Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/888
Title: The Development of Environmental Education Training course on The King Bhumibol Adulyadej, s seience in soil, water and forest Conservation
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสิ่งแวดล้อมศึกษาตามศาสตร์พระราชาในการอนุรักษ์ ดิน   น้ำ และป่าไม้
Authors: Kannika Sookngam
กรรณิกา  สุขงาม
Prayoon Wongchantra
ประยูร วงศ์จันทรา
Mahasarakham University. The Faculty of Environment and Resource Studies
Keywords: หลักสูตรฝึกอบรมสิ่งแวดล้อมศึกษาตามศาสตร์พระราชา
ความรู้เกี่ยวกับดิน น้ำ และป่าไม้
จริยธรรมสิ่งแวดล้อม
จิตอาสาสิ่งแวดล้อม
Development of environmental education training courses according to the king's science
Knowledge
Environmental ethics
Environmental volunteerism
Issue Date:  12
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this research is to study and compare knowledge about the conservation soil, water and forests according to the philosophy environmental ethics and environmental volunteerism using the environmental education training course on the King Bhumibol Adulyadej, s Science in Soil, Water and Forest Conservation before and after training students of different genders and academic performances. Two groups of samples were used this research: one involved in the curriculum development consisting of 94 students majoring in Environmental Education, Faculty of Environment and Resource Studies Mahasarakham University enrolled in the course Environmental Education Training Curriculum the first semester of the academic year 2018, and the other composed of 67 first-year students majoring in Environmental Studies who were enrolled in the course Environmental Education in the second semester of the academic year 2018. Both groups were selected through the purposive sampling technique. The research instruments were Environmental Education Training Course on the King Bhumibol Adulyadej, s Science in Soil, Water and Forest Conservation, a test on the conservation of soil, water and forests in accordance with the King’s Philosophy, a questionnaire on environmental ethics, and a measurement on environmental volunteering. The statistics used in the research were frequency, percentage, mean, standard deviation, including hypothesis testing using t-test, F-test One-Way MANOVA, One-Way MANCOVA, and Univariate Test.  The study results showed that: 1. The students’ average score in terms of knowledge about the conservation of soil, water and forests according to the King’s Philosophy, environmental ethics, and environmental volunteerism after training was higher than before training at the statistical significance level. 05. 2. The students of different genders have different levels of knowledge about the conservation of  soil, water and forests according to the King’s Philosophy, environmental ethics, and environmental volunteerism at the statistical significance level. 05. 3. The students with different grades have different levels of knowledge about the conservation of soil, water and forests according to the King’s Philosophy. environmental ethics, and environmental volunteerism at the statistical significance level. 05.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับอนุรักษ์ดิน น้ำ และป่าไม้ตามศาสตร์พระราชา จริยธรรมสิ่งแวดล้อม และจิตอาสาสิ่งแวดล้อม จากหลักสูตรฝึกอบรมสิ่งแวดล้อมศึกษาตามศาสตร์พระราชาในการอนุรักษ์ดิน น้ำ และป่าไม้ของนิสิตก่อนการฝึกอบรมและหลังการฝึกอบรม เพื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับอนุรักษ์ดิน น้ำ และป่าไม้ตามศาสตร์พระราชาจริยธรรมสิ่งแวดล้อม และจิตอาสาสิ่งแวดล้อมจากหลักสูตรฝึกอบรมสิ่งแวดล้อมศึกษาตามศาสตร์พระราชาในการอนุรักษ์ดิน น้ำ และป่าไม้ของนิสิตที่มีเพศต่างกัน และเพื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับเกี่ยวกับอนุรักษ์ดิน น้ำ และป่าไม้ตามศาสตร์พระราชา จริยธรรมสิ่งแวดล้อม และจิตอาสาสิ่งแวดล้อมจากหลักสูตรฝึกอบรมสิ่งแวดล้อมศึกษาตามศาสตร์พระราชาในการอนุรักษ์ดิน น้ำ และป่าไม้ของนิสิตที่มีผลการเรียนต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 67 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรฝึกอบรมสิ่งแวดล้อมศึกษาตามศาสตร์พระราชาในการอนุรักษ์ดิน น้ำ และป่าไม้แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ดิน น้ำ และป่าไม้ตามศาสตร์พระราชา แบบวัดจริยธรรมสิ่งแวดล้อม และแบบวัดจิตอาสาสิ่งแวดล้อม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t-test, F-test (One–Way MANOVA, One–Way MANCOVA และ Univariate Test) ผลการศึกษาพบว่า 1. นิสิตมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ดิน น้ำ และป่าไม้ตามศาสตร์พระราชา จริยธรรมสิ่งแวดล้อม และจิตอาสาสิ่งแวดล้อม หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นิสิตที่มีเพศต่างกันมีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ดิน น้ำ และป่าไม้ตามศาสตร์พระราชา จริยธรรมสิ่งแวดล้อม จริยธรรมสิ่งแวดล้อม และจิตอาสาสิ่งแวดล้อมไม่แตกต่างกัน (p > .05) 3. นิสิตที่มีผลการเรียนต่างกันมีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ดิน น้ำ และป่าไม้ตามศาสตร์พระราชา จริยธรรมสิ่งแวดล้อม และจิตอาสาสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/888
Appears in Collections:The Faculty of Environment and Resource Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59011760001.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.