Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/926
Title: Guideline for Development at Khwaosinnarin Silver Handicrafts Village to Support Cultural Tourism in Surin Province
แนวทางการพัฒนากลุ่มหัตถกรรมเครื่องเงินเขวาสินรินทร์ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดสุรินทร์
Authors: Siriphan Phetpisessak
ศิริพรรณ เพชรพิเศษศักดิ์
Linjong Pocharee
ลินจง โพชารี
Mahasarakham University. The Faculty of Tourism and Hotel Management
Keywords: แนวทางการพัฒนา, กลุ่มหัตถกรรมเครื่องเงิน, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
Guideline for Development. Silver Handicrafts. Cultural Tourism.
Issue Date:  8
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this research was to study the components and cultural tourism resources of Khwao Sinarin silver handicraft group. To support cultural tourism Surin Province By studying from 4 sample groups which are 10 general people who live in the area, 5 government agencies, 5 people, the private sector and 400 Thai tourists, a total of 420 people. By using in-depth interview to collect quality data And accidental sampling By using questionnaires to collect quantitative data And analyzed using statistical techniques which are mean, percentage and standard deviation. The study outcome suggested that 1. Cultural tourism resources In the area, the Khwao Sinarin Handicraft Group is showing the process of producing silverware into ornaments, silk handicrafts, food and  local desserts. 2. Tourism components found that tourists have a high level of opinions. With elements of tourist attractions Having the highest opinion about cultural identity The local way of life And have products from silverware for sale to tourists As for the accommodation elements There is a group of tourists who stay, mostly government agencies only. 3. Guidelines for cultural tourism development To support the cultural tourism of the community of Khwao Sinarin. Should start by creating understanding with local people To recognize and recognize the importance of tourism occurring in the community, then establishing public relations strategies for tourist attractions in parallel with the development of activities By allowing tourists to participate in activities At the same time, the government should support the budget. And seriously educating the community To prepare tourists for service And to support cultural tourism By focusing on all sectors to get involved in tourism management For effective and sustainable management.  
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและทรัพยากรทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกลุ่มหัตถกรรมเครื่องเงินเขวาสินรินทร์ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดสุรินทร์ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม คือ ประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ จำนวน 10 คน หน่วยงานภาครัฐ จำนวน 5 คน ภาคเอกชน จำนวน 5 คน และนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 420 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ และการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคทางสถิติคือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ทรัพยากรทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในพื้นที่กลุ่มหัตถกรรมเครื่องเงินเขวาสินรินทร์  คือ การแสดงกรรมวิธีการผลิตเครื่องเงินให้เป็นเครื่องประดับ, หัตถกรรมผ้าไหม, อาหารและขนมท้องถิ่น 2. องค์ประกอบด้านการท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยองค์ประกอบด้านแหล่งท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นสูงสุดในเรื่องเอกลักษณ์ของวัฒนธรรม วิถีชีวิตดั้งเดิมของท้องถิ่น และมีผลิตภัณฑ์จากเครื่องเงินสำหรับจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว ส่วนองค์ประกอบด้านที่พักแรมนั้น มีกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เข้าพักส่วนใหญ่คือหน่วยงานภาครัฐเท่านั้น 3. แนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชุนเขวาสินรินทร์นั้น ควรเริ่มต้นจากการสร้างความเข้าใจกับคนในท้องถิ่น ให้รับรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นในชุมชน จากนั้น จึงกำหนดกลยุทธ์ด้านการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวเพื่อควบคู่ไปกับการพัฒนากิจกรรม โดยให้นักท่องเที่ยวเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ในขณะเดียวกันภาครัฐควรมีการสนับสนุนงบประมาณ และการให้ความรู้แก่ชุมชนอย่างจริงจัง เพื่อเตรียมความพร้อมในการให้บริการนักท่องเที่ยว และเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยเน้นให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว เพื่อการบริหารที่มีประสิทธิภาพ และเกิดความยั่งยืน
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/926
Appears in Collections:The Faculty of Tourism and Hotel Management

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58011080018.pdf7.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.