Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/950
Title: Development of learning process for cost reduction of rice production by environmental education principle
การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อลดต้นทุนในการผลิตข้าวโดยใช้หลักการสิ่งแวดล้อมศึกษา
Authors: Somchat Boottarat
สมชาติ  บุตราช
Adisak Singseewo
อดิศักดิ์ สิงห์สีโว
Mahasarakham University. The Faculty of Environment and Resource Studies
Keywords: การพัฒนากระบวนการเรียนรู้
เกษตรอินทรีย์
ความรู้ด้านกลยุทธ์การลดต้นทุนในการผลิตข้าว
ความตระหนักด้านกลยุทธ์การลดต้นทุนในการผลิตข้าว
เจตคติด้านกลยุทธ์การลดต้นทุนในการผลิตข้าว
Development of learning process
Organic
Knowledge of strategies to reduce costs in rice production
Awareness fo strategies to reduce costs in rice production
Strategic attitude to reduce costs in rice production
Issue Date:  1
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Rice was Thailand’s industrial drop. Recently, agriculturists grew rice for commercial and increasingly expanded the paddy field. The agriculturists applied external factors to increase agricultural productivity, especially, chemical fertilizer and chemicals, which were necessary in production process and popular in agriculture part. Therefore, the product cost was getting higher. This study was aimed at studying the problem states of rice production and designing the strategies for cost reduction of rice production for those agriculturists who grew rice. The study was divided into 3 phases as follows: Phase 1, it was to study the problem states of 277 agriculturists who grew rice, asthe target group,using the interview. Its result indicated that the agriculturists utilized much chemical fertilizers calculated as 93.9% and the cost production was about 2,501 – 4,000 baht per rai (1,600 square meters) calculated as 52.0%. According to data analysis by Multiple Linear Regression, the seven independent variables of the variation of cost reductionwas 13.1% and found to be statistically significant at .05. The best independent variables of cost reduction prediction of rice for agriculturists were growing process, growing system, growing experience, family members, water resources, soil quality, and other careers, respectively. Phase 2, it was to develop the manual of rice cost reduction strategy of rice growers by using Participatory Learning (PL) and group discussion with SWOT Analysis. This showed that the average of suitability of patterns and the manual of rice cost reduction strategy were 4.65 at a great suitable level. Phase 3, it was to try out the manual of rice cost reduction strategy of rice growers as a workshopwith the rice growers of Thakhonyang Sub-district by using pre- and post-evaluation tests consisted of 4 aspects: 1) knowledge, 2) attitude, 3) awareness, and 4) participation. Its results were found that the average of knowledge before and after the workshopwere 17.76% 25.90%, respectively. Therefore, the average of knowledge after the workshop was higher than the one before workshop which was statistically different at a .05 level of significance. As for the average of post workshop the aspects of attitude, awareness, and participation were at a .05 level. In conclusion, development of learning process for cost reduction of rice production by environmental education principle was appropriate for learning process development of the rice growers to have knowledge, attitude, awareness, and participation in order to be capable of applying for rice cost reduction.
ข้าวถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ปัจจุบันเกษตรกรหันมาปลูกข้าวเพื่อการค้าและมีการเพิ่มพื้นที่การเพาะปลูกข้าวเป็นจำนวนมาก เกษตรกรได้นำปัจจัยภายนอกมาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะปุ๋ยเคมีและสารเคมีนับว่าเข้ามามีบทบาทในกระบวนการผลิตและเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในกลุ่มเกษตรกร ส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตข้าวสูงขึ้นตามไปด้วย   การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัญหาการผลิตข้าวและออกแบบกลยุทธ์การลดต้นทุนการผลิตข้าวของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว การวิจัยออกเป็น 3 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโดยใช้แบบสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างคือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวจำนวน 277 คน ผลพบว่า เกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นส่วนมาก (ร้อยละ 93.9) มีต้นทุนในการผลิตช่วง 2,501 – 4,000 บาท/ไร่ มีมากที่สุด (ร้อยละ 52.0) จากการจำแนกโครงสร้างต้นทุนการผลิตข้าวของเกษตรมีต้นทุนในการผลิตข้าวเฉลี่ยที่ 3,186.58 บาท/ไร่ จากการนำข้อมูลมาวิเคราะห์สถิติถดถอยพหุคูณ พบว่า ตัวแปรอิสระทั้ง 7 ตัวร่วมกันอธิบายความผันแปรต่อต้นทุนในการปลูกข้าวของเกษตรกรได้ ร้อยละ 13.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาตัวแปรอิสระที่มีอำนาจในการทำนายการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนในการปลูกข้าวของเกษตรกรได้ดีที่สุดคือ วิธีการการปลูกข้าว ระบบการปลูกข้าว ประสบการณ์ในการปลูกข้าว สมาชิกในครัวเรือน แหล่งน้ำในการเพาะปลูก ลักษณะของดิน และอาชีพอื่นนอกจากอาชีพหลัก ตามลำดับ ระยะที่ 2 พัฒนาคู่มือกลยุทธ์การลดต้นทุนในการผลิตข้าวของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่มโดยวิธีการ SWOT Analysis พบว่า ความเหมาะสมของรูปแบบและคู่มือกลยุทธ์การลดต้นทุนในการผลิตข้าว มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของคู่มือกลยุทธ์การลดต้นทุนในการผลิตข้าว 4.65 ซึ่งอยู่ในระดับความเหมาะสมมาก ระยะที่ 3 ทดลองใช้คู่มือกลยุทธ์การลดต้นทุนในการผลิตข้าวของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโดยการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการกับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวตำบลท่าขอนยาง โดยนำแบบทดสอบวัดประเมินผลก่อนและหลังการฝึกอบรม 1) ด้านความรู้ 2) ด้านเจตคติ 3) ด้านความตระหนัก 4) การมีส่วนร่วม ผลพบว่า ความรู้ก่อนการฝึกอบรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.76 หลังฝึกอบรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.90 เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย พบว่า ค่าเฉลี่ยด้านความรู้ด้านกลยุทธ์การลดต้นทุนในการผลิตข้าวหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านเจตคติ, ด้านความตระหนักและด้านการมีส่วนร่วม มีค่าเฉลี่ยหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสรุป การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อลดต้นทุนในการผลิตข้าวโดยใช้หลักการสิ่งแวดล้อมศึกษา มีความเหมาะสมในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวได้ความรู้ เจตคติ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมของกระบวนการ สามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อ   ลดต้นทุนการผลิตข้าวได้
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/950
Appears in Collections:The Faculty of Environment and Resource Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58011760006.pdf11.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.