Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/917
Title: Prevalence of Intestinal Parasitic Infections and Lymphatic Filariasis among Myanmar Workers in Nakhon Ratchasima Province
ความชุกของโรคติดเชื้อหนอนพยาธิลำไส้และโรคเท้าช้างในแรงงานพม่า จังหวัดนครราชสีมา 
Authors: Wararat Sangwalee
วรารัตน์ สังวะลี
Tongjit Thanchomnang
ต้องจิตร ถันชมนาง
Mahasarakham University. The Faculty of Medicine
Keywords: ปรสิต
หนอนพยาธิ
ความชุก
การติดเชื้อ
แรงงานพม่า
Parasite
Helminthes
Prevalence
Infections
Myanmar migrant workers
Issue Date:  6
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed to determine the prevalence and associated factors of intestinal parasitic infections (IPIs) and lymphatic filariasis among Myanmar migrant workers in Nakhon Ratchasima province. Stool samples were collected and examined using the formalin-ether concentration technique in 600 workers. Blood sampling for detection of microfilaria by microhematocrit tube technique and modified Knott’s concentration in 445 workers. Risk factors for IPIs were determined using multiple logistic regression analyses. The overall infection rate of parasitic infection was 27.67% (95% CI=24.08–31.26). Among the helminths infection observed, hookworm was most abundant 8.67%, followed by Trichuris trichiura 8.50%. The infection rate with Opisthorcis viverrini was 4.17%. The microfilaria result is negative. There was a significant association between male workers and Strongyloidiasis (ORadj=5.61, 95% CI=1.18–26.70). The history of consuming raw or undercooked cyprinoid fish was found to be a statistically significant risk factor with the O. viverrini infection (ORadj=2.82, 95% CI=1.22–6.49). The results obtained in this study suggest there is a high prevalence of IPIs among Myanmar migrant workers in the study area, therefore health screenings for all migrant workers in Thailand are required.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อหนอนพยาธิลำไส้และโรคเท้าช้างในแรงงานพม่า จังหวัดนครราชสีมา ทำการเก็บตัวอย่างอุจจาระ เพื่อตรวจหาการติดเชื้อหนอนพยาธิลำไส้ ด้วยวิธี Formalin Ether Concentration Technique (FECT) ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 600 คน และเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจหาการติดเชื้อหนอนพยาธิฟิลาเรีย ด้วยวิธี microhematocrit tube ร่วมกับวิธี modified Knott’s concentration ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 445 คน ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อหนอนพยาธิลำไส้โดยใช้ multiple logistic regressions  ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างติดเชื้อปรสิตในลำไส้ ร้อยละ 27.67 (95% CI=24.08–31.26) สำหรับพยาธิตัวกลมในลำไส้ พบติดเชื้อพยาธิปากขอสูงสุด ร้อยละ 8.67 รองลงมาเป็นพยาธิแส้ม้า ร้อยละ 8.50 และพบติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ร้อยละ 4.17 การศึกษาครั้งนี้ไม่พบผู้ติดเชื้อหนอนพยาธิฟิลาเรีย จากการศึกษานี้ พบว่าเพศชายมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิสตรองจิลอยด์เป็น 5.70 เท่า (OR =5.70; 95% CI =1.25-25.98) นอกจากนี้ยังพบว่าคนที่เคยรับประทานอาหารที่ทำจากปลาน้ำจืดที่มีเกล็ดขาวดิบหรือปรุงไม่สุกดีมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ (OR = 3.08, 95% CI = 1.36-6.95) จากการศึกษาในครั้งนี้ พบว่าความชุกของการติดหนอนพยาธิลำไส้ในแรงงานกลุ่มนี้ค่อนข้างสูง ดังนั้น การตรวจคัดกรองการติดเชื้อหนอนพยาธิในแรงงานที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยจึงมีความสำคัญ
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/917
Appears in Collections:The Faculty of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58011560001.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.