Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/851
Title: The Development of Executive Functions Assessment : Self-Regulation Skill of Middle School Students in Opportunity Expansion School
การพัฒนาแบบวัดทักษะการคิดเชิงบริหาร กลุ่มทักษะกำกับตนเอง ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส
Authors: Kwankao Tatiyarat
ขวัญข้าว ตะติยรัตน์
Tatsirin Sawangboon
ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: ทักษะการคิดเชิงบริหาร
ทักษะกำกับตนเอง
Executive Functions
Self-Regulation
Issue Date:  4
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this research were 1) to construct and validate the Executive Functions Assessment : Self-Regulation Skill of Middle School Students in Opportunity Expansion School; 2) to construction manual of the Executive Functions Assessment : Self-Regulation Skill of Middle School Students in Opportunity Expansion School. The sample for the test validation and norm construction consisted of 524 in 10 schools of junior high school in opportunity expansion school under Kalasin Primary Educational Service Area Office 3, academic year 2020. The sample were selected by Stratified Random sampling and Cluster Random Sampling. The instrument used for study was a text version of the 5-level scale with 45 items. Four try-outs were administered to determine the quality of the instrument. The first employed in suitability of the question by 79 samples. The second employed in item analysis by 86 samples with the search for the power value of the item in each aspect (t-values). The third employed in reliability by 52 samples. The fourth employed in determining a structural validity by Confirmatory Factor Analysis; reliability by 307 samples. The finding were as follows: 1. The Executive Functions Assessment: Self-Regulation Skill of Middle School Students in Opportunity Expansion School consisted of the components of Executive Functions: Self-Regulation Skill into 3 components and 10 indicators. The was Focus and Attention include 1) attentively 2) continually concentrate 3) Stay alert; The was Emotional Control include 1) Manage your emotions properly 2) Emotional stability 3) Not using emotions to solve problems 4) appropriate expression; The  was Self-Monitoring include 1) recall 2) reflective behavior 3) improvement ; The measuring form of Executive Functions Assessment: Self-Regulation Skill that had item discriminating powers ranging (values of t) from 2.586 to 10.006. The reliability value was 0.954. The structural validity by Confirmatory Factor Analysis ; Chi-Square was 36.255 with 27 degree of freedom; p-value was 0.1098 ; RMSEA was 0.333 ; SRMR was 0.024 ; TLI was 0.991 and CFI was 0.995. 2. The manual for The Executive Functions Assessment: Self-Regulation Skill of Middle School Students in Opportunity Expansion School was suitable and total average score from experts was 4.25.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดทักษะการคิดเชิงบริหาร กลุ่มทักษะกำกับตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส 2) เพื่อจัดทำคู่มือการใช้แบบวัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 524 คน จากโรงเรียน 10 โรง ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) และการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดทักษะการคิดเชิงบริหาร กลุ่มทักษะกำกับตนเอง 1 ฉบับ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 45 ข้อ ทำการทดสอบ 4 ครั้ง เพื่อหาคุณภาพเครื่องมือวัด โดยครั้งที่ 1 ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 79 คน เพื่อหาความเหมาะสมของข้อคำถาม ครั้งที่ 2 ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 86 คน เพื่อหาอำนาจจำแนกรายข้อ ครั้งที่ 3 ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 52 คน เพื่อหาความเชื่อมั่นของแบบวัดทั้งฉบับ และครั้งที่ 4 ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 307 คน เพื่อหาความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. แบบวัดทักษะการคิดเชิงบริหาร กลุ่มทักษะกำกับตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 10 ตัวบ่งชี้ คือ องค์ประกอบที่ 1 การจดจ่อใส่ใจ (Focus/Attention) ประกอบด้วย 1) มุ่งใจจดจ่อ 2) มีสมาธิต่อเนื่อง และ 3) จดจ่ออย่างตื่นตัว องค์ประกอบที่ 2 การควบคุมอารมณ์ (Emotional Control) ประกอบไปด้วย 1) จัดการกับอารมณ์ได้เหมาะสม 2) มั่นคงทางอารมณ์ 3) ไม่ใช้อารมณ์แก้ปัญหา และ 4) แสดงออกอย่างเหมาะสม องค์ประกอบที่ 3 การติดตามประเมินตนเอง (Self-Monitoring) ประกอบไปด้วย 1) ทบทวนสิ่งที่ทำไป 2) สะท้อนผลจากการกระทำของตนเอง และ 3) แก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น แบบวัดที่สร้างขึ้นมีคุณภาพดังนี้ คือ แบบวัดมีอำนาจจำแนกรายข้อ โดยมีค่า t ตั้งแต่ 2.586 ถึง 10.006 ความเชื่อมั่นของแบบวัดทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.954 ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โครงสร้างของแบบวัดมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่าไคสแควร์ที่ df เท่ากับ 27 มีค่าเท่ากับ 36.255 ค่า p-value มีค่าเท่ากับ 0.1098 ค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (Root Mean Square Error Of Approximation : RMSEA) มีค่าเท่ากับ 0.033 ค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนที่เหลือของการประมาณค่า (Root Mean Square Error of Approximation : SRMR) มีค่าเท่ากับ 0.024 ค่าดัชนี Tucker-Lewis (Tucker-Lewis Index : TLI) มีค่าเท่ากับ 0.991 และค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (Comparative Fit Index : CFI) มีค่าเท่ากับ 0.995 2. การจัดทำคู่มือการใช้แบบวัดทักษะการคิดเชิงบริหาร กลุ่มทักษะกำกับตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส พบว่าคู่มือการใช้แบบวัดมีความเหมาะสม ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ยผลประเมินเท่ากับ 4.25
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/851
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010584002.pdf3.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.