Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/96
Title: The Relationship between Strategic Employee Competency Development and Competitiveness of Instant Foods Business in Thailand
ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรเชิงกลยุทธ์กับศักยภาพทางการแข่งขันของธุรกิจอาหารสำเร็จรูปในประเทศไทย
Authors: Jindaporn Rungroj
จินดาพร รุ่งโรจน์
Cattaleeya Charpavang
แคทลียา ชาปะวัง
Mahasarakham University. Mahasarakham Business School
Keywords: การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรเชิงกลยุทธ์
ศักยภาพทางการแข่งขัน
ธุรกิจอาหารสำเร็จรูปในประเทศไทย
Strategic Employee Competency Development
Competitiveness
Instant Foods Business in Thailand
Issue Date:  20
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: According to the globalization influencing the world economy to be more open and quickly changed, there is a need for businesses to develop new knowledge and adjust strategies to be in line with the changed situation in order to keep up with competitors. Therefore, human resource development is one of the critical factors that various organizations are focusing on. This is because human resources are the most valuable assets of the organization and it is a key strategy that can create a competitive advantage for the organization. From this valuable aspect, the relationship strategic employee competency development and competitiveness of the instant food business in Thailand was studied. The research was conducted by collecting data from 89 instant food business executives in Thailand using questionnaire. The collected data was analyzed by means of statistic tools including T-Test, F-Test (ANOVA and AMOVA), Multiple Correlation Analysis, Simple Regression Analysis and Multiple Regression Analysis. The results showed that, in overall, business executives agreed with strategic employee competency development at high significant level. When consider in each aspect, it was found that training and development, learning and self-development, and working development are considered as significant. Regarding competitiveness in overall, the business executive viewed it as significant. In specific aspect, customer responsiveness, quality of product and productivity are considered as significant. Among the business executive who had different capital, they agreed that strategic employee competency development is important in overall. However, different view occurred in the aspect of working development. In comparison among the business executive who had different number of employees, they agreed with strategic employee competency development in overall. However, it was found that there are differences in the aspect of training and development and working development. Among the business executives with different business duration, they had similar opinion and agree on the importance of strategic employee competency development, but different view on the aspect of learning and self-development and working development. In the group of business executives who had different annual income, they agreed on the importance of strategic employee competency development, but different view on the aspect of learning and self-development, working development. Regarding competitiveness, the business executives who had different capital agreed on its significance in overall. However, different view occurred in the aspect of quality of product and customer responsiveness. It was agreed among those executives who had different number of employees that competitiveness is significant in overall but different view on quality of product, innovation, productivity and customer responsiveness aspect. Among the business executives with different business duration, they had similar opinion and agree on the importance of competitiveness, but different view on the aspect of quality of product, innovation, productivity and customer responsiveness. The result analysis on relationship and impact on factors showed that strategic employee competency development in the aspect of training and development had positive impact on competitiveness in the aspect of quality of product, innovation and productivity. It can be concluded that instant food business entrepreneur in Thailand need to pay attention to strategic employee competency development particularly looking at employee competency to type of instant food business themselves in order to build sustainable competitiveness in the business.
