Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/88
Title: Social Return on Investment for Patient Treated by Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis: A Case Study in Ubon Ratchathani Province
ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนรักษาผู้ป่วย ด้วยวิธีล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี
Authors: Pattama Lophongpanit
ปัทมา ล้อพงค์พานิชย์
Sirinart Tongsiri
แพทย์หญิงศิรินาถ ตงศิริ
Mahasarakham University. The Faculty of Medicine
Keywords: การล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง, ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน
Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis Social Return on Investment
Issue Date:  22
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aims to analyze the Social Return on Investment (SROI) for End-stage Renal Disease (ESRD) patient treated by Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis (CAPD) under Universal Health Coverage Scheme (UHCS) in Ubon Ratchathani province. It was a mix method exploratory sequential design divided into 2 steps; the first step was qualitative research using content analytics to find out what is the cost of societal view and SROI. Then take it to create a research tool to collected data quantitatively from 191 informants, in the second step. The direct medical cost was retrospective collected in the fiscal year 2016 and adjusted to present value. Direct non-medical cost, indirect cost, and SROI were retrospective and cross-sectional collected between October 2017 - February 2018. Data have been analyzed in order to calculate the SROI ratio. The study found that the costs in the societal view were 30,771,780.44 baht. The proportion of the cost of the National Health Security Office (NHSO) and the patient is 81.12: 18.88. The total present value of 51,928,436.75 baht, the SROI ratio of 1:1.69 meaning that 1 baht on investment can create social benefits of 1.69 baht. It can be concluded that the investment for ESRD patient treated by CAPD modality had worth social benefits.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนรักษาผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยวิธีล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสานแบบแผนขั้นตอนเชิงสำรวจ ขั้นตอนแรกเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์ข้อความเพื่อค้นหาข้อมูลต้นทุนในมุมมองทางสังคมและผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน จากนั้นนำไปสร้างเป็นเครื่องมือเพื่อเก็บข้อมูลเชิงปริมาณในระยะที่ 2  จากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 191 คน ข้อมูลต้นทุนทางตรงทางการแพทย์เป็นการเก็บข้อมูลย้อนหลังในปีงบประมาณ 2559 และปรับเป็นค่าเงินปัจจุบัน ข้อมูลต้นทุนทางตรงที่ไม่ใช่ทางการแพทย์และต้นทุนทางอ้อม รวมทั้งข้อมูลผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน เป็นการเก็บข้อมูลแบบย้อนหลังและแบบภาคตัดขวางจากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและผู้ดูแลระหว่างเดือนตุลาคม 2560 – กุมภาพันธ์ 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาอัตราส่วนผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน ผลการวิจัยพบว่า ต้นทุนในมุมมองทางสังคมเท่ากับ 30,771,780.44 บาท สัดส่วนของต้นทุนระหว่างสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและผู้ป่วยเท่ากับ 81.12: 18.88 ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน มีมูลค่าปัจจุบันรวมเท่ากับ 51,928,436.75  บาท อัตราส่วนผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนเท่ากับ 1 : 1.69 นั่นคือ การลงทุนทุก 1 บาท สามารถสร้างผลตอบแทนทางทางสังคม 1.69 บาท สรุปได้ว่าการลงทุนรักษาผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยวิธีล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง ให้ผลตอบแทนทางสังคมที่คุ้มค่าต่อการลงทุน
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/88
Appears in Collections:The Faculty of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58011560004.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.