Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/884
Title: Development Model of Surveillance and Promotion of Oral Heath in Child Care Centers, in Nongchaingtoon Health Promoting Hospital, Prangku District, Sisaket Province
การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเชียงทูน  อำเภอปรางค์กู่  จังหวัดศรีสะเกษ
Authors: Attawit Konkam
อรรถวิทย์ ก้อนคำ
Songkramchai Leetongdeesakul
สงครามชัยย์ ลีทองดีศกุล
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: การเฝ้าระวังและการส่งเสริม
การมีส่วนร่วม
เด็กปฐมวัย
Surveillance and Promotion
Participation
Preschool children
Issue Date:  14
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this action research was to study the  development model of surveillance and promotion of oral heath in child care centers, in Nongchaingtoon Health Promoting Hospital, Prangku District, Sisaket Province. The inclusion of 10 participants and 29 diabetes mellitus patients were selected for this study. The research instruments were questionnaires about the knowledge of oral health care, attitude and practices in children's oral health for parents. And hygiene survey, sampling. Which collected qualitative and quantitative data analysis with knowledge and participation? These researches were descriptive statistic, Frequency, Mean and Standard Deviation as well as content analysis.  The results and finding revealed that the participants have created the standardised roles within four categories, 1) Study community context 2) Analyze problems and workshop together 3) Guidelines and activities 4) Implement the plan 5) Observe, monitor and evaluate the plan and 6) Summarie the results. The Resulted in policy Announcing the healthy nutrition roles, such as, no milk bottles , no snack and un sweet meals and dessert  and Cleaning by brushing before home and after lunch the child centre and  Surveillance and promotion of oral heath in child 4) Enhancement the  workers the project of oral health care. The key success factors  those involved are knowledge score were increasing. There was increasing. In conclusion, The factors of success are having SPA Model Which included 1) S: Stakeholders 2) P: Particication and3) A: Activity. This model was created to community context.
การวิจัยเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเชียงทูน อำเภอปรางค์กู่  จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มร่วมพัฒนา จำนวน 10 คน และกลุ่มประชากร จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามความรู้ เจตคติและการปฏิบัติในการดูแลทันตสุขภาพเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง แบบประเมินสภาวะอนามัยช่องปากของเด็ก และความพึงพอใจในการดำเนินงานของกลุ่มตัวอย่าง แบบสังเกตและแนวทางการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนและข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กครั้งนี้ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาบริบทพื้นที่ 2) วิเคราะห์ปัญหาร่วมกันและจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) กำหนดแนวทางและกิจกรรม 4) ดำเนินการตามแผน 5) สังเกต ติดตามและประเมินผล และ6) สรุปผล และจะประสบผลสำเร็จต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ตามบทบาทหน้าที่และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาคส่วนนั้นๆ ส่งผลให้เกิดเป็นนโยบาย ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดขวดนม นมหวาน/นมเปรี้ยวและขนมกรุบกรอบ ฟันสะอาดก่อนเข้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและเด็กทุกคนต้องแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวัน  ส่งเสริมและเฝ้าระวังสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย พัฒนาศักยภาพด้านสุขภาพช่องปากผู้ดูแลเด็กปฐมวัย การดำเนินงานด้านการดูแลสุขภาพช่องปากในชุมชนต้องมีความต่อเนื่อง นอกจากนั้นยังพบว่าผลลัพธ์เชิงปริมาณในกระบวนการนี้ส่งผลให้ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติในการดูแลทันตสุขภาพเด็กปฐมวัย ความพึงพอใจในการดำเนินงานของผู้ปกครอง และสภาวะสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยเพิ่มขึ้น ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองเชียงทูน อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ คือ SPA Model ประกอบด้วย 1. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (S: Stakeholders) 2. มีการส่วนร่วม (P: Particication) 3.กิจกรรม (A: Activity) ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนมากขึ้น
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/884
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61051480008.pdf3.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.