Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/943
Title: Gimzin and Marzong : God and Medium  in Ritual Space of Chinese people in Phuket  Province
กิมซิ้นกับม้าทรง : ความเป็นเทพกับความเป็นมนุษย์ในพื้นที่พิธีกรรมของคนจีนจังหวัดภูเก็ต
Authors: Patamas Pinnukul
ปัทมาสน์   พิณนุกูล
Metta Sirisuk
เมตตา ศิริสุข
Mahasarakham University. Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science
Keywords: กิมซิ้น
ม้าทรง
Gimzin
Marzong
Issue Date:  2
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: In the context of Phuket Vegetarian Festival, the Chinese in Phuket have inherited from the ancestors of overseas Chinese through the perspective of ‘Gimzin deity and performing art by performing rituals in various areas, causing social space phenomena and traditions with outstanding Chinese identity until it has become one of Phuket's important cultural tourism resources. This thesis has 3 objectives: 1) to study social development and Chinese culture 2) to study on “Gimzin”and “Marzong” or the medium in the form /role of deities and humanities in the ritual areas of Phuket Vegetarian Festival of the Thai-Chinese descent and 3) to analyze the ritual phenomena, “Vegetarian Festival” of the Thai-Chinese people in Phuket, in the context of tourism through the areas both outside and inside of the Jui Tui Shrine, Samsan Tian Hel Keung or Mae Ya Nang Guardian Goddess of Boats Shrine, Sapam Chinese Shrine (Kuan Te Kun) and Sui Boon Tong  Shrine or Lor Rong and through studying 5 Kim Sin Deities: Tien Song Seng Bo or Ma Chor Po, Tian Hu Nguan Soi, Than Ngan Soi, Hearb Tien Tai Tay or Guan Yu, courtesy name Yunchang, God or War and Cheng Jui Jor Sue respectively by collecting field data from interviews with both participatory observation and non-participatory observation during the Vegetarian Festival in 2017 - 2018 by means of qualitative research methods. The results of the research revealed that social and cultural development of the overseas Chinese who migrated to settle down in Phuket in which the Chinese ancestors brought faith in gods and goddesses according to their religious practices spiritually attached through the mind via important religious sites like the shrines in which the images of “Gimzin” deities were carved from the Tarot wood through the definition of ritual performances, “Dai Ngan” or sanctifying the idolatry images. There are mediums so called “Ma-Zong” chanted by the mediums as a deity who represents the “Symbol” in the dimension of the deities representing the ritual; helping to build the image and memories or backgrounds of the gods and goddesses through the presentations of  cultural identities driving through to maintain with “Confine” “Being Chinese” which has become a social phenomenon, causing such a ritual in the vegetarian festival on the 9th - 9th month of the Chinese lunar year. It has become a time of invention to create the ritual areas to become the "Power" of faith created in Phuket Island as  “The Third Production of Space” for sacred ritual performances which is a cultural heritage transmitted through descendants of the Thai-Chinese until it became a tradition with social value and was considered the phenomenon attracting people from all over the world; creating physical space prosperity and the tourism economy of Phuket today.         
ในบริบทของงานประเพณีกินผักของจังหวัดภูเก็ต ที่คนจีนในจังหวัดภูเก็ตได้สืบสานจากบรรพบุรุษชาวจีนโพ้นทะเล ผ่านมุมมองประติมากรรมกิมซิ้นรูปเคารพ และศิลปะการแสดง โดยการประกอบพิธีกรรมในพื้นที่ต่าง ๆ ได้ก่อเกิดปรากฏการณ์พื้นที่ทางสังคม และประเพณีอันมีอัตลักษณ์ความเป็นจีน ที่โดดเด่น จนกลายเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัดภูเก็ต วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์การศึกษา 3 ประการ ได้แก่ 1) ศึกษาพัฒนาการทางสังคม และวัฒนธรรมของคนจีน คนไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดภูเก็ต 2) ศึกษา “กิมซิ้น” กับ “ม้าทรง” ในพื้นที่พิธีกรรมงานประเพณีกินผักของคนไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดภูเก็ต และ 3) วิเคราะห์ปรากฏการณ์พิธีกรรม “งานประเพณีกินผัก” ของคนไทยเชื้อสายจีนจังหวัดภูเก็ตในบริบทการท่องเที่ยว โดยใช้พื้นที่ทั้งภายนอกและภายในของศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง ศาลเจ้าซัมส้านเที่ยนเฮวกึ๋ง หรือศาลเจ้าแม่ย่านาง ศาลเจ้าเฮียบเทียนเก้งกวนเต้กุน หรือศาลเจ้าสะปำ และศาลเจ้าซุ่ยบุ่นต๋อง หรือศาลเจ้าหล่อโรง และศึกษากิมซิ้นองค์เทพ 5 องค์ ได้แก่ องค์เทพเทียนซ่งเส้งโบ้ หรือองค์เทพม่าจ้อโป๋ องค์เทพเตียนฮู่หง่วนโส่ย องค์เทพตงต๋านหง่วนโส่ย องค์เทพเฮียบเที้ยนไต่เต่ หรือกวนอู และองค์เทพเฉ่งจุ้ยจ้อซือ โดยเก็บข้อมูลภาคสนามจากการสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วมในงานประเพณีกินผัก พ.ศ. 2560 - 2561 และใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพเข้ามาตั้งรกรากในพื้นที่เกาะภูเก็ต โดยบรรพบุรุษชาวจีนได้นำความเชื่อในองค์เทพตามแนวทางศาสนามาปฏิบัติในการยึดเหนี่ยวจิตใจ ผ่านศาสนสถานสำคัญ คือ ศาลเจ้า ที่มีการสร้างประติมากรรม “กิมซิ้น” องค์เทพที่แกะสลักจากไม้หอม ผ่านการประจุความหมายด้วยการประกอบพิธีกรรม “ไค้ง่าน” หรือการเบิกเนตร มีม้าทรงขององค์เทพที่ประทับทรงเป็นกลางสื่อในฐานะความเป็นเทพที่เป็นผู้แสดง “สัญญะ” ในมิติของการเป็นตัวแทนขององค์เทพในการประกอบพิธีกรรม ที่ช่วยสร้างภาพลักษณ์ และภาพความทรงจำ หรือภูมิหลังขององค์เทพ ด้วยการนำเสนออัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม และการขับเคลื่อน การธำรงเพื่อ “ตรึง” “ความเป็นจีน” กลายเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมก่อเกิดเป็นพิธีกรรมในงานประเพณีกินผัก ในวันที่ 1 - 9 เดือน 9 ตามปีจันทรคติจีน กลายเป็นช่วงเวลาของการประดิษฐกรรมเนรมิตพื้นที่พิธีกรรมจนก่อให้เกิด "พลัง” ความเชื่อมั่นศรัทธาที่สร้างให้พื้นที่ของเกาะภูเก็ตให้เป็นพื้นที่แห่ง “The Third  Production  of Space” เพื่อการประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมส่งผ่านลูกหลานคนไทยเชื้อสายจีน จนเป็นประเพณีที่ทรงคุณค่าทางสังคม และนับเป็นปรากฏการณ์ที่ดึงดูดใจผู้คนทั่วโลก สร้างความเจริญทางพื้นที่กายภาพ และเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตในปัจจุบัน
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/943
Appears in Collections:The Faculty of Fine and Applied Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010660002.pdf17.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.