Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/916
Title: Quality control of Prab-Chom-Poo-Tha-Weeb and their components
การพัฒนาวิธีควบคุมคุณภาพตำรับยาปราบชมพูทวีปและสมุนไพรในตำรับ
Authors: Supattra Klangprapun
สุภัทรา กลางประพันธ์
Somsak Nualkaew
สมศักดิ์ นวลแก้ว
Mahasarakham University. The Faculty of Medicine
Keywords: ข้อกำหนดมาตรฐานสมุนไพร
การพัฒนาวิธีควบคุมคุณภาพ
ตำรับยาปราบชมพูทวีป
standard specification
quality control
Prab – Chom – Poo – Tha – Weeb
Issue Date:  4
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Prab-Chom-Poo-Tha-Weeb remedy is a polyherbal formula included in Thailand National List of Essential Medicines. The formula consisted of 23 herbs, used to relieve allergic rhinitis symptoms. The objectives of this study are to identify the specie and specification of 3 Thai name herbs including Ngueak Pla Moh Dak Khaw, Lam phan hang mu and Hat sa khun thet. This study also aims to develop a quality control method of Prab – Chom – Poo – Tha – Weeb and their components by high performance liquid chromatography (HPLC) analytical method. The result showed that The scientific name of Ngueak Pla Moh Dak Khaw and Lam phan hang mu are Acanthus ebracteatus, Enhalus acoroides (L.f.) Royle respectively. Hat sa khun thet is the mixture of Micromelum minutum (Forst.f.) Wright & Arn and Clausena excavata Burm. F. The physicochemical specifications of Acanthus ebracteatus, Enhalus acoroides (L.f.) Royle and Hat sa khun thet showed that the foreign matter were not more than 0.5, 0.5 and 0.2 % , respectively. Loss on drying were not more than 9, 13 and 4 %, respectively. Total ash contents were not more than 17, 23 and 3 %, respectively. Acid insoluble ash content were not more than 3, 7 and 0.5 %, respectively. Whereas ethanol extractive values were not less than 7, 3 and 2 %, respectively. Water extractive values were not less than 20, 11 and 5 %, respectively. Hexane extractive were not less than 10, 3 and 7 %, respectively. Lastly, chloroform extractive values were not less than 9, 4 and 6  %, respectively. The quality control of Prab – Chom – Poo – Tha – Weeb and their components by HPLC analytical method. Utilized two extracts: ethyl acetate extract and ethanolic extract.  The stationary phase for the determination consisted of Columns C18 Kinetex 2.6 micrometer, 100 x 4.6 millimeter. The mobile phase was 0.05 % trifluoroacetic acid in water and acetonitrile with the different gradient system of both extracts, and the detection with PDA at wavelength 254 nanometer. HPLC chromatogram of ethyl acetate extract can be used to identified 14 kinds of herbs and identified 2 active ingredient including Leonurine and Piperine while HPLC chromatogram of ethanolic extract can be used identified 19 kinds of herbs. These results provide the specification of Acanthus ebracteatus, Enhalus acoroides (L.f.) Royle and Hat sa khun thet that could be used as a standard specification. Furthermore, the developed HPLC method can be used to standardize the quality control of Prab – Chom – Poo – Tha – Weeb and their components. This study provides the information to boost the confidence of using the formulated traditional Thai medicine.
