Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/89
Title: | Behavioral Intervention for HIV/AIDS Prevention Program among Students in Khammouane Technical- Vocational College, Lao People’s Democratic Republic การเสริมสร้างพฤติกรรมในการป้องกันโรคเอดส์ ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิควิชาชีพ แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว |
Authors: | Souksathaphone Chanthamath Souksathaphone Chanthamath Ranee Wongkongdech ราณี วงศ์คงเดช Mahasarakham University. The Faculty of Medicine |
Keywords: | โปรแกรมเสริมสร้างการเรียนรู้ พฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว Education Program AIDS Prevention Behaviors Lao PDR |
Issue Date: | 28 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This cross sectional descriptive study behavioral for HIV/AIDS prevention among students in Khammouane Technical-Vocational College, Lao People's Democratic republic. Sample size included 939 cases in 1st to 3rd years via sample random sampling, then random list of students in every branch. Moreover, this Quasi-experimental research to study the effect of HIV/AIDS prevention program. Sample size was total 84 students who were divided into 42 students of an experimental group and 42 students of a comparison group. The intervention obtained an HIV/AIDS prevention program had 8 activities advising knowledge, lecturing with media, VCD slide presentation, group discussion, playing games for 2 days. Data were analyzed and reported by using frequency (percentage) for categorical data, means (standard deviations) for continuous data. We compared the knowledge, attitude, and HIV/AIDS prevention behavior scores by using paired samples t-test (within group) and Independent t-test (between group).
The results showed a low level of knowledge about HIV/AIDS prevention (44.52%) and misunderstood that HIV/AIDS can be prevented by having only a single partner without protection (77.29%), HIV can be transmitted through a mosquito bite (72.10%), moderate level of positive attitudes towards HIV/AIDS prevention (56.34%) and higher level negative attitudes about HIV/AIDS should be revealed to community for control and protect HIV/AIDS (55.59%), on the contrary, still used nail clipper with other people without sterile by alcohol (46.86%), and also results show that after the invention the experimental group showed a significantly higher level of knowledge (97.72%), positive attitude (64.29%) and intention of HIV/AIDS prevention were moderate (69.05%) than before the intervention and higher than the comparison group with statistical significance (p-value<0.001)
Conclusion: the experimental group received prevention of AIDS program perform high average before acquire program and increase than a comparison group with statistical significance (p-value<0.001). thus it should be developed HIV/AIDS prevention program in other students for effectiveness and evaluation among 3-6 months to follow up durable behavior protecting of HIV/AIDS. การศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิควิชาชีพ แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาวจำนวน 939 คน แบบภาคตัดขวาง ชั้นปีที่ 1 ถึง 3 โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จากการจับสลากรายชื่อนักศึกษาแต่ละสาขา และการศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรู้การป้องกันโรคเอดส์ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ในอาสาสมัคร 84 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 42 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับการอบรมเข้าค่ายตามโปรแกรมเสริมสร้างการเรียนรู้การป้องกันโรคเอดส์ จำนวน 2 วัน มี 8 กิจกรรม ทั้งการบรรยายด้วยสไลด์ วีซีดี กิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การเล่นเกม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามก่อนและหลังการทำกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาพฤติกรรมด้วยสถิติเชิงพรรณนา ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานเพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมด้วยสถิติ paired samples t-test และ Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และการป้องกันอยู่ในระดับน้อยถึงร้อยละ 44.52 โดยร้อยละ 77.29 ตอบผิดในเรื่องการป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวี คือการไม่มีคู่นอนหลายคนแบบไม่ป้องกัน รองลงมา คือ โรคเอดส์ติดต่อได้ จากการถูกยุงกัด โดยยุงที่ไปกัดผู้ติดเชื้อเอชไอวีมาก่อนถึงร้อยละ 72.10 ด้านทัศนคติต่อการป้องกันโรคพบว่า อยู่ในระดับปานกลาง โดยร้อยละ 56.34 มีทัศนคติไม่ดีเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อควรเปิดเผยตัวแก่สังคมเพื่อการควบคุมโรค และด้านพฤติกรรมเพื่อการป้องกันโรคเอดส์ อยู่ในระดับดีมากร้อยละ 55.59แต่ยังมีการใช้กรรไกรตัดเล็บร่วมกับบุคคลอื่นโดยไม่ทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ก่อนร้อยละ 46.86 ส่วนผลการประเมินหลังการใช้โปรแกรมพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีความรู้เรื่องโรคเอดส์และการป้องกัน อยู่ในระดับดีมากร้อยละ 97.62 ทัศนคติในการป้องกันการติดเชื้อโรคเอดส์เชิงบวกอยู่ในระดับดีร้อยละ 64.29 และความตั้งใจในการมีพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 69.05 สูงขึ้นกว่าก่อนทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) สรุป โปรแกรมเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อป้องกันโรคเอดส์ สามารถเพิ่มความรู้ ทัศนคติและความตั้งใจในการป้องกันโรคเอดส์ได้ จึงควรมีการขยายผลการศึกษาในพื้นที่อื่นหรือนักศึกษากลุ่มอื่น และประเมินผลในระยะ 3 เดือน 6 เดือน เพื่อดูความคงทนของพฤติกรรมเชิงบวกในการป้องกันโรคเอดส์ |
Description: | Master of Science (M.Sc.) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/89 |
Appears in Collections: | The Faculty of Medicine |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59011550006.pdf | 3.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.