Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/893
Title:     A  Development  of  a  Homestay  Village  for  Environmental Conservation Tourism Services in Nong Bua Lamphu Province
การพัฒนารูปแบบหมู่บ้านโฮมสเตย์เพื่อการบริการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม      จังหวัดหนองบัวลำภู
Authors: Jintana Kongpet
จินตนา กงเพชร
Prayoon Wongchantra
ประยูร วงศ์จันทรา
Mahasarakham University. The Faculty of Environment and Resource Studies
Keywords: การบริการการท่องเที่ยว
รูปแบบหมู่บ้านโฮมสเตย์
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
Homestay village style
Environmental conservation
Tourism services
Issue Date:  27
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:      A  development  of a village  for environmental conservation tourism services  can build knowledge, attitude and behaviors in  practices of an environmental conservation of the people  who have experiences in homestay services.This study aimed to  develop a homestay village for environmental conservation services. The study  divided into 2 stages. The first stage was to study and survey general information  and operations of the homestay villages for conservation tourism services. The second stage  was to delvelop the homestay village for environmental conservation tourism services. The mixed  methods were employed for the study with 2 purposively selected villages. Thirty village people  with homestay service experiences were purposively selected and participated in the study. The Paired   t-test and F-test (One-way MANCOVA) were employed for testing hypothesies.             The major  findings revealed  the following :              1.  The  developed  homestay village  for environmental conservation tourism services  had 6 companents : (1) Servey, a study of document, servey  of community environment and tourism resources ; (2) Operation, planning  operation, publicizing  information  to the village  people, organizing  a traning  on an environmental conservation ; (3) Organization  Setting,  setting a  working committee, accepting  homestay members ; (4) Relations,  making a guide book, leaflets ;             (5) Service, welcoming to tourists, tourists  activities, and nearby tourist activities ; and (6) Evalution, assessing  within the homestays and reguesting for evalution from the Tourism Authority  of Thailand.             2.  The village  people as a whole  and as classified according  to homestay service experiences  showed gains in knowledge, attitude  and behaviors in practices of an environmental  conservation from before attending the environmental  conservation training at the .05 level of significance.             3.  The village  people with 1-3 years  of homestays service experiences showed behaviors  in practices of an environmental conservation after  attending the training more than the village people with  4-6 years of experiences at the .05 level of significance. However,  the two groups of these village people did not indicate knowledge and  attitude toward an environmental conservation differently.            In  condusion,  the developed  homestay village  for environmental  conservation tourism services  could develop knowledge, attitude,  and behaviors in an environmental conservation of  the people with homestay service experiences. These people  had awaneness and responsibility in sustainably environmental conservation  in the future.                                                                                                         
การพัฒนารูปแบบหมู่บ้านโฮมสเตย์เพื่อการบริการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีส่วนช่วยเสริมสร้างความรู้  เจตคติ และพฤติกรรมการปฏิบัติการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของประชาชนที่มีประสบการณ์ในการบริการโฮมสเตย์ งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ พัฒนารูปแบบหมู่บ้านโฮมสเตย์เพื่อการบริการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การศึกษาแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 ศึกษาและสำรวจสภาพและข้อมูลทั่วไปและการดำเนินงานหมู่บ้านโฮมสเตย์เพื่อการบริการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบหมู่บ้านโฮมสเตย์เพื่อการบริการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยใช้การวิจัยแบบวิธีผสม (Mixed Method) โดยเลือกเจาะจง 2 หมู่บ้าน    แต่ละหมู่บ้านเลือกเจาะจงประชาชนที่มีประสบการณ์ในการให้บริการโฮมสเตย์จำนวน 15 คน เพื่อใช้เป็นกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ Paired t-test และ F-test (One-way MANCOVA)              ผลการวิจัยปรากฏ  ดังนี้            1. รูปแบบหมู่บ้านโฮมสเตย์เพื่อการบริการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีองค์ประกอบ 6 ด้าน คือ 1)การสำรวจ(Survey)  ศึกษาเอกสาร ลงชุมชน สำรวจสภาพแวดล้อม ทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยว 2)การดำเนินงาน(Operations) วางแผนการดำเนินงาน ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบ จัดฝึกอบรม เรื่อง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  3)การจัดตั้งองค์กรในชุมชน(Organization) มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ รับสมัครสมาชิกกลุ่มโฮมสเตย์ 4)การประชาสัมพันธ์(Relations) จัดทำคู่มือรูปเล่ม แผ่นพับประชาสัมพันธ์ 5)การให้บริการ(Service )  การต้อนรับ กิจกรรมนำเที่ยว กิจกรรมนำเที่ยวใกล้เคียง 6)การประเมิน(Evaluation) การประเมินภายในกลุ่มโฮมสเตย์ และการขอรับการประเมินจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย           2. ประชาชนโดยรวมและจำแนกตามประสบการณ์ในการให้บริการโฮมสเตย์ที่เข้าร่วมการอบรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการปฏิบัติการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสูงกว่าก่อนเข้ารับการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05           3.  ประชาชนที่มีประสบการณ์ในการให้บริการโฮมสเตย์ 1-3 ปี หลังการอบรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีพฤติกรรมการปฏิบัติการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากกว่าประชาชนที่มีประสบการณ์ในการบริการโฮมสเตย์ 4-6 ปี(p<.017) แต่ประชาชนทั้งกลุ่มมี ความรู้ และเจตคติต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไม่แตกต่างกัน(p>.05)       โดยสรุป รูปแบบหมู่บ้านโฮมสเตย์เพื่อการบริการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสามารถเสริมสร้างความรู้  เจตคติ และพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อของประชาชนที่มีประสบการณ์ในการบริการโฮมสเตย์ ประชาชนเหล่านี้ได้มีจิตสำนึกรับผิดชอบในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืนต่อไป  
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/893
Appears in Collections:The Faculty of Environment and Resource Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61011760005.pdf9.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.