Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/945
Title: | School Efficient Organization Culture Model for Enhancing Students’ Arithmetic Learning in School under the Office of Bangkok Primary Education Area รูปแบบวัฒนธรรมองค์กรที่มีประสิทธิภาพเพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร |
Authors: | Pramote Kajornpai ปราโมทย์ ขจรภัย Kosit Phaengsoi โฆสิต แพงสร้อย Mahasarakham University. Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science |
Keywords: | วัฒนธรรมองค์กร รูปแบบวัฒนธรรมองค์กร การส่งเสริมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ Organisational Culture Organization Culture Model Enhancing Arithmetic Learning |
Issue Date: | 14 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | Organizational culture is the core idea and common practice of people in the organization that lead to the successful operation and the excellence of the organization. This research aims to study the background of basic schools and organization culture in promoting mathematics learning of students, to study of organizational culture problems in promoting mathematics learning among students and to develop the effective organizational culture model for promoting mathematics learning of students in basic schools under the Office of Bangkok Primary Education Service Area. This cultural qualitative research covers 5 target schools and the informants include experts, school practitioners and those concerned in general. The data of which has been compiled by means of interviewing, observing, group conversation, and in-depth studying on educational goals, qualitative data analysis (Typological Analysis), and analytic induction with Triangulation and presenting by means of descriptive analysis.
The research showed that basic education schools under the Office of Bangkok Primary Education Area has been established in 3 periods: The beginning period, (beginning – 1978), the developmental period, (1978-2006) and the reform period, (2007-present). There are many affiliated with the development of continuing education, as well as a major role in the management of primary education. The background of organizational culture to enhance the learning of mathematics for students were divided into 3 stages as in establishment periods: the first one established a corporate culture relatives, the next was development of corporate culture and bureaucracy and at the present is to combined with all of terms to mix between culture geared for success in public relations and adaptive depends on the educational focusing.
Promoting learning mathematics student, although it is successful, it still lacks of the power and the cultural dimension of cooperation in promoting. The basic education school organization culture to enhance learning mathematics among students were the problems of none specific, none clear, none cover cultural dimension, none practically and none using cultural dimension for strengthening student mathematics learning.
The developed, appropriate, effective and corporative organizational culture model for promoting mathematics learning of students in basic education institutions under the Office of Primary Education Service Area is “Pramote’s Basic Education School Organization Culture Model for the Excellence in Mathematics”. It composes of 5 excellent targets, 5 patterns of belief, 7 core values, 10 norms of promoting performances and 3 management activities. This model of organizational cultural is the integration form. It is able to selected as the educational institution aims. The reviewing will help to enhance the learning in mathematics education to be unity and success in substantial. วัฒนธรรมองค์กรเป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติร่วมกันของคนในองค์กรที่จะช่วยให้องค์กร เข้มแข็ง ประสบความสำเร็จและมีความเป็นเลิศ การวิจัยนี้ มุ่งศึกษาความเป็นมาของสถานศึกษา และวัฒนธรรมองค์กรในการส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนในสถานศึกษา ศึกษาปัญหาวัฒนธรรมองค์กรในการส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนในสถานศึกษาและพัฒนารูปแบบวัฒนธรรมองค์กรที่มีประสิทธิภาพเพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพทางวัฒนธรรม (Cultural Qualitative Research) ในสถานศึกษาเป้าหมาย 5 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยกลุ่มผู้บริหารระดับสูงและผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา และกลุ่มผู้เกี่ยวข้องทั่วไป เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสังเกต การสนทนากลุ่ม พร้อมกับศึกษาเชิงลึกในสถานศึกษาเป้าหมาย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ และนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ผลการวิจัยพบว่า สถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร มีความเป็นมาแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ระยะแรกจัดตั้ง - พ.ศ. 2520 ระยะพัฒนาการ พ.ศ. 2521 - 2545 และระยะการปฏิรูป พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน ระยะแรกจัดตั้งมีหลายสถานะ หลายสังกัด มีการพัฒนาต่อเนื่องมาจนเป็นสถานศึกษาที่มีบทบาทหลักในการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา มีผลการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเป็นที่ประจักษ์ และได้รับความนิยมของผู้ปกครองและนักเรียนมาอย่างต่อเนื่อง และมีความเป็นมาของวัฒนธรรมองค์กรในการส่งเสริมกรรเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนแบ่งเป็น3 ระยะตามความเป็นมา ระยะแรกจัดตั้งมีวัฒนธรรมองค์กรแบบเครือญาติ ระยะพัฒนาการมีวัฒนธรรมองค์กรแบบราชการและแบบเครือญาติ และระยะปัจจุบันมีวัฒนธรรมองค์กรแบบผสมผสาน ระหว่างวัฒนธรรมแบบมุ่งความสำเร็จ แบบราชการ แบบเครือญาติและแบบปรับตัว มากน้อยตามจุดเน้นของสถานศึกษา ปัญหาวัฒนธรรมองค์กรของสถานศึกษาที่สำคัญคือไม่มีการกำหนดวัฒนธรรมองค์กรเพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ไว้เป็นการเฉพาะ ขาดจุดเน้นเกี่ยวกับความเชื่อ ค่านิยมและปทัสถานการปฏิบัติในการส่งเสริมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ที่เป็นรูปธรรม ครูและบุคลากรทางการศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่รับรู้ ยอมรับและสืบทอดวัฒนธรรมในการส่งเสริมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ รวมทั้งขาดการใช้ตัวแบบ เครือข่ายและมิติทางวัฒนธรรมในการส่งเสริมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ “รูปแบบวัฒนธรรมองค์กรของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์ของปราโมทย์” ที่พัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบวัฒนธรรมองค์กรที่มีประสิทธิภาพประกอบด้วย 5 เป้าหมายความเป็นเลิศ 5 แบบความเชื่อ 7 แบบค่านิยมร่วม 10 แบบปทัสถานการปฏิบัติ 4 แบบการใช้องค์กรและบุคคลตัวแบบและเครือข่ายและกิจกรรมการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กัน เมื่อดำเนินการตามรูปแบบนี้ วัฒนธรรมองค์กรเพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของสถานศึกษาจะมีความชัดเจนครอบคลุมทุกมิติ สถานศึกษามีความเป็นเลิศ ครูมีความเป็นเลิศ นักเรียนมีความเป็นเลิศ และองค์กรและบุคคลตัวแบบ/ เครือข่ายให้การสนับสนุนร่วมมือ เป็นรูปแบบวัฒนธรรมองค์กรแบบผสมผสาน เลือกใช้ตามจุดเน้นของสถานศึกษาและจะช่วยให้การส่งเสริมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนในสถานศึกษาเป็นไปอย่างมีเอกภาพ มีพลังและมีความเป็นเลิศ |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/945 |
Appears in Collections: | The Faculty of Fine and Applied Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58012160021.pdf | 6.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.