Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/911
Title: The development of musical learning activities according to Base on Dalcroze Structural model for Prathomsuksa 4 students
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Authors: Kasemsan Trachoo
เกษมสันต์ ตราชู
Sayam Chuangprakhon
สยาม จวงประโคน
Mahasarakham University. College of Music
Keywords: การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้
ทักษะทางดนตรี
แนวคิดของดาลโครซ
Development of learning activities
Musical skills
Dalcroze’s concept
Issue Date:  11
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this research were 1) to develop music skills learning management activities based on the Dalcroze’s concept for grade 4 students to achieve the 80/80 efficiency criterion, and 2) to compare the  academic achievement in the music subject for primary school between pretest and posttest periods using Dalcroze’s concept-based music skills learning management activities. 3) Study music practice skills using Dalcroze’s concept-based music skills learning management activities . The sample was grade 4 students from one classroom at Rajabhat Mahasarakham University Demonstration School. The sample size was 22 students, obtained based on a simple random sampling by drawing lots Research . instruments were Dalcroze’s concept-based music skills learning management activity plans, Achievement Test with 30 four-option items and Practice Skill Assessment. Data were analyzed using statistics, including mean, percentage, E1/E2, and dependent t-test. The results of this research indicated as follows :         1.The efficiency index of Dalcroze’s concept-based music skills learning management activities for grade 4 students was 85.55/82.12, which was higher than a set criterion. 2. Academic achievement of the sample taught with Dalcroze’s concept-based music skills learning management activities increased by 33.96% with a statistical significance level of .01. 3.In terms of practical skills of students learned withDalcroze’s concept-based music skills learning management activities, a mean score of physical movement with the melodyat posttest period was 71.68 percent, followed by music note reading-writing with a meanof 62.18 percent, physical movements with the rhythmwith a mean of 59.09 percent, and singing with a mean of 58.86 percent, with the total mean percentage of the full score was 69.25 percent.
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซสำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 ให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาดนตรีระดับประถมศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  3) ศึกษาทักษะการปฏิบัติทางดนตรีที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้จากการสุ่มแบบง่าย (Simple random sampling) โดยการจับฉลาก จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์รายวิชาดนตรี เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบประเมินทักษะการปฏิบัติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ดัชนีประสิทธิภาพ E1/ E2 และ ค่าt-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. กิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซสำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.55/82.12 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซ สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 ค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 33.96 สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ทักษะการปฏิบัติของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซมีค่าเฉลี่ยหลังทดลองรวม ด้านเคลื่อนไหวร่างกายตามการเคลื่อนที่ของทำนองได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 71.68, รองลงมาด้าน อ่าน-เขียนโน้ตดนตรี ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 62.18 เคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 59.09 และ ขับร้อง ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 58.86 โดยมีค่าร้อยละเฉลี่ยรวมของคะแนนเต็มเท่ากับ 69.25
Description: Master of Music (M.M.)
ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (ดศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/911
Appears in Collections:College of Music

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61012080001.pdf3.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.