ตำรับยาปราบชมพูทวีปเป็นตำรับยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ในสูตรตำรับประกอบด้วยตัวยา 23 ชนิด ใช้สำหรับบรรเทาอาการหวัดในระยะแยก และอาการที่เกิดจากการแพ้อากาศ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำมาตรฐานสมุนไพร 3 ชนิดที่เป็นองค์ประกอบในตำรับยาปราบชมพูทวีปได้แก่ เหงือกปลาหมอ ลำพันหางหมู หัสคุณเทศ และเพื่อพัฒนาวิธีควบคุมคุณภาพตำรับยาปราบชมพูทวีปและสมุนไพรในตำรับ การดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการจัดทำข้อกำหนดมาตรฐานสมุนไพร 3 ชนิด ตามวิธีที่ระบุในตำรามาตรฐานยาสมุนไพร และการพัฒนาวิธีควบคุมคุณภาพตำรับยาปราบชมพูทวีปและสมุนไพรในตำรับด้วยวิธีโครมาโทกราฟฟีของเหลวสมรรถนะสูง ผลการวิจัย พบว่า เหงือกปลาหมอคือสมุนไพรที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acanthus  ebracteatus Vahl ลำพันหางหมูคือสมุนไพรที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Enhalus acoroides (L.f.) Royle ส่วนหัสคุณเทศอาจมาจากสมุนไพร 2 ชนิดคือ สมัดน้อยที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Micromelum minutum (Forst.f.) Wright & Arn และสมัดใหญ่ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clausena excavata Burm. F. ข้อกำหนดทางกายภาพและทางเคมีของสมุนไพร 3 ชนิด คือ เหงือกปลาหมอ ลำพันหางหมู และหัสคุณเทศควรมีปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกินร้อยละ 0.5, 0.5 และ 0.2 โดยน้ำหนักตามลำดับ ปริมาณความชื้นไม่เกินร้อยละ 9, 13 และ 4 โดยน้ำหนักตามลำดับ ปริมาณเถ้ารวมไม่เกินร้อยละ 17, 23 และ 3 โดยน้ำหนักตามลำดับ ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรดไม่เกินร้อยละ 3, 7 และ 0.5 โดยน้ำหนักตามลำดับ ปริมาณสารสกัดด้วยเอทานอลไม่น้อยกว่าร้อยละ 7, 3 และ 2 โดยน้ำหนักตามลำดับ ปริมาณสารสกัดด้วยน้ำไม่น้อยกว่าร้อยละ 20, 11 และ 5 โดยน้ำหนักตามลำดับ ปริมาณสารสกัดด้วยเฮกเซนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10, 3 และ 7 โดยน้ำหนักตามลำดับ และปริมาณสารสกัดด้วยคลอโรฟอร์มไม่น้อยกว่าร้อยละ 9, 4 และ 6 โดยน้ำหนักตามลำดับ ส่วนวิธีการควบคุมคุณภาพของตำรับยาปราบชมพูทวีปและสมุนไพรในตำรับด้วยวิธีเอชพีแอลซี ใช้สารสกัด 2 ชนิดคือ สารสกัดเอทิลอะซีเตต และสารสกัดเอทานอล วัฏภาคคงที่คือ คอลัมน์ C18 Kinetex 2.6 ไมโครเมตร ขนาด 100 x 4.6 มิลลิเมตร วัฏภาคเคลื่อนที่คือ 0.05 % trifluoroacetic acid ในน้ำและ Acetonitrile ใช้ระบบ gradient ที่แตกต่างกันใน 2 สารสกัด และตรวจวัดที่ความยาวคลื่นที่ 254 นาโนเมตร เอชพีแอลซีโครมาโทแกรมที่ได้จากสารสกัดเอทิลอะซีเตตสามารถใช้จำแนกสมุนไพรเดี่ยวได้ 14 ชนิด และระบุสารออกฤทธิ์ที่สำคัญในตำรับยาได้ 2 ชนิดคือ Leonurine และ Piperine ส่วนเอชพีแอลซีโครมาโทแกรมที่ได้จากสารสกัดเอทานอลสามารถใช้จำแนกสมุนไพรเดี่ยวได้ 19 ชนิด จากผลการวิจัยทำให้ได้ข้อกำหนดมาตรฐานของเหงือกปลาหมอ ลำพันหางหมู และหัสคุณเทศที่สามารถนำมาใช้เป็นข้อกำหนดมาตรฐานสมุนไพรได้ และได้วิธีที่เป็นมาตรฐานในการควบคุมคุณภาพตำรับยาปราบชมพูทวีปและสมุนไพรในตำรับ ทำให้ผู้ใช้มีความมั่นใจในการใช้ยามากขึ้น
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/916
Appears in Collections:The Faculty of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57011560007.pdf7.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.