Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/952
Title: Patterns and Guidelines for Proper and Efficient Solid Waste Management of Temples Classified by Three Levels
รูปแบบและแนวทางการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพของวัดสามระดับ
Authors: Anuchit Nangam (Atangtayatangto)
อนุชิต นางาม (อตฺถยุตฺโต)
Sunantha Laowansiri
สุนันทา เลาวัณย์ศิริ
Mahasarakham University. The Faculty of Environment and Resource Studies
Keywords: การจัดการขยะ
ขยะมูลฝอย
รูปแบบและแนวทางการจัดการขยะ
วัดสามระดับ
solid waste management
solid waste
patterns and guideline
three temple of level
Issue Date:  18
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research has an objective to study composition of solid waste in 3 temples with different levels monasteries, design appropriate guidelines for solid waste management for monasteries. The study was conducted by classifying the areas into 3 locations as a prototype for solid waste management in monasteries in Khon Kaen province, namely 1) Wat Sri Chan (Royal Monastery) as the representative for large size monasteries 2) Wat Mingphowanaram, representing medium size monasteries; and, 3) Wat Pha Rattanaram, representing small size monasteries. What to study consisted of the procedures of solid waste management in real areas, normal bulk density and composition of the solid waste, patterns and guidelines for solid waste management in monasteries. Statistics used consisted of percentage, mean, standard deviation, and hypothesis test with F-test (One-way ANOVA). Research result appeared that: in all 3 monasteries, there was no solid waste separation, Wat Sri Chan, the large size one, had the most containers followed by Wat Mingphowanaram and Wat Pha Rattanaram, respectively. The patterns of container arrangement of the 3 monasteries were just a combined tank with no separation process.  The collecting solid waste system, Wat Sri Chan, there had been both stationery and mobile containers, whereas there were only stationery containers in Wat Mingphowanaram and Wat Pha Rattanaram.  For numbers of garbage truck and garbage collector, Wat Sri Chan had much more than the rest two monasteries. Research result appeared that: in all 3 monasteries, there was no solid waste separation, Wat Sri Chan, the large size one, had the most containers followed by Wat Mingphowanaram and Wat Pha Rattanaram, respectively. The patterns of container arrangement of the 3 monasteries were just a combined tank with no separation process. The collecting solid waste system, Wat Sri Chan, there had been both stationery and mobile containers, whereas there were only stationery containers in Wat Mingphowanaram and Wat Pha Rattanaram.  For numbers of garbage truck and garbage collector, Wat Sri Chan had much more than the rest two monasteries. For the normal average bulk density of the solid waste in 3 months of the 3 monasteries, it was found that it had the most average bulk density rather than the rest 2 monasteries; Wat Sri Chan had 0.125 kg/l, Wat Mingphowanaram had 0.87 kg/l, and Wat Pha Rattanaram had 0.080 kg/l. The composition of solid waste in 3 months, it was found the most composing waste food, vegetable scraps, and fruit remnants accounted for 40.56%, plastic and foam 13.87%, and paper 12.51%. When combined the above mentioned wastes, it accounted for 54.43% of the total solid waste. The composition of solid waste of Wat Pha Rattanaram in 3 months were found composing of food waste, vegetable scraps, fruit remnants accounting 30.61%, wood 16.42%, plastic and foam 11.68%; whereas, that of Wat Mingphowanaram in 3 months were found food waste, vegetable scraps and fruit remnants accounting 19.84%, wood 15.29%, others 13.15%, metal 10.77%. The study on pattern and management guidelines for the 3 monasteries, it was found suggestions for the abbots to enhance and support activities, working plans or projects aiming to source reduction of solid waste volume, focusing on participation in the monasteries, collaborating with community residents in solid waste management, also sharing ideas, decision, planning, performing and evaluating the practice properly according to appropriate procedures, adhering self-reliance principle, utilizing resource and facility existing in the monasteries, providing fund for activities to manage the solid waste to upgrade as exemplary monasteries in solid waste management. For example, founding solid waste separation groups, garbage bank, compost and bio-fertilizer groups to make better the monasteries as the clean, livable and comfortable facility for Dhamma practice. This is a direction to lead to the sustainable solution for solid waste management in monasteries.