กระแสโลกาภิวัฒน์ที่เกิดขึ้นทำให้เศรษฐกิจโลกมีการเปิดกว้างและมีการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว ธุรกิจจึงจำเป็นต้องพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆและปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้ทันกับคู่แข่งขัน การพัฒนาทรัพยากรบุคคลจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่องค์กรต่างๆ กำลังให้วามสำคัญอย่างยิ่ง เพราะทรัพยากรบุคคลเปรียบเสมือนสินทรัพย์ที่ทรงคุณค่ามากที่สุด ขององค์กร เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่สามารถสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันขององค์กร ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ศึกษาวิจัย ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรเชิงกลยุทธ์ กับศักยภาพทางการแข่งขันของธุรกิจอาหารสำเร็จรูปในประเทศไทย  โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารธุรกิจอาหารสำเร็จรูปในประเทศไทย จำนวน 89 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ t-test F-test (ANOVA และ MANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย และ การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริหารธุรกิจอาหารสำเร็จรูป มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับ การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรเชิงกลยุทธ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการฝึกอบรมและการพัฒนา ด้านการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง และด้านการพัฒนาการปฏิบัติงาน และผู้บริหารธุรกิจอาหารสำเร็จรูป มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับศักยภาพทางการแข่งขัน โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการตอบสนองของลูกค้า ด้านคุณภาพสินค้า และด้านประสิทธิภาพในการผลิต ผู้บริหารธุรกิจอาหารสำเร็จรูป ที่มีทุนในการดำเนินงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรเชิงกลยุทธ์โดยรวม และเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาการปฏิบัติงาน แตกต่างกัน ผู้บริหารธุรกิจอาหารสำเร็จรูป ที่มีจำนวนพนักงานในปัจจุบันแตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรเชิงกลยุทธ์โดยรวม และเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านการฝึกอบรมและการพัฒนา ด้านการพัฒนาการปฏิบัติงาน แตกต่างกัน ผู้บริหารธุรกิจอาหารสำเร็จรูป ที่มีระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจแตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรเชิงกลยุทธ์ ด้านการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ด้านการพัฒนาการปฏิบัติงาน แตกต่างกัน ผู้บริหารธุรกิจอาหารสำเร็จรูป ที่มีรายได้จากการดำเนินงานต่อปีแตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรเชิงกลยุทธ์ ด้านการพัฒนาการปฏิบัติงานแตกต่างกัน ผู้บริหารธุรกิจอาหารสำเร็จรูป ที่มีทุนในการดำเนินงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับศักยภาพทางการแข่งขันโดยรวมโดยรวม และเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพสินค้า และด้านการตอบสนองของลูกค้าแตกต่างกัน ผู้บริหารธุรกิจอาหารสำเร็จรูป ที่มีจำนวนพนักงานในปัจจุบัน แตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับศักยภาพทางการแข่งขันโดยรวม และเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพสินค้า ด้านนวัตกรรม ด้านประสิทธิภาพในการผลิต และด้านการตอบสนองของลูกค้า แตกต่างกัน ผู้บริหารธุรกิจอาหารสำเร็จรูป ที่มีระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับศักยภาพทางการแข่งขัน ด้านการตอบสนองของลูกค้า แตกต่างกัน ผู้บริหารธุรกิจอาหารสำเร็จรูป ที่มีรายได้จากการดำเนินงานต่อปีแตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับศักยภาพทางการแข่งขันโดยรวม และเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพสินค้า ด้านนวัตกรรม ด้านประสิทธิภาพในการผลิต และด้านการตอบสนองของลูกค้า แตกต่างกัน จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบ พบว่า การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรเชิงกลยุทธ์ ด้านการฝึกอบรมและการพัฒนา มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับการมีศักยภาพทางการแข่งขันโดยรวม ด้านคุณภาพสินค้า ด้านนวัตกรรม และด้านประสิทธิภาพในการผลิตโดยสรุป การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรเชิงกลยุทธ์ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับศักยภาพทางการแข่งขัน ดังนั้น ผู้บริหารธุรกิจอาหารสำเร็จรูปในประเทศไทยควรให้ความสำคัญกับการวางแผนเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรให้มีความสัมพันธ์กับธุรกิจอาหารสำเร็จรูป เนื่องจาก การวางแผนการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรจะทำให้บุคลากรมีสมรรถนะในการปฏิบัติงานในด้านความคิดและความสามารถจากงานประจำที่ทำอยู่ และทำให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่มีคุณภาพสูงออกสู่ตลาดได้อย่างต่อเนื่อง และตรงตามมาตรฐานและคุณภาพที่วางไว้ได้เป็นอย่างดี อันจะนำพาองค์กรให้ประสบผลสำเร็จและมีศักยภาพในการแข่งขันทั้งในระดับบุคคลและองค์กรต่อไป
Description: Master of Business Administration (M.B.A.)
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/96
Appears in Collections:Mahasarakham Business School

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010952802.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.