Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/928
Title: Cultural tourism Development for Local Experience in Buriram old town, Muang district, Buriram province
การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อสัมผัสประสบการณ์ท้องถิ่นในเขตพื้นที่เมืองเก่าบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
Authors: Tanakorn Thongtumsiri
ธนากร ทองธรรมสิริ
Ochanya  Buatham
โอชัญญา บัวธรรม
Mahasarakham University. The Faculty of Tourism and Hotel Management
Keywords: การท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสประสบการณ์ท้องถิ่น
ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว
เขตพื้นที่เมืองเก่าบุรีรัมย์
Local Experience Tourism
Tourism Potential
Buriram Old Town
Issue Date:  6
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This study was purposively conducted to: 1) explore the background, general information, characteristics, and resources for cultural tourism around Buriram Old Town in Buriram province; 2) investigate the tourism potentials of the old town to be develop as a cultural tourism attraction in Muang Buriram District; and 3) provide the guideline for cultural tourism development to present the local experience of Buriram Old Town. This was carried out as a mixed-method. The sample group comprised 370 Thai tourists used to visit the old town in Muang Buriram District and 15 local stakeholders. The research outcome revealed that the tourism potentials of Buriram old town were generally high in most cases for cultural tourism development as it also required strong collaboration from all partners in order to embrace the tourists in an authentic cultural tourism context that should be collaboratively supported by the government, private sectors, and community in the following issues: 1) The community tourist attraction should be promoted via different channels e.g. website or advertisement to represent the community image; 2) Both government and private sector should provide the community with financial support for facilities and buildings maintenance as well as preserving the local characteristics and traditions; 3) The government and community member  should collaborate to continually create tourism activities plan by offering more exciting ones to the tourists; and 4) The community members should keep their places clean and offer the tourists with all required information about the local tourist attractions within their community.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา ข้อมูลทั่วไป เอกลักษณ์ และทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในเขตพื้นที่เมืองเก่าบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาศักยภาพของเขตพื้นที่เมืองเก่าบุรีรัมย์ เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อสัมผัสประสบการณ์ท้องถิ่นในเขตพื้นที่เมืองเก่าบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) โดยกลุ่มตัวอย่าง คือนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาชุมชนพื้นที่เมืองเก่าบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 370 คน และผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชน จำนวน 15 คน ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพของเขตพื้นที่เมืองเก่าบุรีรัมย์ ศักยภาพส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ดังนั้นการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ต้องเกิดจากความร่วมมือของหลายฝ่าย เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ซึมซับบรรยากาศการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งจะต้องได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ดังนี้ 1) การประชาสัมพันธ์ถึงสถานที่ภายในชุมชน เช่น การทำเว็บไซต์ โฆษณาเชิญชวน เพื่อเป็นการส่งเสริมถึงภาพลักษณ์ภายในชุมชน 2) ภาครัฐ และภาคเอกชนต้องช่วยเหลือด้านงบประมาณการจัดการทำนุบำรุง อาคาร สถานที่ไม่ให้ดูเก่าและเสื่อมโทรม และยังคงเอกลักษณ์ประเพณีความเชื่อไว้ 3) ภาครัฐและประชาชนในชุมชน ต้องมีการวางแผนกิจกรรมท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมในชุมชนให้เป็นที่รับรู้ของนักท่องเที่ยว ทำให้กิจกรรมมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น และ 4) คนในชุมชนต้องช่วยรักษาสภาพชุมชนให้มีความสะอาด และคอยให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ ภายในชุมชน
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/928
Appears in Collections:The Faculty of Tourism and Hotel Management

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61011080001.pdf8.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.