher Enhancement Programs, Phase 3 Implementation of teacher enhancement programs The samples were teachers at the elementary level. Under the local government organization 16 people voluntarily participated in the development. The tools used for data collection were observation questionnaires, assessments, unstructured interviews, and statistical measurements used for data analysis, namely percentage, mean and standard deviation. The results of the research were as follows: 1. Composition and indicators of teacher competency At the elementary level The local government organization consists of 4 main components, 15 indicators. 2. Programs to enhance teacher competency in primary schools Under the local government organization Contains the principles and goals of the program Program aim Program content Development activities And the evaluation of the program is divided into 4 phases, These include Phase 1) Preparation, Phase 2) Intensive Development Training Phase 3) Operational Learning and Learning Exchange, and Phase 4) Evaluation of 180 hours of program implementation. Assessment results, The possibilities and usefulness were found. Are suitable at the highest level in all aspects. 3. Results of the Implementation of Teacher Enhancement Programs in Primary Schools Under the local government organization To be used with the sample group, namely teachers, municipal school, amusement park Office of Education Khon Kaen Municipality Those who voluntarily join in the development of 16 people (8 groups of substance, 2 people each) who voluntarily join in the development, found that the program participants had higher competencies according to the development framework The satisfaction level was at the highest level in all aspects.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของครูสมรรถนะสูงในโรงเรียนประถมศึกษา เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างครูสมรรถนะสูงในโรงเรียนประถมศึกษาและเพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมเสริมสร้างครูสมรรถนะสูงในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบการวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การเสริมสร้างครูสมรรถนะสูงในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  โดยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 375 คน จากจำนวนประชากร 13,020 คน นำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การพัฒนาครูสมรรถนะสูง  โดยใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างครูสมรรถนะสูงในโรงเรียนประถมศึกษา  สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิแบบไม่มีโครงสร้าง จำนวน 7 คน เกี่ยวกับการยกร่างโปรแกรมและประเมินความเป็นไปได้ของโปรแกรมเป็นการประเมินยืนยันความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์และความเป็นประโยชน์ของโปรแกรมเสริมสร้างครูสมรรถนะสูง ระยะที่ 3 การนำโปรแกรมเสริมสร้างครูสมรรถนะสูงไปใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูในระดับประถมศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่สมัครใจเข้าร่วมการพัฒนาจำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกต แบบสอบถาม แบบประเมิน แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และแบบวัด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ครูสมรรถนะสูง ในระดับประถมศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 15 ตัวบ่งชี้ 2. โปรแกรมเสริมสร้างครูสมรรถนะสูงในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย หลักการและเป้าหมายของโปรแกรม จุดมุ่งหมายของโปรแกรม เนื้อหาของโปรแกรม กิจกรรมการพัฒนา และการประเมินผลโปรแกรม แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1) การเตรียมความพร้อม ระยะที่ 2) การอบรมพัฒนาอย่างเข้ม ระยะที่ 3) การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ ระยะที่ 4) การประเมินผล ระยะเวลาในการดำเนินโปรแกรม 180 ชั่วโมง ผลการประเมินด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้และด้านความเป็นประโยชน์พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 3. ผลการนำโปรแกรมเสริมสร้างครูสมรรถนะสูงในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง คือ คณะครูโรงเรียนเทศบาลสวนสนุก สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น ที่สมัครใจเข้าร่วมพัฒนา จำนวน 16 คน (8 กลุ่มสาระ กลุ่มสาระละ 2 คน) ที่สมัครใจเข้าร่วมพัฒนา พบว่า ผู้เข้าร่วมโปรแกรมมีสมรรถนะตามกรอบการพัฒนาที่สูงขึ้น ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/839
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010562008.pdf20.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.