Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/885
Title: The Development of Health Care for Patient Diabetes Types 2 in the Area Responsibility of Health Khon Paen Health Promoting Buntharik District Ubonratchathani Province
การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขอนแป้น ตำบลคอแลน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี 
Authors: Nawaporn Thumthaew
นวพร ทุมแถว
Vorapoj Promasatayaprot
วรพจน์ พรหมสัตยพรต
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: เบาหวานชนิดที่ 2
การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
diabetes mellitus type-2
Health care development of diabetes types 2
Issue Date:  6
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This participatory action research was conducted to improve a Health care development of diabetes types 2 patients of the responsibility Area of Tambon Health Promoting Hospital in khon Pan and Korlan sub-district,  Buntharik district, Ubonratchthani province. Sample were diabetes mellitus patients and patients’ caregiver in Kho Lan, Buntharik district, Ubon Rachathani. Purposive Sampling was conducted to select participants such as 20 persons of diabetes mellitus patients, 20 persons of patients’ caregiver and 10 persons of medical personnel. Data were collected by questionnaire and qualitative method. The qualitative method consisted focus group discussion record, workshop and share and learn meeting. There are four process such as plan, action, observation and reflection that for improve a surveillance system for diabetes mellitus patients. Data analysis was applied by descriptive statistics such as frequency, percent, mean, standard deviation and paired sample t-test for compare pre-test and post-test of behaviors and knowledge about diabetes mellitus testing. Qualitative data were analyzed by content analysis. The results showed that diabetes mellitus patients were 85% of female. Mean of age were 54 years old. The participants were 60% of elementary education and 80% of agriculturist. Half of participants has caregiver who were relationship with them. 55% of participants were hypertension. 80% of caregiver who did not training about health care for diabetes mellitus patients. Age, blood sugar and diabetes mellitus knowledge were associated with behavior of diabetes mellitus patients as statistics significant. The participatory action research for development of surveillance system for type 2 diabetes mellitus patients showed that the type 2 diabetes mellitus patients had knowledge and good behavior. Therefore, the patients who could control blood sugar level in HbA1C were increased. Moreover, this research got cooperation from diabetes mellitus patients, caregiver and medical personnel to develop a surveillance system for appropriate of the area.              
การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาระบบการดูแลป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน และกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลขอนแป้น ตำบลคอแลน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี โดยทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวนทั้งสิ้น 50 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มละจำนวน 20 คน และกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน  10 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผล เพื่อศึกษาการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยแบบวัดพฤติกรรมของผู้ป่วยเบาหวาน และแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบโดยใช้ Paired Sample  t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 85 มีอายุเฉลี่ย 54 ปี จบระดับประถมศึกษา ร้อยละ 60 ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 80 ส่วนใหญ่มีคู่สมรสเป็นผู้ดูแล ร้อยละ 55 มีโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ร้อยละ 55 และผู้ดูแลไม่เคยได้รับการอบรมเรื่องการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ร้อยละ 80 และเมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ พบว่า อายุ ระดับน้ำตาลในเลือด และความรู้เรื่องโรคเบาหวาน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการดำเนินงานตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน พฤติกรรมการดูแลตนเอง การสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1C) ทั้งให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย ผู้ดูแล และบุคลากรทางการแพทย์ที่เข้ามาร่วมในทุกขั้นตอนของการพัฒนาจนได้แนวทางที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่  
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/885
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61051480021.pdf3.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.