Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/90
Title: Current and Desired State in Developing Personnel Administration for Schools Under Secondary Educational Service Office Area 26
สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาการบริหารงานบุคคล สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 26
Authors: Pennapa Sihabonchun
เพ็ญนภา  สีหาบุญจันทร์
Kanong Pilun
คะนอง พิลุน
Mahasarakham University. The College of Politics and Governance
Keywords: การบริหารงานบุคคล
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 26
Personnel Administration
The Secondary Educational Service Office Area 26
Issue Date:  23
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this study were 1) to examine current and desired state in developing personnel administration for schools under Secondary Educational Service Office Area 26, 2) to compare the level of opinion about current and desired state in developing personnel administration for schools under Secondary Educational Service Office Area 26, and 3) to give guidelines in developing personnel administration for schools under Secondary Educational Service Office Area 26. The participants who were chosen by purposive sampling were school principals, heads of personnel administration and teachers from small schools. Furthermore, Krejcie and Morgan table was used to determine the sample size for 239 persons. The instruments used in this study were the questionnaire by using rating scale with the discrimination of current state in developing personnel administration ranged from .30 to .60 and desired stated in developing personnel administration ranged from .30 to .62. Moreover, the overall reliability was 0.94. The data was analyzed by using a package program in order to find percentage, mean, standard deviation. The statistics used in this study were independent t-test and one-way ANOVA f-test. The results revealed that      1. Current stated in developing personnel in developing personnel administration for schools under Secondary Educational Service Office Area 26 were overall at a high level. Considering each aspect respectively, the highest aspect was discipline, morality and ethics promotion for government teacher and educational personnel. The second high aspect was the operation of salary promotion. For desired stated, it was also overall at a high level. Considering each aspect, the highest aspect was the recruitment and appointment. The second high aspect was discipline, morality and ethics promotion for government teacher and educational personnel.      2. The results from comparing the level of opinion in current state of school principals, heads of administrations and teachers under Secondary Education Service Office Area 26 found that different gender, position, and work experience had significant differences opinion at  .05 level towards the human resource planning, the recruitment and appointment, the operation of salary promotion, and discipline, morality, and ethics promotion for government teacher and educational personnel, and government teacher and educational personnel development. Moreover, the results from comparing the level of opinion in desired state of school principals, heads of administrations and teachers under Secondary Education Service Office Area 26 found that different gender, position, and work experience had significant differences opinion at  .05 level towards the human resource planning, the recruitment and appointment, the operation of salary promotion, and discipline, morality, and ethics promotion for government teacher and educational personnel, and government teacher and educational personnel development.      3. The guidelines in developing personnel administration for schools under Secondary Educational Service Office Area 26 can be concluded as follows:         3.1 human resource planning: schools should determine roles and duties due to individual capability in order to be effective work.        3.2 The recruitment and appointment: schools should provide guidebook involve with benefits, requirements, and others related to school for new personnel.        3.3. The operation of salary promotion: schools should notify the reasons why the government teacher or educational personnel don’t get promoted.         3.4 The discipline, morality, and ethics for government teacher and educational personnel : schools should explain rules and regulation about government practice, government leave, government permission to leave out from school, government travel for new-appointed teachers.      3.5 The government teacher and educational personnel development: schools should hold seminar or conferences in order to enhance new-appointed teachers’ work efficiency.
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ของการบริหารงานบุคคลสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ของการบริหารงานบุคคลสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 3) เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนางานบริหารงานบุคคลสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26  วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างได้แก่ เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คือ เป็นสถานศึกษาขนาดเล็กประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานบริหารงานบุคคลและครู กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกน จำนวน จำนวน 239  คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มีอำนาจจำแนกรายข้อสภาพปัจจุบันการบริหารงานบุคคลตั้งแต่ .30  ถึง .60  และสภาพที่พึงประสงค์การบริหารงานบุคคลสภาพที่พึงประสงค์การบริหารงานบุคคล ตั้งแต่ .30 ถึง .62 ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.94  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน  ได้แก่  Independent  (t-test)  และ  F-test (One-way  ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า       1. สภาพปัจจุบันการบริหารงานบุคคลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 26  โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยจากมากที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมวินัยคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รองลงมา  คือ ด้านการดำเนินการเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือน สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยจากมากที่สุดคือ ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง รองลงมา คือ ด้านการส่งเสริมวินัยคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา       2. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นสภาพปัจจุบัน ของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานบริหารงานบุคคล และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 พบว่า เพศ ตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็น ด้านการวางแผนอัตรากำลัง ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง ด้านการดำเนินการเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือน ด้านการส่งเสริมวินัย คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และด้านการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่สถิติระดับ .05 ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นสภาพที่พึงประสงค์ ของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานบริหารงานบุคคล และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 พบว่า เพศ ตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน ที่แตกต่างกัน มีด้านการวางแผนอัตรากำลัง ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง ด้านการดำเนินการเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือน ด้านการส่งเสริมวินัย คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และด้านการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05       3. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 26 สามารถสรุปด้านที่ควรพัฒนาได้ คือ          3.1 ด้านการวางแผนกำลัง สถานศึกษาควรกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละบุคคลตามความสามารถเพื่อประสิทธิผลของงาน          3.2 ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง สถานศึกษาควรมีคู่มือเกี่ยวกับนโยบาย ผลประโยชน์ ข้อกำหนดและสาระอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนสำหรับบุคลากรใหม่            3.3 ด้านการดำเนินการเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือน สถานศึกษาควรมีการชี้แจงเหตุผลกรณีสั่งไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน          3.4 ด้านการส่งเสริมวินัย คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษาควรชี้แจงระเบียบการมาปฏิบัติราชการ การลาการขออนุญาตออกนอกสถานศึกษา การไปราชการของข้าราชการครู สำหรับครูบรรจุใหม่           3.5 ด้านการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษาควรจัดให้มีการประชุม อบรม สัมมนา เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรในสถานศึกษาสำหรับครูบรรจุใหม่
Description: Master of Public Administration (M.P.A.)
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/90
Appears in Collections:The College of Politics and Governance

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57011381007.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.