Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/87
Title: System for the Surveillance of Dengue Haemorrhagic Fever and Integration People Participation and Geographic Information System in Si Sa Ket Province, Thailand
ระบบเฝ้าระวังการเกิดโรคไข้เลือดออก โดยการบูรณาการ การมีส่วนร่วมและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ
Authors: Klarnarong Wongpituk
กล้าณรงค์  วงศ์พิทักษ์
Choosak Nithikathkul
ชูศักดิ์ นิธิเกตุกุล
Mahasarakham University. The Faculty of Medicine
Keywords: ระบบเฝ้าระวังการเกิดโรค
ไข้เลือดออก
การมีส่วนร่วม
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
Surveillance systems
Dengue Hemorrhagic Fever (DHF)
Participation
Geographic information system (GIS)
Issue Date:  3
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Dengue Hemorrhagic Fever (DHF) is an important problem in the field of health status of the world and Thailand. The issues that require to be made to develop a surveillance organization. Thus, this field is a Mixed Methods Research Design, to study and analyze the relationship between constituents that are anticipated to be the case of the disease. The purpose is to study and develop surveillance systems of DHF by public participation and application of GIS in Si Sa Ket province. Using techniques include descriptive statistics, analysis of risk factors and analysis of correlation and regression analysis, logistic.  The study found that the village was associated with the levels of risk are villages with HI≥5 (ORadj = 5.02; 95% CI = 2.84-8.89). Public factors, the most common is less satisfaction with the surveillance network (ORadj = 4.71; 95%CI = 1.50 - 14.84). The factors of Leaders and Health Volunteers found the most is the thought that the sand removal of larvae has the right to kill mosquito larvae more or less 2-3 month (ORadj = 3.43; 95% CI = 1.68-6.98 and ORadj = 4.33; 95% CI = 2.12-8.87, respectively). And the factors of members of the local governments the most common are of the belief that the destruction of breeding sites for mosquitoes every seven days to prevent DHF (ORadj = 5.39; 95% CI = 1.11-26.23). The logistic regression equation of Geography and the environment, people, leader, members of the local government and Health volunteers to estimate the risk of DHF is P (risk area) = 1/1+e-z. The occurrence of dengue surveillance system development, "Si Sa Ket model". Found that the experimental 11 villages has only one case of DHF (contact area caused epidemic) and the index of mosquito larvae reduction, while the level of knowledge about DHF increases.    
ไข้เลือดออก (Dengue Haemorrhagic Fever หรือ DHF) เป็นปัญหาสำคัญในด้านภาวะสุขภาพของโลกและประเทศไทย จึงเป็นประเด็นปัญหาที่ต้องสร้างมาตรฐานในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรค การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Methods Research Design)  เพื่อศึกษาและทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่คาดว่าจะเป็นสาเหตุของการเกิดโรค เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบระบบเฝ้าระวังการเกิดโรคไข้เลือดออกในจังหวัดศรีสะเกษ  โดยประชาชนมีส่วนร่วมและประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์  โดยใช้เทคนิค สถิติเชิงพรรณนา  การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงและการวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก    ผลการศึกษา  พบว่า ปัจจัยในหมู่บ้านที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเสี่ยงมากที่สุด คือ หมู่บ้านที่มี HI≥5 (ORadj=5.02; 95%CI=2.84–8.89) ปัจจัยประชาชน มากที่สุด คือ ความพึงพอใจน้อยด้านเครือข่ายเฝ้าระวังฯ (ORadj=4.71; 95%CI=1.50–14.84) ปัจจัยผู้นำและ อสม. มากที่สุด คือ ทรายกำจัดลูกน้ำมีฤทธิ์ในการฆ่าลูกน้ำได้มากกว่าหรือน้อยกว่า 2-3 เดือน (ORadj=3.43; 95%CI=1.68–6.98 และ ORadj=4.33; 95%CI=2.12–8.87ตามลำดับ) และปัจจัยของสมาชิก อปท. มากที่สุด คือ การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงทุก 7 วัน สามารถป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกได้ (ORadj=5.39; 95%CI=1.11–26.23)   โดยได้สมการถดถอยโลจิสติก ด้านภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ด้านผู้นำ ด้านสมาชิก อปท. และด้าน อสม. เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดDHF คือ P(risk area)=1/1+e-z ผลการพัฒนาระบบเฝ้าระวังการเกิดไข้เลือดออก”ศรีสะเกษโมเดล” พบว่า หมู่บ้านทดลอง 11 หมู่ มีผู้ป่วย 1 ราย(ติดต่อจากพื้นที่เกิดโรคระบาด)  และค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายลดลง ในขณะที่ระดับความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด  ทั้งนี้สามารถนำไปใช้ได้ผลจริงและนำไปประยุกต์ใช้ตามบริบทของพื้นที่ต่อไป  ดังนั้นจึงควรส่งเสริมและสนับสนุนนำรูปแบบระบบเฝ้าระวังการเกิดโรคไข้เลือดออกที่พัฒนานี้ ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นต่อไป
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/87
Appears in Collections:The Faculty of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56011560002.pdf12.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.