Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/858
Title: Characteristics of Teacher Leader Enhancement Program for Learning Management in Digital Age to Develop Education Quality Under the Secondary Education Service Area 20
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างคุณลักษณะครูผู้นำในการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัล เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20
Authors: Veeriya Phuthaworn
วีริยา ภูถาวร
Sutham Thamatasenahant
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาโปรแกรม
คุณลักษณะครูผู้นำ
ครูยุคดิจิทัล
Program Development
Characteristics of Teacher Leader
Teacher in Digital Age
Issue Date:  18
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The research aimed to 1) study current and desirable conditions of characteristics of teacher leader enhancement for learning management in digital age to develop education quality under the Secondary Education Service Area 20 and 2) develop characteristics of teacher leader enhancement program for learning management in digital age to develop education quality under the Secondary Education Service Area 20. The research was conducted in mixed methods divided into 2 phases. The 1st phase was to study the current and desirable conditions and needs for characteristics of teacher leader enhancement program for learning management in digital age to develop education quality. The sample consisted of 346 teachers under the Secondary Education Service Area 20 selected by satisfied random sampling technique. The research instrument was questionnaire. The 2nd phase was to develop characteristics of teacher leader enhancement program for learning management in digital age to develop education quality under the Secondary Education Service Area 20. The target group was 6 teachers from school with best practices and 7 educational experts using purposive sampling method and research instruments were semi-structured interview and appropriateness and feasibility assessment of the program. The percentage, mean and standard deviation were employed to analyze data. The findings of this research were as follows: 1. The overall of current condition of characteristics of teacher leader enhancement for learning management in digital age to develop education quality under the Secondary Education Service Area 20 was at high level and the desirable condition of characteristics of teacher leader enhancement for learning management in digital age to develop education quality under the Secondary Education Service Area 20 was at excellent level. 2. Needs for characteristics of teacher leader enhancement for learning management in digital age to develop education quality under the Secondary Education Service Area 20 revealed that PNIModified (Modified Priority Needs Index) of needs by ranking from maximum to minimum following 1) characteristics of digital literacy 2) characteristics of learning management in digital age and 3) characteristics of communication in digital age. 3. The characteristics of teacher leader enhancement program for learning management in digital age to develop education quality under the Secondary Education Service Area 20 consisted of 1) principle, 2) objective, 3) content, 4) development activities and 5) measurement and evaluation which included digital literacy, communication in digital age and digital learning management design. The characteristics of teacher leader enhancement method comprised of 1) online social networking development 2) workshop 3) Professional Learning Community (PLC). The overall of the assessment of teacher leadership competency enhancement program for learning management in digital age to develop education quality under the Secondary Education Service Area 20 in term of appropriateness was at highest level and possibility was at high level.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาคุณลักษณะครูผู้นำในการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัล เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 2) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างคุณลักษณะครูผู้นำในการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัล เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น ของการเสริมสร้างคุณลักษณะครูผู้นำในการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 346 คน ได้แก่ ครู โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 ใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างคุณลักษณะครูผู้นำในการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัล เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 6 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตรวจสอบยืนยันโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าดัชนีความสอดคล้อง และค่าดัชนีความต้องการจําเป็น (PNIModified) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมิน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของคุณลักษณะครูผู้นำในการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัล เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของคุณลักษณะครูผู้นำในการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัล เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 อยู่ในระดับมากที่สุด 2. ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาคุณลักษณะครูผู้นำในการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัล เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 พบว่า ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ คุณลักษณะด้านความรู้ความเข้าใจดิจิทัล คุณลักษณะด้านการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัล และคุณลักษณะด้านการสื่อสารยุคดิจิทัล ตามลำดับ 3. โปรแกรมเสริมสร้างคุณลักษณะครูผู้นำในการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัล เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) เนื้อหา 4) กิจกรรมพัฒนา และ 5) การวัดผลและประเมินผล มี 3 โมดูล คือ คุณลักษณะด้านความรู้ความเข้าใจดิจิทัล คุณลักษณะด้านการสื่อสารยุคดิจิทัล และคุณลักษณะด้านการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัล วิธีเสริมสร้างคุณลักษณะครูผู้นำในการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) การพัฒนาผ่านเครือข่ายออนไลน์ 2) การประชุมเชิงปฏิบัติการ และ 3) การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ PLC ผลการประเมินของโปรแกรมเสริมสร้างคุณลักษณะครูผู้นำในการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัล เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/858
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010586052.pdf7.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.