Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/967
Title: Development of Solar Greenhouse Dryer Combined with Biomass Furnace for Drying Tilapia Nilotica
การพัฒนาโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจกร่วมกับเตาชีวมวล สำหรับอบแห้งปลานิล
Authors: Ponlawat Pontecha
พลวัฒน์ พลเตชะ
Sopa Cansee
โสภา แคนสี
Mahasarakham University. The Faculty of Engineering
Keywords: ปลานิลอบแห้ง
โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจก
เตาชีวมวล
Tilapia Nilotica Drying
Solar Greenhouse Dryer
Biomass Furnace
Issue Date:  13
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objective of this research to study performance of a solar greenhouse dryer size is 3.0×4.0×2.3 m. combined with biomass furnace and study the characteristics of Tilapia preparation affecting the quality after drying. By using Tilapia with an average weight of 358±31.34 grams per fish, prepared in 2 forms, flat and non-flat and marinated with seasoning for 1 hour. Then Tilapia was dried with the solar dryer from 8:00 a.m. - 6:00 p.m. for 2 days and using a solar dryer combined with a biomass furnace from 8:00 a.m. - 4:00 a.m. for 20 hours. After that, Tilapia products dried were determined test for moisture content, color value and water activity. The results showed that temperature inside the solar dryer and solar dryer combined with a biomass furnace averaged is 39.5 and 43.1 degrees Celsius, and higher than the environmental temperature of 7.9 and 12.4 degrees Celsius, respectively. The relative humidity of the air inside average of 30.7 and 36.6 %RH, and lower than the relative humidity of the air of environmental is 10.9 and 21.5 %RH, respectively. This results in the can reduction moisture of Tilapia flat from 69.0±1.23 and 68.2±1.64 %w.b., to 47.9±2.16 and 46.5±2.21 %w.b., respectively. And the can reduction moisture of Tilapia non-flat from 68.8±1.38 and 67.3±2.54 %w.b., to 53.2±3.01 and 52.3±1.94 %w.b., respectively. In addition, it was found that the characteristics of tilapia preparation significantly affect the moisture content and water activity but did not significantly affect the color value of the dried tilapia product at the 95% confidence level.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะของโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจกขนาด 3.0×4.0×2.3 เมตร ร่วมกับเตาชีวมวล และศึกษาลักษณะการเตรียมปลานิลที่มีผลต่อคุณภาพหลังการอบแห้ง โดยใช้ปลานิลที่มีน้ำหนักเฉลี่ย 358±31.34 กรัมต่อตัว เตรียมให้แตกต่างกัน 2 ลักษณะ คือ ปลานิลแบบแผ่ และปลานิลแบบไม่แผ่ หมักด้วยเครื่องปรุงรสเป็นเวลา 1 ชั่วโมง นำไปลดความชื้นด้วยโรงอบแห้ง ตั้งแต่เวลา 8.00-18.00 น. เป็นเวลา 2 วัน และใช้โรงอบแห้งร่วมกับเตาชีวมวล ตั้งแต่เวลา 8.00-4.00 น. เป็นเวลา 20 ชั่วโมง จากนั้นนำผลิตภัณฑ์ปลานิลอบแห้งทดสอบหาคุณภาพด้านความชื้น สี และวอเตอร์แอคทีวิตี้ ผลการทดลองพบว่า อุณหภูมิภายในโรงอบแห้ง และโรงอบแห้งร่วมกับเตาชีวมวลมีค่าเฉลี่ย 39.5 และ 43.1 องศาเซลเซียส และมีค่าสูงกว่าอุณหภูมิสิ่งแวดล้อม 7.9 และ 12.4 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศภายในมีค่าเฉลี่ย 30.7 และ 36.6 %RH และมีค่าต่ำกว่าความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศสิ่งแวดล้อม 10.9 และ 21.5 %RH ตามลำดับ ส่งผลให้สามารถลดความชื้นปลานิลแบบแผ่จากร้อยละ 69.0±1.23 และ 68.2±1.64 มาตรฐานเปียก ให้เหลือร้อยละ 47.9±2.16 และ 46.5±2.21 มาตรฐานเปียก ตามลำดับ และลดความชื้นปลานิลแบบไม่แผ่จากร้อยละ 68.8±1.38 และ 67.3±2.54 มาตรฐานเปียก ให้เหลือร้อยละ 53.2±3.01 และ 52.3±1.94 มาตรฐานเปียก ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าลักษณะของการเตรียมปลานิลส่งผลต่อค่าความชื้น และค่าวอเตอร์แอคทีวิตี้ แต่ไม่ส่งผลต่อค่าสีของผลิตภัณฑ์ปลานิลอบแห้งให้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความน่าเชื่อมั่น 95%
Description: Master of Engineering (M.Eng.)
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/967
Appears in Collections:The Faculty of Engineering

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010350006.pdf8.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.