Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/853
Title: The Development of Educational Quality Assurance System of Faculty of Education Ubon Ratchathani Rajabhat University
การพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
Authors: Aunchalee Potavee
อัญชลี โพทวี
Montree Wongsaphan
มนตรี วงษ์สะพาน
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร
การพัฒนาระบบ
Quality Assurance
System Development
Quality Evaluation
Issue Date:  29
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of the research on the development of educational quality assurance system of Faculty of Education, Ubon Ratchathani Rajabhat University were to 1) study the procedures of educational quality assurance system of all programs offered at Faculty of Education, Ubon Ratchathani Rajabhat University, 2) develop systematic and mechanical educational quality assurance for Faculty of Education, and 3) evaluate the quality according to the system developed of the educational quality assurance system of the Faculty of Education at Ubon Ratchathani Rajabhat University.           Results of the research were as follows:           1) Faculty of Education, Ubon Ratchathani Rajabhat University proceeded the educational quality assurance in the curriculum level for 6 components, including  1.Standard monitoring, 2.Graduates, 3.Undergraduates, 4.Faculties, 5.Teaching Curriculum Evaluation, and 6. Learning Material Support. The guidelines in proceeding the educational quality assurance of Faculty of Education were managed in 2 aspects, including 1. Indicators inspection and 2. Written report on the educational quality assurance results of each curriculum level.           2) Results of the evaluation of the educational quality assurance of Faculty of Education indicated as following:                    2.1) The president of bachelor program committees expressed after the implementation of the system on the appropriateness of the manual used at the highest level of all 9 aspects with the average of 4.73.                    2.2) Results on the possibility of the system implementation found at the highest level of all 6 aspects with the average of 4.78.                    2.3) Results on the cost-effectiveness and usefulness of the quality assurance system implementation found at high level with the average of 4.42. One of the highest level aspects was to increase the understanding of the educational quality assurance system.           3) The overall results on the educational quality assurance system of Faculty of Education, Ubon Ratchathani Rajabhat University evaluated between 2014-2015 found at low level with the average of 2.28. The indicator 1.1 did not meet the criteria standard resulted the 2 and 6 components were zero. However, the evaluation between 2016-2017 was improved at good level with the average of 3.58 and one of eight programs was at very good level with the average of 4.06.
    การวิจัย เรื่อง การพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน หลักสูตร  ครุศาสตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี  มีความมุ่งหมายการวิจัย ดังนี้  1. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตรคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2. เพื่อพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี    และ3. เพื่อประเมินคุณภาพการศึกษาตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา  หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ผลการวิจัย พบว่า 1) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร จำนวน 6 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตรการเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน และองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้  มีการดำเนินงาน 2 ลักษณะคือการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้เชิงคุณภาพและตัวบ่งชี้เชิงปริมาณ แนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มี 2 แนวทาง คือ1. แนวทางการดำเนินงานในแต่ละตัวบ่งชี้ และ 2. แนวทางการเขียนรายงานผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร 2) ผลการประเมินการใช้ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษากับหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านปรากฏผล ดังนี้ 2.1) ความคิดเห็นของประธานกรรมการบริหารหลักสูตรที่ได้ทดลองใช้คู่มือ ต่อคุณภาพของคู่มือระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร (ปริญญาตรี) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ด้านความเหมาะสมของคู่มือทั้งในภาพรวมและในรายประเด็นย่อยทั้ง 9 ประเด็น อยู่ในระดับมากที่สุด โดยค่าเฉลี่ยความเหมาะสมในภาพรวมเท่ากับ 4.73 2.2) ความคิดเห็นของประธานกรรมการบริหารหลักสูตรที่ได้ทดลองใช้คู่มือ ต่อคุณภาพของคู่มือระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร (ปริญญาตรี) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ด้านความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ประโยชน์ในงานประกันคุณภาพระดับหลักสูตร โดยภาพรวมและในรายประเด็นย่อยทั้ง 6 ประเด็น อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมในภาพรวมเท่ากับ 4.78 2.3) ความคิดเห็นของประธานกรรมการบริหารหลักสูตรที่ได้ทดลองใช้คู่มือ ต่อคุณภาพของคู่มือระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ปริญญาตรี) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ด้านความคุ้มค่าและความเป็นประโยชน์ของคู่มือในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42) ส่วนในรายประเด็นย่อย มี 1ประเด็น ได้แก่ การช่วยเพิ่มความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพระดับหลักสูตร อยู่ในระดับมากที่สุด  ส่วนประเด็นอื่น ๆ ที่เหลืออยู่ในระดับมาก 3) ผลการประเมินคุณภาพการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร คณะครุศาสตร์  ตามระบบและกลไกการประกันคุณคุณภาพการศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี พบว่า  2559-2561 มีจำนวน 8 หลักสูตร อยู่ในระดับดี มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.58 และระดับดีมาก 1 หลักสูตร มีค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.06    
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/853
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010585004.pdf3.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.