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาองค์ประกอบของขยะมูลฝอยในวัดสามระดับ และออกแบบแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมของวัดสามระดับ โดยแบ่งพื้นที่ศึกษาเป็น 3 ส่วน เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการจัดการขยะมูลฝอยของวัดจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ 1) วัดศรีจันทร์ พระอารามหลวง ตัวแทนวัดขนาดใหญ่ 2) วัดมิ่งโพธิ์วนาราม ตัวแทนวัดขนาดกลาง 3) วัดป่ารัตนาราม ตัวแทนวัดขนาดเล็ก โดยศึกษารูปแบบในการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่จริง ศึกษาความหนาแน่นปกติและองค์ประกอบของขยะมูลฝอยในวัด และศึกษารูปแบบและแนวทางการจัดการขยะและมูลฝอยที่เหมาะสม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบสมมุติฐานด้วย F–test (One-way ANOVA)  ผลการศึกษารูปแบบในการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่จริง พบว่า ทั้ง 3 วัด ไม่มีการคัดแยกขยะ วัดศรีจันทร์ซึ่งเป็นวัดขนาดใหญ่ มีจํานวนภาชนะรองรับขยะมากที่สุด รองลงมา คือ วัดมิ่งโพธิ์วนาราม และวัดป่ารัตนาราม ตามลำดับ รูปแบบการจัดวางภาชนะรองรับขยะของทั้ง 3 วัด เป็นถังรวม 1 ใบ ไม่มีการคัดแยกขยะ ระบบการเก็บขนขยะวัดศรีจันทร์ เป็นแบบถังขยะคงที่ และถังเคลื่อนที่ ในขณะที่วัดมิ่งโพธิ์วนาราม และวัดป่ารัตนารามเป็นแบบถังขยะคงที่ จำนวนรถและพนักงานเก็บขนขยะ พบว่าวัดศรีจันทร์ ซึ่งเป็นวัดขนาดใหญ่ก็จะมีจำนวนรถและพนักงานเก็บขนขยะมากว่าวัดมิ่งโพธิ์วนาราม และวัดป่ารัตนาราม ตามลำดับ ผลการศึกษาความหนาแน่นปกติติเฉลี่ยของขยะมูลฝอย 3 เดือน ของ 3 วัด พบว่า วัดศรีจันทร์มีค่าความหนาแน่นปกติเฉลี่ย มากกว่า วัดมิ่งโพธิ์วนาราม และวัดป่ารัตนาราม ตามลำดับ โดยมีค่าความหนาแน่นปกติเฉลี่ยของขยะมูลฝอยทั้ง 3 เดือน ของวัดศรีจันทร์ วัดป่ารัตนาราม และวัดมิ่งโพธิ์วนาราม มีค่าเท่ากับ 0.125 กิโลกรัม/ลิตร, 0.080 กิโลกรัม/ลิตร และ 0.087 กิโลกรัม/ลิตร ตามลำดับ องค์ประกอบเฉลี่ยของขยะมูลฝอย 3 เดือน ของทั้ง 3 วัด พบว่า องค์ประกอบของขยะมูลฝอยของวัดศรีจันทร์ เฉลี่ย 3 เดือน พบว่าองค์ประกอบขยะมูลฝอย เศษอาหาร เศษผัก เศษผลไม้ (Garbage) มากที่สุด เท่ากับ ร้อยละ 40.56 พลาสติก (Plastics) และโฟม (Foam) ร้อยละ 13.87 และกระดาษ (Paper) ร้อยละ 12.51 จากการสังเกตพบว่า ขยะมูลฝอยพวกเศษอาหาร เศษผัก เศษผลไม้ (Garbage) และพลาสติก และโฟม (Foam) รวมกันคิดเป็นร้อยละ 54.43 โดยหากสามารถลดขยะเหล่านี้ลงซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณขยะลดลงอย่างมาก องค์ประกอบของขยะมูลฝอยของวัดป่ารัตนาราม เฉลี่ย 3 เดือน พบว่าองค์ประกอบขยะมูลฝอย เศษอาหาร เศษผัก เศษผลไม้ (Garbage) ร้อยละ 30.61 ไม้ (Wood) ร้อยละ 16.42 และพลาสติก (Plastics) และโฟม (Foam) ร้อยละ 11.68 องค์ประกอบของขยะมูลฝอยของวัดมิ่งโพธิ์วนาราม เฉลี่ย 3 เดือน พบว่าองค์ประกอบขยะมูลฝอย เศษอาหาร เศษผัก เศษผลไม้ (Garbage) ร้อยละ 19.84 ไม้ (Wood) ร้อยละ 15.29 ขยะอื่น ๆ (Others)  ร้อยละ 13.15 และโลหะ (Metal) ร้อยละ 10.77  ผลการศึกษารูปแบบและแนวทางการจัดการขยะและมูลฝอยที่เหมาะสม ของทั้ง 3 วัด พบว่า มีข้อเสนอแนะให้เจ้าอาวาสดำเนินการส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดกิจกรรมแผนงานหรือ โครงการที่มีจุดประสงค์เพื่อลดปริมาณขยะจากแหล่งกำเนิด เน้นกระบวนการมีสวนร่วมภายในวัดและการร่วมกับประชาชนในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ทั้งร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ และร่วมประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องตามขั้นตอนที่เหมาะสม ยึดหลักการพึ่งตนเองโดยมุ่งใช้ทรัพยากรที่มีแต่ภายในวัด ทุนสำหรับกิจกรรมการจัดการขยะภายในวัดเพื่อให้เป็นวัดที่เป็นแบบอย่างในการจัดการขยะมูลฝอย เช่น การตั้งกลุ่มคัดแยกประเภทขยะ ธนาคารขยะ กลุ่มปุ๋ยหมัก และกลุ่มปุ๋ยชีวภาพ ให้วัดสะอาด น่าอยู่เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม และเป็นการพัฒนาที่สามารถแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนต่อไป ซึ่งขั้นตอนการจัดการขยะที่เหมาะสม  
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/952
Appears in Collections:The Faculty of Environment and Resource Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59011785004.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.